เมื่อวันที่ 26 ต.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) เปิดเผยว่าได้สั่งให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไปประชุมหาทางออกในเรื่องของปัญหาราคายางพารา ซึ่งเชื่อว่าคงได้ข้อยุติ เรื่องการดูแลพัฒนาสวนยาง และดูแลคนกรีดยาง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีก แต่ขอย้ำว่าไม่มีการชดเชยส่วนต่าง เพราะผิดกฎหมาย และวันนี้ พ.ร.บ.ยางพาราก็ออกมาแล้ว
ด้านพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯ เปิดเผยภายหลังประชุมวางมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า ได้สรุปมาตรการช่วยเหลือ และชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรที่ประสบภาวะราคายางตกต่ำมาต่อเนื่อง โดยเป็นมาตรการช่วยเหลือระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยาว ครบทุกด้านแล้ว ซึ่งจะได้เสนอนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 27 ต.ค.นี้ เพื่อให้เคาะในที่ประชุม ครม.
ทั้งนี้ จะช่วยเหลือด้านรายได้เฉพาะหน้าเป็นเงินตามสัดส่วน 40:60 จากครั้งที่แล้วชดเชยไร่ละ 1,000 บาท เฉพาะเจ้าของสวนยางเท่านั้น ครั้งนี้จะคำนึงถึงคนกรีดยางที่จะได้รับเงินด้วย โดยการช่วยเหลือต้องให้เป็นตัวเงินโอนเข้าบัญชี แต่ยังไม่ขอเปิดเผยวงเงิน ขอให้นายกรัฐมนตรี ได้เคาะตัวเลขก่อน จากนั้นตนจะแถลงเรื่องนี้ให้ทราบอีกครั้ง ทั้งนี้จากการสำรวจในเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินปีที่แล้ว มีเกษตรกรสวนยาง 850,000 แสนครัวเรือน ซึ่งครั้งนี้จะเพิ่มคนกรีดยางเข้าไปด้วย และในส่วนมาตรการเสริมสร้างอาชีพร่วมปลูกยางวงเงินกู้อีก 10,000 ล้านบาท พร้อมกับนำโครงการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และขยายการผลิตใช้ยางภายในประเทศให้มากที่สุดมาใช้
สำหรับมาตรการที่จะนำยางพารามาเป็นวัตถุดิบในประเทศเพิ่มขึ้นนั้น ที่ประชุมวันนี้ได้มีการเชิญทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาหารือ แต่ล้มเหลว ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากผู้ที่มาประชุมไม่ได้ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ดังนั้น จะรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่า ยังไม่สามารถนำมาตรการใช้ยางพาราเพิ่มเติม เสนอต่อ ครม.ได้ทันในวันที่ 27 ต.ค.หลังจากที่นายกฯได้สั่งการเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา ให้นำเรื่องนี้เข้าสู่ ครม.
ทั้งนี้จะแจ้งต่อรัฐมนตรีทุกกระทรวงด้วยว่าจะนัดประชุมอีกครั้งในสัปดาห์นี้ แต่ขอให้ส่งระดับปลัดกระทรวงมาร่วมประชุม เพื่องานจะได้คืบหน้า เพราะเป็นวาระสำคัญของนายกรัฐมนตรีที่ได้สั่งการไว้
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า สูตรการชดเชยเกษตรกรสวนยาง ที่กระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอเข้า ครม.พิจารณาในวันที่ 27 ต.ค.นี้ คือให้ชดเชยไร่ละ 1,250 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ แบ่งสัดส่วน 40:60 เปอร์เซนต์ โอนเข้าบัญชีเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยาง โดยมีเกษตรกรขึ้นทะเบียนไว้ 850,000 ครัวเรือน ซึ่งรวมคนกรีดยางด้วย จะเป็น 1.2 ล้านครัวเรือน ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว รัฐบาลต้องใช้วงเงินกว่า 10,000 ล้านบาท ในการชดเชยรายได้ครั้งนี้
ด้านพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรฯ เปิดเผยภายหลังประชุมวางมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยาง ว่า ได้สรุปมาตรการช่วยเหลือ และชดเชยรายได้ให้กับเกษตรกรที่ประสบภาวะราคายางตกต่ำมาต่อเนื่อง โดยเป็นมาตรการช่วยเหลือระยะเฉพาะหน้า ระยะกลาง และระยาว ครบทุกด้านแล้ว ซึ่งจะได้เสนอนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 27 ต.ค.นี้ เพื่อให้เคาะในที่ประชุม ครม.
ทั้งนี้ จะช่วยเหลือด้านรายได้เฉพาะหน้าเป็นเงินตามสัดส่วน 40:60 จากครั้งที่แล้วชดเชยไร่ละ 1,000 บาท เฉพาะเจ้าของสวนยางเท่านั้น ครั้งนี้จะคำนึงถึงคนกรีดยางที่จะได้รับเงินด้วย โดยการช่วยเหลือต้องให้เป็นตัวเงินโอนเข้าบัญชี แต่ยังไม่ขอเปิดเผยวงเงิน ขอให้นายกรัฐมนตรี ได้เคาะตัวเลขก่อน จากนั้นตนจะแถลงเรื่องนี้ให้ทราบอีกครั้ง ทั้งนี้จากการสำรวจในเอกสารสิทธิ์การถือครองที่ดินปีที่แล้ว มีเกษตรกรสวนยาง 850,000 แสนครัวเรือน ซึ่งครั้งนี้จะเพิ่มคนกรีดยางเข้าไปด้วย และในส่วนมาตรการเสริมสร้างอาชีพร่วมปลูกยางวงเงินกู้อีก 10,000 ล้านบาท พร้อมกับนำโครงการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม และขยายการผลิตใช้ยางภายในประเทศให้มากที่สุดมาใช้
สำหรับมาตรการที่จะนำยางพารามาเป็นวัตถุดิบในประเทศเพิ่มขึ้นนั้น ที่ประชุมวันนี้ได้มีการเชิญทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องมาหารือ แต่ล้มเหลว ยังไม่ได้ข้อสรุป เนื่องจากผู้ที่มาประชุมไม่ได้ดูแลเรื่องนี้โดยตรง ดังนั้น จะรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบว่า ยังไม่สามารถนำมาตรการใช้ยางพาราเพิ่มเติม เสนอต่อ ครม.ได้ทันในวันที่ 27 ต.ค.หลังจากที่นายกฯได้สั่งการเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา ให้นำเรื่องนี้เข้าสู่ ครม.
ทั้งนี้จะแจ้งต่อรัฐมนตรีทุกกระทรวงด้วยว่าจะนัดประชุมอีกครั้งในสัปดาห์นี้ แต่ขอให้ส่งระดับปลัดกระทรวงมาร่วมประชุม เพื่องานจะได้คืบหน้า เพราะเป็นวาระสำคัญของนายกรัฐมนตรีที่ได้สั่งการไว้
รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรฯ เปิดเผยว่า สูตรการชดเชยเกษตรกรสวนยาง ที่กระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอเข้า ครม.พิจารณาในวันที่ 27 ต.ค.นี้ คือให้ชดเชยไร่ละ 1,250 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ แบ่งสัดส่วน 40:60 เปอร์เซนต์ โอนเข้าบัญชีเกษตรกรเจ้าของสวนยางและคนกรีดยาง โดยมีเกษตรกรขึ้นทะเบียนไว้ 850,000 ครัวเรือน ซึ่งรวมคนกรีดยางด้วย จะเป็น 1.2 ล้านครัวเรือน ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว รัฐบาลต้องใช้วงเงินกว่า 10,000 ล้านบาท ในการชดเชยรายได้ครั้งนี้