พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธาน เรื่องการเพิ่มอัตราส่วนว่า ครม.มีมติตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมาย และกำลังพลภาครัฐ(คปร.) นำเสนอเรื่องเพิ่มอัตราข้าราชการที่ตั้งใหม่ให้กับส่วนราชการปีงบประมาณ 2558 ทั้งหมด 13,280 อัตรา โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้องที่จะนำข้อสังเกตุต่างๆของคปร.ไปพิจารณา เช่น สำนักงบประมาณ ต้องไปดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนบุคคล สำนักงานข้าราชการพลเรือน(กพ.) สำนักงานพัฒนาระบบข้าราชการ(กพร.) สภาพัฒนาแศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง จะต้องนำแนวทางที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานตนเองไปวางแผนพัฒนากำลังพลภาครัฐในระยะยาว เพื่อเป็นการควบคุมอัตรา กำลังพล และแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายให้อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถรับได้
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ คปร.จะมีวิธีการในการควบคุมปริมาณข้าราชการทั้งประเทศ ที่มีอยู่ประมาณ 400,000 คน โดยจะดูว่าแต่ละกระทรวง ทบวง กรม มีข้าราชการที่เกษียณไปเท่าไร อย่างไร และจะมีการปรับโยกย้ายตำแหน่งทั้งหลายให้ไปรองรับกับปริมาณของงานในแต่ละกระทรวง โดยมีการชี้แจงในที่ประชุมว่า การเพิ่มอัตราข้าราชการ 1 คนนั้น รัฐบาลต้องเสียงบประมาณ 25 ล้านบาท ตั้งแต่รับเข้ามาบรรจุเป็นข้าราชการ จนกระทั่งเสียชีวิตหรือเกษียณ โดยมีหน่วยงานที่ต้องการเพิ่มอัตราข้าราชทั้งหมด 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1.กระทรวงมหาดไทยมี 2 หน่วยงานคือ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ดำรงธรรม โดยอนุมัติไปกว่า 1,137 อัตรา 2.กระทรวงยุติธรรม มี 2 หน่วยงานคือ กรมราชฑัณฑ์ อนุมัติ 1,794 อัตรา และสำนักงานป้องกันละปราบปรามการทุจริตภาครัฐ(ป.ป.ท.) อนุมัติไป 343 อัตรา 3.กระทรวงการต่างประเทศ อนุมัติ 7 อัตรา ตามที่ขอ 4.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อนุมัติ 143 อัตรา และในหน่วยงานที่ขอเพิ่มอัตรามากที่สุด คือ กระทรวงสาธาณสุข โดยอนุมัติไป 9,863 อัตรา
ทั้งนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานเดียวของรัฐที่ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งหมดในการบริหารงาน ซึ่งสามารถมีรายได้ของตัวเองบางส่วนจากการรักษาพยาบาลจึงสามารถนำงบประมาณของตนเองส่วนหนึ่งไปจ้างพนักงาน ส่งผลให้บุคลากรเหล่านี้มีความต้องการที่จะขอแปรสภาพบรรจุเป็นข้าราชการ ที่ผ่านมามีการบริการหลายรูปแบบ หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือ ก็เป็นเรื่องที่ลำบากใจพอสมควร เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลสุขภาพให้กับประชาชน
ทั้งนี้ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เมื่อสิ้นปีงบประมาณ คปร.จะมีวิธีการในการควบคุมปริมาณข้าราชการทั้งประเทศ ที่มีอยู่ประมาณ 400,000 คน โดยจะดูว่าแต่ละกระทรวง ทบวง กรม มีข้าราชการที่เกษียณไปเท่าไร อย่างไร และจะมีการปรับโยกย้ายตำแหน่งทั้งหลายให้ไปรองรับกับปริมาณของงานในแต่ละกระทรวง โดยมีการชี้แจงในที่ประชุมว่า การเพิ่มอัตราข้าราชการ 1 คนนั้น รัฐบาลต้องเสียงบประมาณ 25 ล้านบาท ตั้งแต่รับเข้ามาบรรจุเป็นข้าราชการ จนกระทั่งเสียชีวิตหรือเกษียณ โดยมีหน่วยงานที่ต้องการเพิ่มอัตราข้าราชทั้งหมด 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1.กระทรวงมหาดไทยมี 2 หน่วยงานคือ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และกรมการปกครองเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์ดำรงธรรม โดยอนุมัติไปกว่า 1,137 อัตรา 2.กระทรวงยุติธรรม มี 2 หน่วยงานคือ กรมราชฑัณฑ์ อนุมัติ 1,794 อัตรา และสำนักงานป้องกันละปราบปรามการทุจริตภาครัฐ(ป.ป.ท.) อนุมัติไป 343 อัตรา 3.กระทรวงการต่างประเทศ อนุมัติ 7 อัตรา ตามที่ขอ 4.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ อนุมัติ 143 อัตรา และในหน่วยงานที่ขอเพิ่มอัตรามากที่สุด คือ กระทรวงสาธาณสุข โดยอนุมัติไป 9,863 อัตรา
ทั้งนี้ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในที่ประชุมว่า กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานเดียวของรัฐที่ไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินทั้งหมดในการบริหารงาน ซึ่งสามารถมีรายได้ของตัวเองบางส่วนจากการรักษาพยาบาลจึงสามารถนำงบประมาณของตนเองส่วนหนึ่งไปจ้างพนักงาน ส่งผลให้บุคลากรเหล่านี้มีความต้องการที่จะขอแปรสภาพบรรจุเป็นข้าราชการ ที่ผ่านมามีการบริการหลายรูปแบบ หากรัฐบาลไม่ช่วยเหลือ ก็เป็นเรื่องที่ลำบากใจพอสมควร เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ที่คอยดูแลสุขภาพให้กับประชาชน