นายสังวรณ์ พุ่มเทียน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ สร.กสท. พร้อมด้วยนายอนุชิต ธูปเหลือง ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อขอให้พิจารณาความเสียหายจากการเปิดประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในการประกอบกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ที่ทางบริษัท กสท และทีโอที ยังมีสิทธิ์ถือครอง เนื่องจากสหภาพแรงงานฯ กสท เชื่อว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติโดยไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าคลื่นความถี่ที่สิ้นสุดสัญญาสัมปทานไปแล้วนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณา และคุ้มครองชั่วครามของศาลปกคลอง จึงอนุมัติให้เปิดประมูล 4G โดยนายอนุชิต กล่าวว่า คลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ให้ดำเนินการตามกฏหมายโดยฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อดำเนินการคุ้มคลอง พร้อมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อภาครัฐ ภาคเอกชน และให้มีการเปิดเวทีสาธารณะกับหน่อยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน
ส่วนของการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ นั้น นายสังวรณ์ ระบุว่า หากปล่อยให้มาการประมูลใบอนุญาตจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ กสท. ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชน ซึ่งยืนยันว่า สหภาพแรงงานฯ กสท ไม่ได้มีเจตนาคัดค้านการประมูลคลื่นความถี่ เพียงแต่อยากให้ทางรัฐบาลทบทวนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและเทศชาติ เนื่องจากเป็นทรัพย์สินของรัฐ จึงต้องให้ภาครัฐเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์
ทั้งนี้ หาก กสทช. ยังเดินหน้าเปิดประมูลคลื่นความถี่ต่อไป ทางสหภาพแรงงานฯ กสท จะฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งถอนการประมูล เพื่อให้ดำเนินตามขั้นตอนกฏหมายอย่างถูกต้องเสียก่อน นอกจากนี้ จะยื่นร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยว อาทิ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ฐานที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตราประมวลกฏหมายอาญา 157 ด้วยเช่นกัน
ส่วนของการประมูลคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ นั้น นายสังวรณ์ ระบุว่า หากปล่อยให้มาการประมูลใบอนุญาตจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อ กสท. ที่เป็นหน่วยงานของรัฐ และอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชน ซึ่งยืนยันว่า สหภาพแรงงานฯ กสท ไม่ได้มีเจตนาคัดค้านการประมูลคลื่นความถี่ เพียงแต่อยากให้ทางรัฐบาลทบทวนเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนและเทศชาติ เนื่องจากเป็นทรัพย์สินของรัฐ จึงต้องให้ภาครัฐเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์
ทั้งนี้ หาก กสทช. ยังเดินหน้าเปิดประมูลคลื่นความถี่ต่อไป ทางสหภาพแรงงานฯ กสท จะฟ้องร้องต่อศาลปกครองเพื่อให้มีคำสั่งถอนการประมูล เพื่อให้ดำเนินตามขั้นตอนกฏหมายอย่างถูกต้องเสียก่อน นอกจากนี้ จะยื่นร้องเรียนต่อหน่วยงานที่เกี่ยว อาทิ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สำนักงานคณะกรรมการปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ฐานที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตราประมวลกฏหมายอาญา 157 ด้วยเช่นกัน