นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวในการเข้าชี้แจงต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ถึงผลสำเร็จและอุปสรรคปัญหาการทำงานที่ผ่านมาและในปัจจุบัน ว่า ขอเสนอให้ ป.ป.ช.และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถตรวจสอบนโยบายโครงการประชานิยมในช่วงการหาเสียงของพรรคการเมือง เพื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ และป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อไม่ให้เหมือนโครงการรับจำนำข้าวที่รัฐบาลอ้างว่าเป็นนโยบาย และไม่มีหน่วยงานไหนเข้าไปยับยั้งได้ จนส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ดังนั้น มาตรการใหม่นี้หาก ป.ป.ช และ กกต.เตือนไปแล้ว และหน่วยงานนั้นไม่ปฏิบัติตามก็จะมีสภาพถูกชี้มูลความผิด อย่างกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในโครงการคดีรับจำนำข้าว
นายวิชา ยังกล่าวด้วยว่า ปัญหาการทุจริตที่พบเพิ่มขึ้นทุกปี ล่าสุดกว่าร้อยละ 60 คือการทุจริตในระดับท้องถิ่นที่รุนแรงมากจากการจัดซื้อจัดจ้างและการฮั้ว จับตรงไหนก็ทุจริต จึงอยากให้ "หมวดท้องถิ่น" ต้องเข้มข้นกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใส ตั้งแต่มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ.) ครบ 76 จังหวัด เพราะจากการตรวจสอบเชิงลึกไปตรงไหนพบแต่การทุจริต มีการปกปิดข้อมูลมากมาย ส่วนใหญ่ที่พบจะเกี่ยวข้องกับการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น นักการเมืองท้องถิ่นจะต้องส่งบัญชีทรัพย์สินเพื่อให้มีการตรวจสอบ รวมทั้งผู้ที่ถูกถอดถอน หรือคนที่มีคดีเกี่ยวกับการทุจริต ก็ไม่ควรเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ได้อีกต่อไป
นายวิชา ยังกล่าวด้วยว่า ปัญหาการทุจริตที่พบเพิ่มขึ้นทุกปี ล่าสุดกว่าร้อยละ 60 คือการทุจริตในระดับท้องถิ่นที่รุนแรงมากจากการจัดซื้อจัดจ้างและการฮั้ว จับตรงไหนก็ทุจริต จึงอยากให้ "หมวดท้องถิ่น" ต้องเข้มข้นกว่านี้ โดยเฉพาะเรื่องความโปร่งใส ตั้งแต่มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด (ป.ป.จ.) ครบ 76 จังหวัด เพราะจากการตรวจสอบเชิงลึกไปตรงไหนพบแต่การทุจริต มีการปกปิดข้อมูลมากมาย ส่วนใหญ่ที่พบจะเกี่ยวข้องกับการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้น นักการเมืองท้องถิ่นจะต้องส่งบัญชีทรัพย์สินเพื่อให้มีการตรวจสอบ รวมทั้งผู้ที่ถูกถอดถอน หรือคนที่มีคดีเกี่ยวกับการทุจริต ก็ไม่ควรเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ ได้อีกต่อไป