นายวัลลภ เตชะไพบูลย์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เปิดเผยว่า บสย.พร้อมดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีตามนโยบายรัฐบาล ระยะที่ 5 (PGS5) ที่มีการปรับปรุงใหม่ วงเงิน 80,000 ล้านบาททันที ซึ่งผู้ประกอบการสามารถยื่นคำขอได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 สำหรับโครงการ PGS5 ปรับปรุงใหม่ บสย.จะรับผิดชอบการค้ำประกันที่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ให้ธนาคารเพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 30 ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้มากขึ้น
ขณะที่ผลการดำเนินงานของ บสย.ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2558 (ม.ค.-ก.ค.) สามารถค้ำประกันสินเชื่อรายย่อย วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท สูงถึง 15,658 ราย มากกว่าจำนวนผู้ประกอบการรายย่อยที่เคยค้ำประกัน โดยสิ้นปี 2557 มีจำนวน 9,271 ราย คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 170 ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยผ่านสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน พร้อมเตรียมหารือกระทรวงการคลัง เพื่อขอต่ออายุโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยต่ออีก 1-3 ปี ซึ่งปัจจุบันมีวงเงินค้ำประกันเหลือประมาณ 3,500 ล้านบาท โดยเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ขอใช้บริการค้ำประกันสินเชื่อต่อเดือนมากที่สุดตั้งแต่มีการค้ำประกันสินเชื่อในรอบ 24 ปี คือ 7,214 ราย
นอกจากนี้ บสย.ยังเตรียมหารือกระทรวงการคลังให้มีการพิจารณาวงเงินค้ำประกันโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการโอทอป และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งยังเหลือวงเงินอีก 9,000 ล้านบาท มาใช้ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการอื่นๆ ตามนโยบายของภาครัฐ เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการและตามนโยบายของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน บสย.ได้เปิดบริการ "คลินิกค้ำประกันสินเชื่อออนไลน์" เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากที่สุด โดยเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.tcg.or.th เพื่อขอรับคำปรึกษาด้านสินเชื่อ ซึ่ง บสย.จะทำหน้าที่ประสานการทำงานร่วมกับธนาคารต่างๆ โดยคาดว่าจะส่งผลให้เป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อปี 2558 อยู่ที่ประมาณ 75,000 ล้านบาท
ขณะที่ผลการดำเนินงานของ บสย.ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2558 (ม.ค.-ก.ค.) สามารถค้ำประกันสินเชื่อรายย่อย วงเงินไม่เกิน 200,000 บาท สูงถึง 15,658 ราย มากกว่าจำนวนผู้ประกอบการรายย่อยที่เคยค้ำประกัน โดยสิ้นปี 2557 มีจำนวน 9,271 ราย คิดเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 170 ซึ่งเป็นผลจากการผลักดันการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยผ่านสถาบันการเงินของรัฐและเอกชน พร้อมเตรียมหารือกระทรวงการคลัง เพื่อขอต่ออายุโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการรายย่อยต่ออีก 1-3 ปี ซึ่งปัจจุบันมีวงเงินค้ำประกันเหลือประมาณ 3,500 ล้านบาท โดยเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ขอใช้บริการค้ำประกันสินเชื่อต่อเดือนมากที่สุดตั้งแต่มีการค้ำประกันสินเชื่อในรอบ 24 ปี คือ 7,214 ราย
นอกจากนี้ บสย.ยังเตรียมหารือกระทรวงการคลังให้มีการพิจารณาวงเงินค้ำประกันโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการโอทอป และวิสาหกิจชุมชน ซึ่งยังเหลือวงเงินอีก 9,000 ล้านบาท มาใช้ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการอื่นๆ ตามนโยบายของภาครัฐ เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อของผู้ประกอบการและตามนโยบายของรัฐบาล
ขณะเดียวกัน บสย.ได้เปิดบริการ "คลินิกค้ำประกันสินเชื่อออนไลน์" เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากที่สุด โดยเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีลงทะเบียนในเว็บไซต์ www.tcg.or.th เพื่อขอรับคำปรึกษาด้านสินเชื่อ ซึ่ง บสย.จะทำหน้าที่ประสานการทำงานร่วมกับธนาคารต่างๆ โดยคาดว่าจะส่งผลให้เป้าหมายการค้ำประกันสินเชื่อปี 2558 อยู่ที่ประมาณ 75,000 ล้านบาท