นางสาวจริยา จิราธิวัฒน์ ประธานสมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมค้าปลีกค้าส่งไทยปี 2558 คาดจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 โดยครึ่งปีหลังภาคค้าปลีกยังไม่มีสัญญาณการค้าที่สดใสเท่าที่ควร เพราะมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายด้านทั้งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขณะเดียวกันระดับหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้กำลังซื้อของผู้มีรายได้ระดับกลางถึงล่างลดลง ขณะที่ภัยแล้งก็มีส่วนที่อาจจะฉุดกำลังซื้อโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตรให้ลดลงตามไปด้วย
ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย เห็นว่า ภาครัฐควรสร้างบรรยากาศการซื้อขาย กระตุ้นการท่องเที่ยวและบริการ ให้ผู้ที่มีรายได้ระดับกลางถึงบนใช้จ่ายภาคการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น พร้อมพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มแฟชั่นชั้นนำ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เพิ่มขึ้น
ส่วนกระแสการปรับคณะรัฐมนตรีนั้น เห็นว่าถ้าไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหันจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกอย่างแน่นอน
สำหรับภาพรวมดัชนีอุตสาหกรรมผู้ค้าปลีกไทยครึ่งปีแรกของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เป็นผลจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย ส่งผลให้สินค้าหมวดคงทน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เติบโตร้อยละ 2.7 สินค้ากึ่งคงทน เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ เติบโตร้อยละ 3 และสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร เติบโตร้อยละ 2.8 สะท้อนถึงกำลังซื้อในผู้บริโภคระดับรายได้ต่ำและเกษตรกรที่ยังไม่ฟื้นตัว และหนี้สินของครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์สูง
ส่วนการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีแรกยังขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่องทุกประเภท คอนวิเนียนสโตร์ขยายตัวร้อยละ 2.8 ซูเปอร์มาร์เก็ตขยายตัวร้อยละ 8.5 ซูเปอร์เซ็นเตอร์ขยายตัวร้อยละ 1.8 ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ขยายตัวร้อยละ 3 และกลุ่มร้านค้าเฉพาะทางขยายตัวร้อยละ 2.7
ทั้งนี้ สมาคมผู้ค้าปลีกแห่งประเทศไทย เห็นว่า ภาครัฐควรสร้างบรรยากาศการซื้อขาย กระตุ้นการท่องเที่ยวและบริการ ให้ผู้ที่มีรายได้ระดับกลางถึงบนใช้จ่ายภาคการท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น พร้อมพิจารณาลดภาษีนำเข้าสินค้าในกลุ่มแฟชั่นชั้นนำ เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เพิ่มขึ้น
ส่วนกระแสการปรับคณะรัฐมนตรีนั้น เห็นว่าถ้าไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบกะทันหันจะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกอย่างแน่นอน
สำหรับภาพรวมดัชนีอุตสาหกรรมผู้ค้าปลีกไทยครึ่งปีแรกของปี 2558 ขยายตัวร้อยละ 2.8 เป็นผลจากปัจจัยลบทั้งภายในและภายนอกประเทศ ทำให้ประชาชนชะลอการจับจ่ายใช้สอย ส่งผลให้สินค้าหมวดคงทน เช่น วัสดุก่อสร้าง เครื่องใช้ไฟฟ้า เติบโตร้อยละ 2.7 สินค้ากึ่งคงทน เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ เติบโตร้อยละ 3 และสินค้าไม่คงทน เช่น อาหาร เติบโตร้อยละ 2.8 สะท้อนถึงกำลังซื้อในผู้บริโภคระดับรายได้ต่ำและเกษตรกรที่ยังไม่ฟื้นตัว และหนี้สินของครัวเรือนยังอยู่ในเกณฑ์สูง
ส่วนการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกครึ่งปีแรกยังขยายสาขาได้อย่างต่อเนื่องทุกประเภท คอนวิเนียนสโตร์ขยายตัวร้อยละ 2.8 ซูเปอร์มาร์เก็ตขยายตัวร้อยละ 8.5 ซูเปอร์เซ็นเตอร์ขยายตัวร้อยละ 1.8 ดีพาร์ตเมนต์สโตร์ขยายตัวร้อยละ 3 และกลุ่มร้านค้าเฉพาะทางขยายตัวร้อยละ 2.7