รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ห้องจูปิเตอร์ ชั้น 3 โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนแวนชั่น มีการจัดงานเสวนา "ละเมิดสิทธิแรงงาน ฟ้อง 326 ล้าน การบินไทยได้อะไร" โดยผู้ร่วมฟังการเสวนาแต่งกายในชุดสีดำ ประท้วงกรณีบริษัทการบินไทย ฟ้องร้องกรณีพิพาทเรียกร้องการปรับขึ้นเงินเดือน และการจ่ายโบนัส เมื่อปี 2556 ที่มีนางแจ่มศรี สุกโชติรัตน์ ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย ขณะนั้นที่เป็นแกนนำ
จากการที่พนักงานชุมนุมเพื่อขอโบนัสและขอให้ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี ในอัตราร้อยละ 7.5 เมื่อเดือนมกราคม 2556 เนื่องมาจากอดีตประธานกรรมการบริษัทฯ นายอำพน กิตติอำพน ประกาศว่า บริษัทฯมีผลกำไรเป็นที่น่าพอใจ แม้ในช่วงเวลานั้นจะไม่มีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ จึงเป็นเหตุทำให้พนักงานร้องขอค่าตอบแทน เรื่องนี้หากจะมองกันอย่างผิวเผิน ก็อาจจะมองเพียงว่า เป็นปัญหาความขัดแย้งภายใน พนักงานชุมนุมเป็นเรื่องชั่วร้าย เป็นผู้ร้ายทำลายภาพลักษณ์ แต่ไม่มองไกลไปว่าการชุมนุมของพนักงานระดับล่าง ได้สะท้อนแง่มุมอะไรบ้างที่เป็นปัญหาจริงๆ ในองค์กร
“จำได้ว่า ในคืนวันที่ 19 มกราคม 2556 แทบจะต้องกราบขอร้องให้พนักงานยุติการชุมนุม พนักงานยืนยันไม่ยอม ต้องใช้ความเป็นผู้หญิง ความเป็นมิตร ใช้สารพัดวาทะศิลป์กว่าที่จะยอมกันได้ เพราะสิ่งที่พนักงานยังไม่ได้ในคืนนั้น คือ การลาออกของอดีตประธานกรรมการบริษัทฯ ด้วยคำสัญญาว่า จะพยายามทำให้สำเร็จ พนักงานจึงยุติการชุมนุม”นางแจ่มศรีกล่าว
นางแจ่มศรี กล่าวต่อว่า เมื่อมีการฟ้องร้องเป็นคดี เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องภายในอีกต่อไป องค์กรแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างให้ความสนใจและเห็นว่าเรื่องนี้เป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน และอาจเป็นการจงใจเจตนาทำลายสหภาพแรงงานฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยตรวจสอบและถ่วงดุล ช่วยปกป้องผลประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงานฯจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องช่วยกันรักษาไว้ ยิ่งรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่มีชื่อเสียงด้านทุจริตคอร์รัปชั่น ไร้ธรรมาภิบาล ผู้บริหารขาดคุณธรรมและจริยธรรม การทำให้สหภาพแรงงานฯอ่อนแอจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาติ
จากการที่พนักงานชุมนุมเพื่อขอโบนัสและขอให้ปรับขึ้นเงินเดือนประจำปี ในอัตราร้อยละ 7.5 เมื่อเดือนมกราคม 2556 เนื่องมาจากอดีตประธานกรรมการบริษัทฯ นายอำพน กิตติอำพน ประกาศว่า บริษัทฯมีผลกำไรเป็นที่น่าพอใจ แม้ในช่วงเวลานั้นจะไม่มีกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ จึงเป็นเหตุทำให้พนักงานร้องขอค่าตอบแทน เรื่องนี้หากจะมองกันอย่างผิวเผิน ก็อาจจะมองเพียงว่า เป็นปัญหาความขัดแย้งภายใน พนักงานชุมนุมเป็นเรื่องชั่วร้าย เป็นผู้ร้ายทำลายภาพลักษณ์ แต่ไม่มองไกลไปว่าการชุมนุมของพนักงานระดับล่าง ได้สะท้อนแง่มุมอะไรบ้างที่เป็นปัญหาจริงๆ ในองค์กร
“จำได้ว่า ในคืนวันที่ 19 มกราคม 2556 แทบจะต้องกราบขอร้องให้พนักงานยุติการชุมนุม พนักงานยืนยันไม่ยอม ต้องใช้ความเป็นผู้หญิง ความเป็นมิตร ใช้สารพัดวาทะศิลป์กว่าที่จะยอมกันได้ เพราะสิ่งที่พนักงานยังไม่ได้ในคืนนั้น คือ การลาออกของอดีตประธานกรรมการบริษัทฯ ด้วยคำสัญญาว่า จะพยายามทำให้สำเร็จ พนักงานจึงยุติการชุมนุม”นางแจ่มศรีกล่าว
นางแจ่มศรี กล่าวต่อว่า เมื่อมีการฟ้องร้องเป็นคดี เรื่องนี้จึงไม่ใช่เรื่องภายในอีกต่อไป องค์กรแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างให้ความสนใจและเห็นว่าเรื่องนี้เป็นการละเมิดสิทธิแรงงาน และอาจเป็นการจงใจเจตนาทำลายสหภาพแรงงานฯ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยตรวจสอบและถ่วงดุล ช่วยปกป้องผลประโยชน์ในรัฐวิสาหกิจ สหภาพแรงงานฯจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องช่วยกันรักษาไว้ ยิ่งรัฐวิสาหกิจบางแห่งที่มีชื่อเสียงด้านทุจริตคอร์รัปชั่น ไร้ธรรมาภิบาล ผู้บริหารขาดคุณธรรมและจริยธรรม การทำให้สหภาพแรงงานฯอ่อนแอจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นกังวลอย่างยิ่งสำหรับคนรักชาติ