รายงานจากแจ้งว่า เมื่อวานนี้ (8 ต.ค.2558) เรือประมงขนาดเล็กของชาวบ้าน อ.เทพา จ.สงขลา กว่า 100 ลำ พร้อมใจกันเข้าล้อมเรือขุดเจาะสำรวจดินของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ซึ่งอยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 3 กิโลเมตร นานประมาณ 3 ชั่วโมง เพื่อเจรจาให้ระงับการขุดเจาะสำรวจ เนื่องจากเรือลำดังกล่าวได้ขุดเจาะดินติดต่อกันมาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านอย่างรุนแรง และอบต.ปากบางก็ยืนยันว่า ไม่มีการขออนุญาตดำเนินการแต่อย่างใด
สำหรับเรือขุดเจาะดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและท่าเรือน้ำลึกถ่านหิน จ.สงขลา ของกฟผ. โดยผวจ.สงขลา คนก่อน (นายธำรงค์ เจริญกุล) ได้ทำหนังสือแจ้ง นายกอบต.ปากบาง ว่าจะมีการสำรวจระหว่าง วันที่ 24 ส.ค.-24 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้เลยเวลามาแล้วแต่กลับยังไม่หยุดดำเนินการ
นอกจากนี้บริเวณที่ขุดเจาะอยู่ในรัศมี 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 9 หลุม โดย 4-5 หลุม อยู่ที่ชายฝั่งห่างจากบ้านเรือนชาวประมงเพียง 20-30 เมตร ส่วนหลุมที่เหลืออยู่บริเวณสันดอนปลา ซึ่งเป็นจุดที่ชาวประมงหาปลา
นายดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวว่า ชาวประมงกว่าร้อยลำ เข้าล้อมเรือขุดเจาะดินตั้งแต่เวลา 09.00 -12.00 น. พร้อมทั้งเจรจาให้หยุดเจาะทันทีและให้นำเรือกลับเข้าฝั่ง เพราะว่ายังไม่มีการขออนุญาตและยังไม่เคยชี้แจงกับชาวบ้าน โดยเจ้าหน้าที่กฟผ.ประมาณ 10 คน ซึ่งอยู่บนเรือไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้อง ชาวประมงจึงเดินทางกลับ
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายอำเภอเทพา ขอให้ระงับการขุดเจาะ แต่ได้รับคำตอบด้วยวาจาว่า นายอำเภอไม่มีอำนาจสั่งระงับ ขณะที่ประมงอำเภอก็ไม่มีอำนาจระงับเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่พึงพอใจ ที่สุดแล้วตัวแทนประมงจังหวัดยอมประสานไปยังกฟผ.และได้ข้อสรุปว่า จะมีเวทีเจรจากันในวันที่ 9 ต.ค.นี้ เวลา 14.00 น. ที่หมู่ 7 ต.เทพา
นายดิเรกกล่าวว่า ตอนนี้ชาวประมงในพื้นที่เสียโอกาสไปไม่ต่ำกว่า 1 เดือนครึ่ง เพราะเป็นช่วงก่อนมรสุมที่ปลาชุกชุม โดยปกติจะได้ไม่ต่ำกว่ารอบละ 200 กิโลกรัม ขายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 1 หมื่นบาท แต่ขณะนี้กลับหาได้เพียง 30-40 กิโลกรัม เท่านั้น
“จริงๆ แล้วช่วงนี้เป็นช่วงเก็บตังค์ของชาวประมง เพราะเราจะออกเรือไม่ได้อีกถึง 2 เดือน แต่เรือขุดเจาะมาทำให้น้ำขุ่น ทำให้หาปลาไม่ได้ ที่สำคัญคือเขาชุดเจาะในช่วงกลางคืนที่ชาวประมงออกหาปลา แต่พื้นที่ที่เจาะคือสันดอนปลา หรือแหล่งหาปลาหลักของชาวประมง” นายดิเรกกล่าว
วันเดียวกัน ตัวแทนชาวบ้าน อ.เทพา ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาเทพา เพื่อขอคัดถ่ายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการขอใช้และการขอถอนสภาพที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อประกอบกิจการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ของการกฟผ.รวมทั้งขอทราบกระบวนการขั้นตอนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
สำหรับการยื่นหนังสือครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก กฟผ. และบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ได้เข้ามาศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และโครงการท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านดิน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา
สำหรับเรือขุดเจาะดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและท่าเรือน้ำลึกถ่านหิน จ.สงขลา ของกฟผ. โดยผวจ.สงขลา คนก่อน (นายธำรงค์ เจริญกุล) ได้ทำหนังสือแจ้ง นายกอบต.ปากบาง ว่าจะมีการสำรวจระหว่าง วันที่ 24 ส.ค.-24 ก.ย.ที่ผ่านมา แต่จนถึงขณะนี้เลยเวลามาแล้วแต่กลับยังไม่หยุดดำเนินการ
นอกจากนี้บริเวณที่ขุดเจาะอยู่ในรัศมี 3 กิโลเมตรจากชายฝั่ง แบ่งออกเป็น 9 หลุม โดย 4-5 หลุม อยู่ที่ชายฝั่งห่างจากบ้านเรือนชาวประมงเพียง 20-30 เมตร ส่วนหลุมที่เหลืออยู่บริเวณสันดอนปลา ซึ่งเป็นจุดที่ชาวประมงหาปลา
นายดิเรก เหมนคร ผู้ประสานงานเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน กล่าวว่า ชาวประมงกว่าร้อยลำ เข้าล้อมเรือขุดเจาะดินตั้งแต่เวลา 09.00 -12.00 น. พร้อมทั้งเจรจาให้หยุดเจาะทันทีและให้นำเรือกลับเข้าฝั่ง เพราะว่ายังไม่มีการขออนุญาตและยังไม่เคยชี้แจงกับชาวบ้าน โดยเจ้าหน้าที่กฟผ.ประมาณ 10 คน ซึ่งอยู่บนเรือไม่ยินยอมตามข้อเรียกร้อง ชาวประมงจึงเดินทางกลับ
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายอำเภอเทพา ขอให้ระงับการขุดเจาะ แต่ได้รับคำตอบด้วยวาจาว่า นายอำเภอไม่มีอำนาจสั่งระงับ ขณะที่ประมงอำเภอก็ไม่มีอำนาจระงับเช่นเดียวกัน ส่งผลให้ชาวบ้านไม่พึงพอใจ ที่สุดแล้วตัวแทนประมงจังหวัดยอมประสานไปยังกฟผ.และได้ข้อสรุปว่า จะมีเวทีเจรจากันในวันที่ 9 ต.ค.นี้ เวลา 14.00 น. ที่หมู่ 7 ต.เทพา
นายดิเรกกล่าวว่า ตอนนี้ชาวประมงในพื้นที่เสียโอกาสไปไม่ต่ำกว่า 1 เดือนครึ่ง เพราะเป็นช่วงก่อนมรสุมที่ปลาชุกชุม โดยปกติจะได้ไม่ต่ำกว่ารอบละ 200 กิโลกรัม ขายได้ไม่ต่ำกว่าวันละ 1 หมื่นบาท แต่ขณะนี้กลับหาได้เพียง 30-40 กิโลกรัม เท่านั้น
“จริงๆ แล้วช่วงนี้เป็นช่วงเก็บตังค์ของชาวประมง เพราะเราจะออกเรือไม่ได้อีกถึง 2 เดือน แต่เรือขุดเจาะมาทำให้น้ำขุ่น ทำให้หาปลาไม่ได้ ที่สำคัญคือเขาชุดเจาะในช่วงกลางคืนที่ชาวประมงออกหาปลา แต่พื้นที่ที่เจาะคือสันดอนปลา หรือแหล่งหาปลาหลักของชาวประมง” นายดิเรกกล่าว
วันเดียวกัน ตัวแทนชาวบ้าน อ.เทพา ได้ยื่นหนังสือต่อสำนักงานที่ดินจังหวัดสงขลา สาขาเทพา เพื่อขอคัดถ่ายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการขอใช้และการขอถอนสภาพที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อประกอบกิจการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ของการกฟผ.รวมทั้งขอทราบกระบวนการขั้นตอนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
สำหรับการยื่นหนังสือครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก กฟผ. และบริษัท คอนซัลแทนท์ ออฟเทคโนโลยี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษา ได้เข้ามาศึกษาและจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (อีเอชไอเอ) โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และโครงการท่าเทียบเรือสำหรับโรงไฟฟ้าถ่านดิน ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 4 ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา