ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. วันนี้ (6 ส.ค.) มี นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธาน สนช.เป็นประธานการประชุม เพื่อดำเนินกระบวนการถอดถอนอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) 248 คน จากฐานความผิดแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปี 2550 ประเด็นที่มาของวุฒิสมาชิก (ส.ว.) โดยมิชอบ
สำหรับกระบวนการวันนี้เป็นขั้นตอนการนัดซักถาม และมีเพียง 1 คำถามจากสมาชิก สนช.ที่ถามคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะผู้กล่าวหา แต่ไม่ตั้งคำถามอดีต ส.ส.ในฐานะผู้ถูกร้อง โดยนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้แจง ขณะที่อดีต ส.ส.ได้ส่งตัวแทน 13 คน นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ นายสามารถ แก้วมีชัย แกนนำพรรคเพื่อไทย เข้าร่วมฟังการซักถาม
ทั้งนี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ กรรมการซักถาม ได้ซักถามแทน พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์ สนช.ว่า มั่นใจในคุณสมบัติของนายภักดี โพธิศิริ ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช.หรือไม่
นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า คำกล่าวดังกล่าวเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองมากกว่าข้อกฎหมาย แต่เพื่อคลายความสงสัย ขอชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้ยื่นถอดถอนนายภักดี ต่อวุฒิสภาแล้ว ด้วยข้อกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติเข้ามาเป็น ป.ป.ช.ในขณะที่ยังเป็นกรรมการบริษัทเอกชน แต่วุฒิสภามีมติไม่ถอดถอนนายภักดี และ สนช.ซึ่งทำหน้าที่วุฒิสภาได้ยืนยันสถานะการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ของนายภักดี
นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย ยังยื่นฟ้องนายภักดี ในประเด็นเดียวกัน ซึ่งศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยยกฟ้อง ซึ่งในคำวินิจฉัยระบุชัดว่า นายภักดี มีสถานะเป็น ป.ป.ช. ดังนั้น ยืนยันว่า ในทางกฎหมายถือว่านายภักดี มีสถานะเป็น ป.ป.ช.อย่างไร้ข้อสงสัย นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ไม่พบว่าก่อนวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่นายภักดี รับตำแหน่ง และซุกในตำแหน่งกรรมการบริษัทใด แต่ที่ไปติดต่อกับบริษัท ไปในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
จากนั้น ที่ประชุมได้กำหนดวันแถลงปิดในวันที่ 13 สิงหาคม และลงมติในวันที่ 14 สิงหาคม โดยการลงมติถอดถอนจะลงมติตามฐานความผิด ซึ่งแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 อดีต ส.ส. 237 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และลงมติทั้ง 3 วาระ กลุ่ม 2 อดีต ส.ส. 1 คน ไม่ลงมติวาระ 3 อาจลงมติรวมกับกลุ่ม 3 คือ กลุ่มอดีต ส.ส. 10 คน ไม่ลงมติวาระ 2 โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 116
สำหรับกระบวนการวันนี้เป็นขั้นตอนการนัดซักถาม และมีเพียง 1 คำถามจากสมาชิก สนช.ที่ถามคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะผู้กล่าวหา แต่ไม่ตั้งคำถามอดีต ส.ส.ในฐานะผู้ถูกร้อง โดยนายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.เป็นผู้ชี้แจง ขณะที่อดีต ส.ส.ได้ส่งตัวแทน 13 คน นำโดย พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ นายสามารถ แก้วมีชัย แกนนำพรรคเพื่อไทย เข้าร่วมฟังการซักถาม
ทั้งนี้ นายยุทธนา ทัพเจริญ กรรมการซักถาม ได้ซักถามแทน พล.ท.อดุลยเดช อินทะพงษ์ สนช.ว่า มั่นใจในคุณสมบัติของนายภักดี โพธิศิริ ในฐานะกรรมการ ป.ป.ช.หรือไม่
นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.กล่าวว่า คำกล่าวดังกล่าวเป็นเพียงวาทกรรมทางการเมืองมากกว่าข้อกฎหมาย แต่เพื่อคลายความสงสัย ขอชี้แจงว่า ที่ผ่านมาได้ยื่นถอดถอนนายภักดี ต่อวุฒิสภาแล้ว ด้วยข้อกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติเข้ามาเป็น ป.ป.ช.ในขณะที่ยังเป็นกรรมการบริษัทเอกชน แต่วุฒิสภามีมติไม่ถอดถอนนายภักดี และ สนช.ซึ่งทำหน้าที่วุฒิสภาได้ยืนยันสถานะการเป็นกรรมการ ป.ป.ช.ของนายภักดี
นอกจากนี้ นายสุรพงษ์ โตวิจักษ์ชัยกุล แกนนำพรรคเพื่อไทย ยังยื่นฟ้องนายภักดี ในประเด็นเดียวกัน ซึ่งศาลอาญาไต่สวนมูลฟ้องและวินิจฉัยยกฟ้อง ซึ่งในคำวินิจฉัยระบุชัดว่า นายภักดี มีสถานะเป็น ป.ป.ช. ดังนั้น ยืนยันว่า ในทางกฎหมายถือว่านายภักดี มีสถานะเป็น ป.ป.ช.อย่างไร้ข้อสงสัย นอกจากนี้ ป.ป.ช.ยังตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ไม่พบว่าก่อนวันที่ 6 ตุลาคม 2549 ซึ่งเป็นวันที่นายภักดี รับตำแหน่ง และซุกในตำแหน่งกรรมการบริษัทใด แต่ที่ไปติดต่อกับบริษัท ไปในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา
จากนั้น ที่ประชุมได้กำหนดวันแถลงปิดในวันที่ 13 สิงหาคม และลงมติในวันที่ 14 สิงหาคม โดยการลงมติถอดถอนจะลงมติตามฐานความผิด ซึ่งแบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 อดีต ส.ส. 237 คน ที่ร่วมลงชื่อแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ และลงมติทั้ง 3 วาระ กลุ่ม 2 อดีต ส.ส. 1 คน ไม่ลงมติวาระ 3 อาจลงมติรวมกับกลุ่ม 3 คือ กลุ่มอดีต ส.ส. 10 คน ไม่ลงมติวาระ 2 โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 116