พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ว่า กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินมาตรการอย่างเข้มข้นในระดับกระทรวง จังหวัด และอำเภอ โดยเฉพาะระดับพื้นที่ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ บูรณาการความร่วมมือการแก้ไขปัญหาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยด้านการป้องกัน ได้จดทะเบียนแรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ในปี 2557 และในปี 2558 ได้เปิดให้มารายงานตัวใหม่อีกครั้ง จำนวน 1,050,068 ราย เพื่อผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวอีก 1 ปี รอการพิสูจน์สัญชาติต่อไป และเปิดต่ออายุและจดทะเบียนใหม่เฉพาะแรงงานประมงปี 2558 อีกจำนวน 80,418 ราย รวมถึงการดำเนินการให้สถานะที่ถูกต้องกับชนกลุ่มน้อยและบุคคลไร้สัญชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน
ด้านการสกัดกั้นและการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเข้าถึงเครือข่ายค้ามนุษย์ การรับแจ้งข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับทุกภาคส่วนและทุกระดับ ตั้งแต่ระบบการข่าว ระบบฐานข้อมูล และการปฏิบัติเพื่อสกัดกั้นการลำเลียงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทุกพื้นที่ ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการระดับตำบลมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่สำรวจตรวจสอบผู้หลบหนีเข้าเมืองหรือผู้ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายการค้ามนุษย์ในพื้นที่ของตนเอง และพัฒนากลไกการรับแจ้งข้อมูลเบาะแสผ่านเครือข่ายศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ
ส่วนด้านการปราบปราม กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษ โดยพนักงานฝ่ายปกครองสนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปราม จับกุม ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้มีการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานประมง แรงงานในโรงงาน สถานประกอบการ และการบังคับค้าประเวณีในสถานบริการ ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ รวมทั้งการนำคนมาขอทาน สามารถจับกุมผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์ส่งดำเนินคดีจำนวน 16 คดี ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้จำนวน 160 คน และลงพื้นตรวจสอบติดตามนายจ้าง สถานประกอบการ และสถานที่เสี่ยงอื่นๆ กว่า 5,758 แห่ง ตลอดจนการสนธิกำลังเข้าตรวจค้นพื้นที่ที่อาจเป็นพื้นที่พักพิงของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งพื้นที่ป่าเขา พื้นที่ชายแดนและเกาะแก่งต่างๆ โดยประสานกับ กอ.รมน.ภาค 4 และหน่วยกำลังในพื้นที่ดำเนินการแล้วใน 67 จังหวัด
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องทั้งด้านการป้องกัน การดำเนินคดี และการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยยึดหลักการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพ และการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลเพื่อให้ปัญหาการค้ามนุษย์หมดไปจากประเทศไทย
ด้านการสกัดกั้นและการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการเข้าถึงเครือข่ายค้ามนุษย์ การรับแจ้งข้อมูลข่าวสาร ประสานงานกับทุกภาคส่วนและทุกระดับ ตั้งแต่ระบบการข่าว ระบบฐานข้อมูล และการปฏิบัติเพื่อสกัดกั้นการลำเลียงคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองทุกพื้นที่ ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการระดับตำบลมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่สำรวจตรวจสอบผู้หลบหนีเข้าเมืองหรือผู้ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายการค้ามนุษย์ในพื้นที่ของตนเอง และพัฒนากลไกการรับแจ้งข้อมูลเบาะแสผ่านเครือข่ายศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดและอำเภอ
ส่วนด้านการปราบปราม กระทรวงมหาดไทยได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการพิเศษ โดยพนักงานฝ่ายปกครองสนธิกำลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการปราบปราม จับกุม ผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้มีการค้ามนุษย์ทุกรูปแบบ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง เช่น แรงงานประมง แรงงานในโรงงาน สถานประกอบการ และการบังคับค้าประเวณีในสถานบริการ ร้านอาหาร ร้านคาราโอเกะ รวมทั้งการนำคนมาขอทาน สามารถจับกุมผู้กระทำผิดฐานค้ามนุษย์ส่งดำเนินคดีจำนวน 16 คดี ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ได้จำนวน 160 คน และลงพื้นตรวจสอบติดตามนายจ้าง สถานประกอบการ และสถานที่เสี่ยงอื่นๆ กว่า 5,758 แห่ง ตลอดจนการสนธิกำลังเข้าตรวจค้นพื้นที่ที่อาจเป็นพื้นที่พักพิงของกลุ่มขบวนการค้ามนุษย์ ทั้งพื้นที่ป่าเขา พื้นที่ชายแดนและเกาะแก่งต่างๆ โดยประสานกับ กอ.รมน.ภาค 4 และหน่วยกำลังในพื้นที่ดำเนินการแล้วใน 67 จังหวัด
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานในสังกัด ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ และเจ้าหน้าที่ทุกระดับที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องทั้งด้านการป้องกัน การดำเนินคดี และการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะการทำงานเชิงพื้นที่เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยยึดหลักการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง มีประสิทธิภาพ และการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลเพื่อให้ปัญหาการค้ามนุษย์หมดไปจากประเทศไทย