นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ แถลงผลการดำเนินงาน 8 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม - สิงหาคม 2558 ว่ามีกำไรสุทธิ 837 ล้านบาท โดยเดือนสิงหาคม มีกำไร 131 ล้านบาท จากการชำระเงินคืนของลูกหนี้เอ็นพีแอล ธนาคารฯ ปล่อยสินเชื่อรายใหม่ 20,198 ล้านบาท จำนวน 8,808 ราย ซึ่งเป็นลูกหนี้รายย่อยตามเป้าหมาย
ด้านสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ลดลง 4,950 ล้านบาท คงเหลือ 27,010 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.43 ของสินเชื่อรวม คาดว่าเดือนกันยายน เอ็นพีแอลจะลดลงได้อีก จากการขายลูกหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ ด้านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 4 มีผู้ประกอบการติดต่อขอสินเชื่อกว่า 11,650 ล้านบาท 2,494 ราย ธนาคารอนุมัติแล้ว 1,094 ล้านบาท จำนวน 343 ราย ด้านโครงการร่วมลงทุน เดิมตั้งเป้า 500 ล้านบาท โดยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ขยายวงเงินร่วมลงทุนเป็น 2,000 ล้านบาท ธนาคารฯ มั่นใจว่าในปี 2558 จะดำเนินการได้ตามกรอบวงเงิน 500 ล้าน และครบ 2,000 ล้านบาท ในปี 2559 จะสามารถดำเนินการได้ตามเป้า เนื่องจากมีภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมลงทุน ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือแล้ว 4 ราย โดยใน 2 ราย สามารถจัดทำแผนขยายธุรกิจเสร็จสิ้น และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมทุนของธนาคารแล้ว
นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับการทำพันธกิจหลักในการปล่อยสินเชื่อ การร่วมลงทุน และการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยสินเชื่อในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 5 เขต เพิ่มหน่วยงานด้านร่วมลงทุนและพัฒนาผู้ประกอบการ และเพิ่มหน่วยงานติดตามดูแลคุณภาพลูกหนี้ที่ค้ำประกัน โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยใช้วิธีโยกย้ายพนักงานด้านสนับสนุนไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด
ด้านสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ลดลง 4,950 ล้านบาท คงเหลือ 27,010 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 31.43 ของสินเชื่อรวม คาดว่าเดือนกันยายน เอ็นพีแอลจะลดลงได้อีก จากการขายลูกหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ ด้านโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 4 มีผู้ประกอบการติดต่อขอสินเชื่อกว่า 11,650 ล้านบาท 2,494 ราย ธนาคารอนุมัติแล้ว 1,094 ล้านบาท จำนวน 343 ราย ด้านโครงการร่วมลงทุน เดิมตั้งเป้า 500 ล้านบาท โดยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 กันยายน 2558 ให้ขยายวงเงินร่วมลงทุนเป็น 2,000 ล้านบาท ธนาคารฯ มั่นใจว่าในปี 2558 จะดำเนินการได้ตามกรอบวงเงิน 500 ล้าน และครบ 2,000 ล้านบาท ในปี 2559 จะสามารถดำเนินการได้ตามเป้า เนื่องจากมีภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมลงทุน ซึ่งได้ลงนามความร่วมมือแล้ว 4 ราย โดยใน 2 ราย สามารถจัดทำแผนขยายธุรกิจเสร็จสิ้น และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการร่วมทุนของธนาคารแล้ว
นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ เพื่อรองรับการทำพันธกิจหลักในการปล่อยสินเชื่อ การร่วมลงทุน และการพัฒนาผู้ประกอบการ โดยจัดตั้งศูนย์อำนวยสินเชื่อในเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 5 เขต เพิ่มหน่วยงานด้านร่วมลงทุนและพัฒนาผู้ประกอบการ และเพิ่มหน่วยงานติดตามดูแลคุณภาพลูกหนี้ที่ค้ำประกัน โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) โดยใช้วิธีโยกย้ายพนักงานด้านสนับสนุนไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัด