วันนี้ (31 ต.ค.2558) นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการลงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี และ มาบตาพุด จ.ระยอง ว่า วันที่ 23 พ.ย.นี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จะชี้แจงสิทธิประโยชน์ทางภาษีในพื้นที่ซูเปอร์คลัสเตอร์ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะสอดคล้องกับร่างกฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษซูเปอร์คลัสเตอร์ ที่รัฐบาลต้องการผลักดันในพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก (อีสเทิร์นซีบอร์ด) โดยเชื่อว่าจะทำให้อุตสาหกรรมไทยเติบโตขึ้นโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง
ตามที่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ที่ระบุว่า ขณะนี้มีปัญหาเรื่องการจราจรที่ติดขัดมาก จากการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง จึงต้องการให้เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่เส้นทางเชียงของ-หนองคาย เชื่อมต่อถึงท่าเรือแหลมฉบัง
นอกจากนี้ การลงทุนยังมีปัญหาล่าช้าเพราะหน่วยงานราชการที่ทำงานได้ล่าช้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางพารา จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมซูเปอร์คลัสเตอร์ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและขีดความสามารถในการแข่งขัน
นายสมคิด ยังระบุว่า โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายมาตรา 44 มาเร่งรัดการลงทุน เพราะขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดรายละเอียดเร่งรัดในการลงทุน เป็นการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) โดยจะย่นระยะเวลาในการลงทุนให้เร็วขึ้น จากเดิมการเริ่มต้นลงทุนแต่ละโครงการใช้เวลานาน ประมาณ 2 ปี
ส่วนที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ยังมีปัญหาเรื่องผังเมืองนั้น การนิคมแห่งประเทศไทยระบุว่า มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาผังเมืองแผนผังเมืองเดิมที่กำลังจะหมดอายุในปี 2546 โดยมีข้อยุติว่า ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองมอบให้ท้องถิ่นดำเนินการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทบทวน คาดว่า จะใช้เวลาไม่นานซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรับปากในที่ประชุมว่าจะมีการหารืออีกครั้งที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้
ตามที่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ที่ระบุว่า ขณะนี้มีปัญหาเรื่องการจราจรที่ติดขัดมาก จากการก่อสร้างถนนของกรมทางหลวง จึงต้องการให้เร่งผลักดันโครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่เส้นทางเชียงของ-หนองคาย เชื่อมต่อถึงท่าเรือแหลมฉบัง
นอกจากนี้ การลงทุนยังมีปัญหาล่าช้าเพราะหน่วยงานราชการที่ทำงานได้ล่าช้า โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยางพารา จะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมซูเปอร์คลัสเตอร์ ส่งผลกระทบต่อการลงทุนและขีดความสามารถในการแข่งขัน
นายสมคิด ยังระบุว่า โครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายมาตรา 44 มาเร่งรัดการลงทุน เพราะขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดรายละเอียดเร่งรัดในการลงทุน เป็นการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) โดยจะย่นระยะเวลาในการลงทุนให้เร็วขึ้น จากเดิมการเริ่มต้นลงทุนแต่ละโครงการใช้เวลานาน ประมาณ 2 ปี
ส่วนที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่ยังมีปัญหาเรื่องผังเมืองนั้น การนิคมแห่งประเทศไทยระบุว่า มีแนวทางในการแก้ไขปัญหาผังเมืองแผนผังเมืองเดิมที่กำลังจะหมดอายุในปี 2546 โดยมีข้อยุติว่า ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองมอบให้ท้องถิ่นดำเนินการ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการทบทวน คาดว่า จะใช้เวลาไม่นานซึ่งรองนายกรัฐมนตรีรับปากในที่ประชุมว่าจะมีการหารืออีกครั้งที่ทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้