สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดอ่อนแรงลงเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) เนื่องจากดอลลาร์แข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวมีเสถียรภาพ หลังมีการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใส
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ - COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดปรับลง 9.10 ดอลลาร์ ที่ 1,124.5 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดทองคำเผชิญแรงกดดัน หลังจากดอลลาร์ที่แข็งค่าและตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้สกัดความต้องการของนักลงทุนสำหรับสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) หลังจากมีการเปิดเผยว่ายอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลงในเดือนก.ค. ก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 ก.ย. ในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 23.38 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 16,374.76 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 2.27 จุด หรือ 0.12% ปิดที่ 1,951.13 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 16.48 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 4,733.50 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ปิดในแดนบวก โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่สดใส หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง 7.4% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 4.186 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศสำหรับรถยนต์และสินค้าด้านอุตสาหกรรมของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า สหรัฐจะขาดดุลการค้า 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค.
ขณะเดียวกัน บริษัทมาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้นสุดท้ายสำหรับภาคบริการของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.1 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 55.2 ขณะที่ปรับตัวขึ้นจากระดับ 55.7 ในเดือนก.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 56.0 โดยตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขาขึ้นของตลาดได้ถูกสกัดไว้ เนื่องจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 12,000 ราย สู่ระดับ 282,000 ราย โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งที่ 5 ในรอบ 6 สัปดาห์ และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ค. แม้ว่าตัวเลขล่าสุดยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 26 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) ขณะที่การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์กได้ช่วยหนุมมุมมองบวกของนักลงทุน และยังมีปัจจัยบวกจากท่าทีของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่พร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนต.ค.ปิดบวก 50 เซนต์ แตะที่ 46.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ปิดปรับขึ้น 18 เซนต์ ที่ 50.68 ดอลลาร์/บาร์เรล
ราคาน้ำมันปิดในแดนบวก หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับปัจจัยบวกหลังจากนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB ระบุเมื่อวานนี้ว่า ECB พร้อมที่จะเพิ่มการอัดฉีดเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.1 ล้านล้านยูโร (1.2 ล้านล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้ฟื้นตัวจากระดับต่ำไปสู่เป้าหมายที่ระดับใกล้ 2% และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การแสดงความเห็นของนายดรากีมีขึ้นหลังจากที่ ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.05% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ตามความคาดหมาย
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ - COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนธ.ค.ปิดปรับลง 9.10 ดอลลาร์ ที่ 1,124.5 ดอลลาร์/ออนซ์
ตลาดทองคำเผชิญแรงกดดัน หลังจากดอลลาร์ที่แข็งค่าและตลาดหุ้นที่ปรับตัวขึ้นได้สกัดความต้องการของนักลงทุนสำหรับสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
ด้านดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) หลังจากมีการเปิดเผยว่ายอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลงในเดือนก.ค. ก่อนที่จะมีการรายงานตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรในวันนี้
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 3 ก.ย. ในแดนบวก โดยดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 23.38 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 16,374.76 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 เพิ่มขึ้น 2.27 จุด หรือ 0.12% ปิดที่ 1,951.13 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 16.48 จุด หรือ 0.35% ปิดที่ 4,733.50 จุด
ดัชนีดาวโจนส์ปิดในแดนบวก โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐที่สดใส หลังกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลง 7.4% ในเดือนก.ค. เมื่อเทียบรายเดือน สู่ระดับ 4.186 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยได้รับอานิสงส์จากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นในต่างประเทศสำหรับรถยนต์และสินค้าด้านอุตสาหกรรมของสหรัฐ ขณะที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า สหรัฐจะขาดดุลการค้า 4.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ค.
ขณะเดียวกัน บริษัทมาร์กิต ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจข้อมูลทางการเงิน เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ขั้นสุดท้ายสำหรับภาคบริการของสหรัฐ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56.1 ในเดือนส.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. และสูงกว่าตัวเลขเบื้องต้นที่ระดับ 55.2 ขณะที่ปรับตัวขึ้นจากระดับ 55.7 ในเดือนก.ค. และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ที่ระดับ 56.0 โดยตัวเลขดังกล่าวบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่งในไตรมาส 3
อย่างไรก็ตาม การปรับตัวขาขึ้นของตลาดได้ถูกสกัดไว้ เนื่องจากกระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่แล้ว เพิ่มขึ้น 12,000 ราย สู่ระดับ 282,000 ราย โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นการปรับตัวขึ้นครั้งที่ 5 ในรอบ 6 สัปดาห์ และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือนก.ค. แม้ว่าตัวเลขล่าสุดยังคงต่ำกว่าระดับ 300,000 ราย เป็นสัปดาห์ที่ 26 ติดต่อกัน ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานยังคงมีความแข็งแกร่ง
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดเพิ่มขึ้นเมื่อคืนนี้ (3 ก.ย.) ขณะที่การปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นนิวยอร์กได้ช่วยหนุมมุมมองบวกของนักลงทุน และยังมีปัจจัยบวกจากท่าทีของธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่พร้อมจะกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนต.ค.ปิดบวก 50 เซนต์ แตะที่ 46.75 ดอลลาร์/บาร์เรล
ส่วนสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือนต.ค.ที่ตลาดลอนดอน ปิดปรับขึ้น 18 เซนต์ ที่ 50.68 ดอลลาร์/บาร์เรล
ราคาน้ำมันปิดในแดนบวก หลังจากตลาดหุ้นสหรัฐปรับตัวอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นมากขึ้นต่อการเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐ
นอกจากนี้ ตลาดน้ำมันยังได้รับปัจจัยบวกหลังจากนายมาริโอ ดรากี ประธาน ECB ระบุเมื่อวานนี้ว่า ECB พร้อมที่จะเพิ่มการอัดฉีดเงินในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจวงเงิน 1.1 ล้านล้านยูโร (1.2 ล้านล้านดอลลาร์) เพื่อกระตุ้นเงินเฟ้อให้ฟื้นตัวจากระดับต่ำไปสู่เป้าหมายที่ระดับใกล้ 2% และเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การแสดงความเห็นของนายดรากีมีขึ้นหลังจากที่ ECB มีมติคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับ 0.05% ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ตามความคาดหมาย