เศรษฐกิจญี่ปุ่นหดตัวในไตรมาสที่ผ่านมา ฟ้องว่าการเติบโตจากมาตรการ “อาเบะโนมิกส์” เริ่มสะดุด ขณะที่ภาวะการชะลอตัวของจีนซึ่งส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านในเอเชีย ทำให้มีแนวโน้มว่า จีดีพีแดนปลาดิบจะไม่ฟื้นตัวง่ายๆ และยังกระตุ้นให้มีการคาดการณ์อย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลอาจถูกบีบให้ออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติม
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ติดลบ 0.4% หรือ 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว สืบเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายและการส่งออกซบเซา
อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่สำนักคณะรัฐมนตรีเปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ (17 ส.ค.) ถือว่า ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย โดยตลาดคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ผ่านมาลดลง 0.5% หรือ 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2014
ทั้งนี้ การบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของจีดีพี ลดลง 0.8% จากไตรมาสแรก ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาอันเป็นผลจากการขึ้นภาษีการขาย ขณะที่ยอดส่งออกลดลง 4.4%
เอสเอ็มบีซี นิกโก ซีเคียวริตี้ส แสดงความเห็นว่า จีดีพีที่ร่วงแรงหลังเติบโตอย่างน่าประหลาดใจในช่วงไตรมาสก่อนหน้าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่อุปสงค์สินค้าญี่ปุ่นในอเมริกา จีน และตลาดอื่นๆ ซบเซาลง ขณะที่ค่าแรงแทบไม่มีการปรับตัว ประกอบกับสภาพอากาศเลวร้ายที่ช่วยกันฉุดอุปสงค์ในประเทศ
เศรษฐกิจขาลงครั้งล่าสุดมีขึ้นหลังการเติบโตเกินคาดในไตรมาสแรก เนื่องจากมีการใช้จ่ายเงินทุนมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจญี่ปุ่นรายงานผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ
เศรษฐกิจขาลงครั้งนี้สะท้อนว่า การเติบโตของญี่ปุ่นเริ่มหยุดชะงักอีกครั้ง และกดดันให้บรรดาผู้วางนโยบายต้องคิดหามาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังเพิ่มเติมภายในปลายปีนี้ นอกจากนั้น ยังฟ้องว่า มาตรการ “อาเบะโนมิกส์” ที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ริเริ่มผลักดันเมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งประกอบด้วยมาตรการใช้จ่ายของรัฐ และการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เริ่มหมดฤทธิ์
เศรษฐกิจญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ติดลบ 0.4% หรือ 1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว สืบเนื่องจากผู้บริโภคชะลอการใช้จ่ายและการส่งออกซบเซา
อย่างไรก็ดี ตัวเลขที่สำนักคณะรัฐมนตรีเปิดเผยออกมาเมื่อวันจันทร์ (17 ส.ค.) ถือว่า ดีกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย โดยตลาดคาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาสที่ผ่านมาลดลง 0.5% หรือ 1.8% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2014
ทั้งนี้ การบริโภคในภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 60% ของจีดีพี ลดลง 0.8% จากไตรมาสแรก ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งแรกนับจากไตรมาส 2 ของปีที่ผ่านมาอันเป็นผลจากการขึ้นภาษีการขาย ขณะที่ยอดส่งออกลดลง 4.4%
เอสเอ็มบีซี นิกโก ซีเคียวริตี้ส แสดงความเห็นว่า จีดีพีที่ร่วงแรงหลังเติบโตอย่างน่าประหลาดใจในช่วงไตรมาสก่อนหน้าส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่อุปสงค์สินค้าญี่ปุ่นในอเมริกา จีน และตลาดอื่นๆ ซบเซาลง ขณะที่ค่าแรงแทบไม่มีการปรับตัว ประกอบกับสภาพอากาศเลวร้ายที่ช่วยกันฉุดอุปสงค์ในประเทศ
เศรษฐกิจขาลงครั้งล่าสุดมีขึ้นหลังการเติบโตเกินคาดในไตรมาสแรก เนื่องจากมีการใช้จ่ายเงินทุนมากขึ้น ขณะที่ธุรกิจญี่ปุ่นรายงานผลกำไรเป็นกอบเป็นกำ
เศรษฐกิจขาลงครั้งนี้สะท้อนว่า การเติบโตของญี่ปุ่นเริ่มหยุดชะงักอีกครั้ง และกดดันให้บรรดาผู้วางนโยบายต้องคิดหามาตรการกระตุ้นทางการเงินและการคลังเพิ่มเติมภายในปลายปีนี้ นอกจากนั้น ยังฟ้องว่า มาตรการ “อาเบะโนมิกส์” ที่นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ริเริ่มผลักดันเมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งประกอบด้วยมาตรการใช้จ่ายของรัฐ และการผ่อนคลายทางการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (บีโอเจ) เริ่มหมดฤทธิ์