นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ซึ่งระยะแรกรัฐบาลมีมาตรการทางการเงินของกระทรวงการคลัง ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติไปแล้ว เช่น โครงการสินเชื่อผ่านสถาบันการเงิน การปรับปรุงเงื่อนไขการค้ำประกัน และการร่วมลงทุนระยะเริ่มต้น รวมทั้งมาตรการทางด้านภาษี ส่วนระยะที่ 2 เป็นมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือเอสเอ็มอีด้านต่าง ๆ แบบบูรณาการ โดยกระทรวงอุตสาหกรรมจะมุ่งเน้นด้านผลิตภาพและนวัตกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมุ่งเน้นนวัตกรรม และกระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นด้านการตลาด
นอกจากนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงต่าง ๆ ที่มีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีมาบูรณาการกัน ซึ่งขณะนี้ใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน ต้องพิจารณาว่าเอสเอ็มอีที่เข้าระบบปี 2559 มีมากน้อยเพียงใด และจะให้ความช่วยเหลือระยะแรกเท่าใดก่อน แล้วจะพิจารณาว่าต้องของบประมาณเสริมหรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือ เอสเอ็มอีทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งคงใช้เวลาอีกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สำหรับ 3 มาตรการหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งเอสเอ็มอี การสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสาขาธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ และการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มความเข้มแข็งสำหรับเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
นอกจากนี้ ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม (สสว.) กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงต่าง ๆ ที่มีมาตรการช่วยเหลือเอสเอ็มอีมาบูรณาการกัน ซึ่งขณะนี้ใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะเดียวกัน ต้องพิจารณาว่าเอสเอ็มอีที่เข้าระบบปี 2559 มีมากน้อยเพียงใด และจะให้ความช่วยเหลือระยะแรกเท่าใดก่อน แล้วจะพิจารณาว่าต้องของบประมาณเสริมหรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะให้ช่วยเหลือ เอสเอ็มอีทั่วถึงมากขึ้น ซึ่งคงใช้เวลาอีกประมาณ 1 – 2 สัปดาห์ ก่อนนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
สำหรับ 3 มาตรการหลักของกระทรวงอุตสาหกรรมในการช่วยเหลือเอสเอ็มอี คือ การเสริมสร้างความเข้มแข็งเอสเอ็มอี การสร้างผู้ประกอบการใหม่เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมในสาขาธุรกิจอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์ และการปรับแผนธุรกิจและเพิ่มความเข้มแข็งสำหรับเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว