นายกังวาฬ ดีสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำกรุงเทพมหานคร (กทม.)กล่าวว่า ปัจจุบันกทม.มีอุโมงค์ระบายน้ำ 7 แห่ง มีความยาวรวม 19 กิโลเมตร มีประสิทธิภาพระบายน้ำ 155.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ โดยเริ่มดำเนินการเมื่อปลายปี 2557 กำหนดแล้วเสร็จกลางปี 2559 ขณะนี้งานมีความคืบหน้าร้อยละ 40 ภาพรวมถือว่างานล่าช้าไปกว่าร้อยละ 10 เนื่องจากติดปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดิน
นอกจากนี้ กำลังดำเนินการเริ่มก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน เพื่อผันน้ำฝั่งตะวันออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วขึ้นโดยจะเริ่มประกวดราคาในเดือนกันยายน
สำหรับแผนก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำดอนเมือง เพื่อช่วยผันน้ำจากคลอง 2 และคลองเปรมประชากร ซึ่งถือเป็นคลองที่รับน้ำเหนือโดยตรง เพื่อออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 7 ให้เร็วขึ้นซึ่ง ติดปัญหาไม่มีพื้นที่ก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่ปลายอุโมงค์ เพื่อผันน้ำออกแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตามแผน กทม.จะสร้างบริเวณใต้สะพานพระราม 7 เป็นพื้นที่ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) แต่ทาง ทช.ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่โดยระบุว่า เป็นที่เวนคืน ต่อมา กทม.ก็ได้เล็งพื้นที่ของรัฐวิสาหกิจของรัฐแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าได้ ขายไปแล้ว
ดังนั้นโครงการนี้จึงชะลอ เพื่อหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่ปลายอุโมงค์ให้ได้ก่อน ซึ่งยอมรับว่า แทบไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสมจะก่อสร้างได้เลย ทั้งนี้อุโมงค์ระบายน้ำดอนเมืองสร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้านบน อาทิ เขตดอนเมืองสายไหม จตุจักร หลักสี่
นอกจากนี้ กำลังดำเนินการเริ่มก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน เพื่อผันน้ำฝั่งตะวันออกลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วขึ้นโดยจะเริ่มประกวดราคาในเดือนกันยายน
สำหรับแผนก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำดอนเมือง เพื่อช่วยผันน้ำจากคลอง 2 และคลองเปรมประชากร ซึ่งถือเป็นคลองที่รับน้ำเหนือโดยตรง เพื่อออกแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระราม 7 ให้เร็วขึ้นซึ่ง ติดปัญหาไม่มีพื้นที่ก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่ปลายอุโมงค์ เพื่อผันน้ำออกแม่น้ำเจ้าพระยาโดยตามแผน กทม.จะสร้างบริเวณใต้สะพานพระราม 7 เป็นพื้นที่ของกรมทางหลวงชนบท (ทช.) แต่ทาง ทช.ไม่อนุญาตให้ใช้พื้นที่โดยระบุว่า เป็นที่เวนคืน ต่อมา กทม.ก็ได้เล็งพื้นที่ของรัฐวิสาหกิจของรัฐแห่งหนึ่ง แต่ปรากฏว่าได้ ขายไปแล้ว
ดังนั้นโครงการนี้จึงชะลอ เพื่อหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีสูบน้ำที่ปลายอุโมงค์ให้ได้ก่อน ซึ่งยอมรับว่า แทบไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสมจะก่อสร้างได้เลย ทั้งนี้อุโมงค์ระบายน้ำดอนเมืองสร้างขึ้นเพื่อช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่กรุงเทพฯ ด้านบน อาทิ เขตดอนเมืองสายไหม จตุจักร หลักสี่