การประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) วันนี้ (14 ต.ค.) มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ.เป็นประธาน ได้เชิญคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าให้ข้อมูลอุปสรรคในการทำงาน เพื่อให้ กรธ.นำมาปรับปรุง และบรรจุเป็นกฎหมายไว้ในรัฐธรรมนูญ
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าชี้แจงต่อ กรธ.ว่า อำนาจหน้าที่ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยมาตรฐานขั้นต่ำถือว่าน่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว แต่กรรมการ ป.ป.ช.ต้องการเสนอเพิ่มให้การทำงานขององค์กรอิสระสามารถบูรณาการประสานร่วมกันได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และควรขยายเวลาการยึดอายัดทรัพย์บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต จาก 1 ปี เป็น 2 ปี เพราะต้องใช้เวลาในการไต่สวน และรวบรวมพยานหลักฐาน
ทั้งนี้ สำหรับอายุความคดีทุจริต ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นไม่ให้มีอายุความ แต่ขอให้เริ่มนับอายุความเมื่อบุคคลนั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และการตัดสินคดีของนักการเมืองให้ไปสิ้นสุดที่ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยไม่อุทธรณ์ ถือว่าเหมาะสมแล้ว ซึ่งในเนเธอแลนด์ก็ใช้ระบบนี้
ขณะเดียวกัน ป.ป.ช.เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญควรเขียนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ไว้กว้าง ๆ เพียง 2 -3 มาตรา ส่วนรายละเอียดให้เป็นไปตามประกอบรัฐธรรมนูญจะดีกว่า
ส่วนที่มีข้อเสนอให้ประชาชนสามารถฟ้องร้องรัฐได้เองในคดีทุจริตนั้น นายวิชา กล่าวว่า คดีทุจริตมีความยุ่งยากในการไต่สวน จึงเห็นว่าควรให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งเท่าที่ทำงานมา 9 ปี เห็นว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมแล้ว
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าชี้แจงต่อ กรธ.ว่า อำนาจหน้าที่ ป.ป.ช.ตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 โดยมาตรฐานขั้นต่ำถือว่าน่าพอใจในระดับหนึ่งแล้ว แต่กรรมการ ป.ป.ช.ต้องการเสนอเพิ่มให้การทำงานขององค์กรอิสระสามารถบูรณาการประสานร่วมกันได้ เพื่อให้การทำงานเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และควรขยายเวลาการยึดอายัดทรัพย์บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าทุจริต จาก 1 ปี เป็น 2 ปี เพราะต้องใช้เวลาในการไต่สวน และรวบรวมพยานหลักฐาน
ทั้งนี้ สำหรับอายุความคดีทุจริต ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นไม่ให้มีอายุความ แต่ขอให้เริ่มนับอายุความเมื่อบุคคลนั้นเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม และการตัดสินคดีของนักการเมืองให้ไปสิ้นสุดที่ศาลฎีกาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยไม่อุทธรณ์ ถือว่าเหมาะสมแล้ว ซึ่งในเนเธอแลนด์ก็ใช้ระบบนี้
ขณะเดียวกัน ป.ป.ช.เห็นว่า ในรัฐธรรมนูญควรเขียนเรื่องอำนาจหน้าที่ของ ป.ป.ช.ไว้กว้าง ๆ เพียง 2 -3 มาตรา ส่วนรายละเอียดให้เป็นไปตามประกอบรัฐธรรมนูญจะดีกว่า
ส่วนที่มีข้อเสนอให้ประชาชนสามารถฟ้องร้องรัฐได้เองในคดีทุจริตนั้น นายวิชา กล่าวว่า คดีทุจริตมีความยุ่งยากในการไต่สวน จึงเห็นว่าควรให้รัฐเป็นผู้ดำเนินการแทน ซึ่งเท่าที่ทำงานมา 9 ปี เห็นว่าเป็นวิธีการที่เหมาะสมแล้ว