สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (เอ็นบีเอส) เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภค (ซีพีไอ) เดือนกรกฎาคม ว่า มีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่าเดือนมิถุนายน ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.4
ขณะเดียวกัน ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนราคาสินค้าหน้าประตูโรงงาน และเป็นตัวชี้วัดดัชนีซีพีไอ พบว่า ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 โดยปรับลดลงร้อยละ 5.4 ในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อในระดับกลางนี้ ส่งผลดีต่อการบริโภคของจีน เนื่องจากจะผลักดันให้ผู้บริโภคซื้อสิ่งของมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับกรณีที่ราคาสินค้าปรับตัวลง หรือภาวะเงินฝืดที่จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้า เพราะคาดหวังว่าราคาสินค้าจะถูกลงอีก และจะส่งผลให้บริษัททั้งหลายต้องชะลอการลงทุน จนกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในที่สุด
ทั้งนี้ การชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ซึ่งปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ช่วยควบคุมการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อจีน
ขณะเดียวกัน ตัวเลขดัชนีราคาผู้ผลิต (พีพีไอ) ซึ่งเป็นมาตรวัดต้นทุนราคาสินค้าหน้าประตูโรงงาน และเป็นตัวชี้วัดดัชนีซีพีไอ พบว่า ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 41 โดยปรับลดลงร้อยละ 5.4 ในเดือนกรกฎาคม อัตราเงินเฟ้อในระดับกลางนี้ ส่งผลดีต่อการบริโภคของจีน เนื่องจากจะผลักดันให้ผู้บริโภคซื้อสิ่งของมากขึ้น ซึ่งสวนทางกับกรณีที่ราคาสินค้าปรับตัวลง หรือภาวะเงินฝืดที่จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้า เพราะคาดหวังว่าราคาสินค้าจะถูกลงอีก และจะส่งผลให้บริษัททั้งหลายต้องชะลอการลงทุน จนกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในที่สุด
ทั้งนี้ การชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจ และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น น้ำมัน ซึ่งปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลานี้ช่วยควบคุมการขยายตัวของอัตราเงินเฟ้อจีน