นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแก้ไขปัญหาอุปสรรคด้านผังเมืองที่มีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีในต่างจังหวัด สามารถจัดทำแผนการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งเรื่องการตั้งและขยายกิจการ ขณะเดียวกัน ยังเป็นการสร้างความมั่นใจให้นักลงทุน ที่ยังลังเลเกี่ยวกับที่ตั้งโรงงาน ซึ่งเป็นการกระตุ้นการลงทุนโครงการใหม่ๆ
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย จะนำมติคณะรัฐมนตรี ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด 4 ข้อ คือ 1. การยกเลิกบัญชีโรงงานท้ายกฎกระทรวง และจัดทำข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นจากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด ขณะนี้ผังเมืองรวมจังหวัดที่ประกาศใช้และมีผลบังคับ มี 28 จังหวัด อยู่ระหว่างการเตรียมการประกาศอีก 45 จังหวัด รวม 73 จังหวัด ผังเมืองที่ยังคงมีบัญชีท้ายกฎกระทรวง และข้อกำหนดที่ไม่ยืดหยุ่น ที่ต้องยกเลิกตามมติคณะรัฐคณะรัฐมนตรี มี 51จังหวัด ส่วนผังเมืองรวม ชุมชน ที่มีผลบังคับใช้ปัจจุบันมี 135 ผังเมือง ยังคงเป็นข้อกำหนดแบบบัญชีโรงงานท้ายกฎกระทรวง ซึ่งต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
2. กระทรวงอุตสาหกรรม จะขอให้กระทรวงมหาดไทยและกรมโยธาธิการและผังเมือง นำผลการศึกษาโครงการ Zoning ไปใช้จัดทำผังเมือง ซึ่งจะส่งมอบผลการศึกษาฯ ของ 34 จังหวัด ให้กรมโยธาธิการวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ 3. จัดทำหลักเกณฑ์ฯ แนวกันชน และแนวป้องกัน ที่เหมาะสมกับโรงงานประเภทต่างๆ ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์ฯ โดยองค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชน คาดว่าจะมีความชัดเจนประมาณ 2 เดือน และ 4. จะหารือกับกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสำคัญของประเทศ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษ Super Cluster เช่น การแก้ไขปัญหาผังเมืองมาบตาพุด ซึ่งเป็น Super Cluster ด้านปิโตรเคมี ที่ยังมีอุปสรรคด้านการวางผังเมือง ที่อยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมต้องการพื้นที่ประมาณ 35,000 ไร่ แต่ร่างผังเมืองมาบตาพุดจำกัดพื้นที่เพียง 25,000 ไร่
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงมหาดไทย จะนำมติคณะรัฐมนตรี ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมและเกิดประโยชน์สูงสุด 4 ข้อ คือ 1. การยกเลิกบัญชีโรงงานท้ายกฎกระทรวง และจัดทำข้อกำหนดที่ยืดหยุ่นจากการตรวจสอบข้อมูลล่าสุด ขณะนี้ผังเมืองรวมจังหวัดที่ประกาศใช้และมีผลบังคับ มี 28 จังหวัด อยู่ระหว่างการเตรียมการประกาศอีก 45 จังหวัด รวม 73 จังหวัด ผังเมืองที่ยังคงมีบัญชีท้ายกฎกระทรวง และข้อกำหนดที่ไม่ยืดหยุ่น ที่ต้องยกเลิกตามมติคณะรัฐคณะรัฐมนตรี มี 51จังหวัด ส่วนผังเมืองรวม ชุมชน ที่มีผลบังคับใช้ปัจจุบันมี 135 ผังเมือง ยังคงเป็นข้อกำหนดแบบบัญชีโรงงานท้ายกฎกระทรวง ซึ่งต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
2. กระทรวงอุตสาหกรรม จะขอให้กระทรวงมหาดไทยและกรมโยธาธิการและผังเมือง นำผลการศึกษาโครงการ Zoning ไปใช้จัดทำผังเมือง ซึ่งจะส่งมอบผลการศึกษาฯ ของ 34 จังหวัด ให้กรมโยธาธิการวันที่ 17 พฤศจิกายนนี้ 3. จัดทำหลักเกณฑ์ฯ แนวกันชน และแนวป้องกัน ที่เหมาะสมกับโรงงานประเภทต่างๆ ขณะนี้ได้ตั้งคณะทำงานจัดทำหลักเกณฑ์ฯ โดยองค์ประกอบของคณะทำงาน ประกอบด้วยหน่วยงานรัฐและเอกชน คาดว่าจะมีความชัดเจนประมาณ 2 เดือน และ 4. จะหารือกับกระทรวงมหาดไทย เกี่ยวกับโครงการที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสำคัญของประเทศ อาทิ เขตเศรษฐกิจพิเศษ Super Cluster เช่น การแก้ไขปัญหาผังเมืองมาบตาพุด ซึ่งเป็น Super Cluster ด้านปิโตรเคมี ที่ยังมีอุปสรรคด้านการวางผังเมือง ที่อยู่ระหว่างการหารือ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมต้องการพื้นที่ประมาณ 35,000 ไร่ แต่ร่างผังเมืองมาบตาพุดจำกัดพื้นที่เพียง 25,000 ไร่