ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงกรณีที่จะมีการบวกเพิ่มเวลา 1 วินาที ในเวลา 7 นาฬิกาของวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 นี้ว่า การปรับเวลา เกิดจากความแตกต่างระหว่างเวลาสุริยะ ซึ่งใช้เวลาที่โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ กับเวลามาตรฐานจากนาฬิกาอะตอม ซึ่งติดตั้งตามหน่วยงานกำกับมาตรฐานเวลาจากทั่วโลก เมื่อเวลาทั้งสองมีความแตกต่างกันเกินกว่า 0.9 วินาที จะต้องปรับนาฬิกาทั่วโลกให้ตรงกัน ซึ่งการเพิ่มเวลา 1 วินาทีนี้ เรียกว่า อธิกวินาที พร้อมให้ความมั่นใจกับภาคประชาชนและภาคธุรกิจในการรับการถ่ายทอดเวลาที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ตามมาตรฐานสากล และไม่กระทบกับการใช้ชีวิตของประชาชน
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า หน่วยงานสากลที่รับผิดชอบเวลาสุริยะและเวลามาตรฐานจากนาฬิกาอะตอม คือ International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) ทำหน้าที่รักษาเวลาสุริยะ และสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (Bureau International des Poids et Measure : BIPM) ประเทศฝรั่งเศส ทำหน้าที่รักษาเวลานาฬิกาอะตอม ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(มว.) เป็นสมาชิกของเครือข่ายการรักษาเวลามาตรฐานโลก ซึ่งการรักษาเวลานี้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ด้านการชั่ง ตวง วัด ที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถตรวจสอบกลับได้ ไปสู่มาตรฐานการวัดสากล รวมถึงการสอบเทียบ ปรับตั้งความถูกต้องของเครื่องมือและอุปกรณ์การวัดต่างๆ ที่ใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
"การปรับเพิ่มเวลา 1 วินาทีจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนรวมถึงภาคธุรกิจ และนับว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่มีการเพิ่มเวลาในช่วงที่ยังไม่ใช่เวลาทำการของของประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่จะเริ่มประมาณ 08.00 เป็นต้นไป ซึ่งในเบื้องต้นจะไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากหรือความสับสนในช่วงของการปรับเปลี่ยนเวลานี้เลย" ดร.พิเชฐ กล่าว
รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การหมุนช้าลงของโลกมีมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด ก็คือแรงเสียดทานที่เกิดจากแรงน้ำขึ้นน้ำลง อันเป็นผลมาจากแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ และการหมุนของโลก ถึงแม้ว่าบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์ที่สุดควรจะมีน้ำขึ้นสูงสุดแต่ด้วยการหมุนของโลกทำให้ตำแหน่งน้ำขึ้นสูงสุดอยู่ห่างจากบริเวณที่ใกล้ดวงจันทร์ที่สุดไปบ้างเล็กน้อย แรงดึงดูดของดวงจันทร์บริเวณนี้ฉุดมวลน้ำไว้ในทิศทางสวนกับการหมุนของโลก ทำให้โลกหมุนช้าลง และเป็นผลให้ดวงจันทร์ถอยห่างออกไปเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์ยืนยันปรากฎการณ์นี้ด้วยการยิงแสงเลเซอร์เพื่อวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ พบว่า ดวงจันทร์ถอยห่างออกไปจากโลกปีละประมาณ 3.8 เซนติเมตร เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
"ทั้งนี้ ยังมีปรากฎการณ์ธรรมชาติอื่นๆ ที่มีผลให้โลกหมุนช้าลง เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก การโคจรของดวงจันทร์ เป็นต้น" ผอ.สดร.กล่าว
นายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการ มว.กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยโลกจะหมุนช้าลงประมาณ 1 ใน 1,000 วินาที ทำให้ในแต่ละปี (365 วัน) โลกจะหมุนช้าลง 3 ใน 10 ของวินาที โดยตามมาตรฐานสากลหากเวลาช้าลงสะสมกันเกิน 9 ใน 10 ของวินาที จะต้องมีการปรับเพิ่มเวลาให้กับนาฬิกา 1 วินาที ซึ่งในปีนี้ มว.ในฐานะผู้รับผิดชอบการวัดเวลามาตรฐานของประเทศไทย และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายของการรักษาเวลามาตรฐานของโลก จะเพิ่มเวลามาตรฐานของประเทศไทยพร้อมกับนานาประเทศ โดยใช้นาฬิกาอะตอมซึ่งมีความถูกต้องและแม่นยำสูงมาก ติดตั้งและรักษาอยู่ที่ มว. เทคโนธานี รังสิตคลอง 5 จ.ปทุมธานี โดยเพิ่มเวลาที่วินาทีที่ 60 ในช่วงเวลา 7 โมงเช้าของวันที่ 1 กรกฎาคม นาฬิกาของประเทศไทย จะเดินเป็น 6:59:59,6:59:60 และต่อด้วย 7:00:00 (จากเดิม 6:59:59 และต่อด้วย 7:00:00)
รมว.วิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่า หน่วยงานสากลที่รับผิดชอบเวลาสุริยะและเวลามาตรฐานจากนาฬิกาอะตอม คือ International Earth Rotation and Reference Systems Service (IERS) ทำหน้าที่รักษาเวลาสุริยะ และสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (Bureau International des Poids et Measure : BIPM) ประเทศฝรั่งเศส ทำหน้าที่รักษาเวลานาฬิกาอะตอม ซึ่งในประเทศไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ(มว.) เป็นสมาชิกของเครือข่ายการรักษาเวลามาตรฐานโลก ซึ่งการรักษาเวลานี้เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจของกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ด้านการชั่ง ตวง วัด ที่ถูกต้องแม่นยำ สามารถตรวจสอบกลับได้ ไปสู่มาตรฐานการวัดสากล รวมถึงการสอบเทียบ ปรับตั้งความถูกต้องของเครื่องมือและอุปกรณ์การวัดต่างๆ ที่ใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม
"การปรับเพิ่มเวลา 1 วินาทีจะไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชนรวมถึงภาคธุรกิจ และนับว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทยที่มีการเพิ่มเวลาในช่วงที่ยังไม่ใช่เวลาทำการของของประเทศไทย ที่ส่วนใหญ่จะเริ่มประมาณ 08.00 เป็นต้นไป ซึ่งในเบื้องต้นจะไม่ทำให้เกิดความยุ่งยากหรือความสับสนในช่วงของการปรับเปลี่ยนเวลานี้เลย" ดร.พิเชฐ กล่าว
รองศาสตราจารย์บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การหมุนช้าลงของโลกมีมาจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุด ก็คือแรงเสียดทานที่เกิดจากแรงน้ำขึ้นน้ำลง อันเป็นผลมาจากแรงดึงดูดระหว่างโลกกับดวงจันทร์ และการหมุนของโลก ถึงแม้ว่าบริเวณที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์ที่สุดควรจะมีน้ำขึ้นสูงสุดแต่ด้วยการหมุนของโลกทำให้ตำแหน่งน้ำขึ้นสูงสุดอยู่ห่างจากบริเวณที่ใกล้ดวงจันทร์ที่สุดไปบ้างเล็กน้อย แรงดึงดูดของดวงจันทร์บริเวณนี้ฉุดมวลน้ำไว้ในทิศทางสวนกับการหมุนของโลก ทำให้โลกหมุนช้าลง และเป็นผลให้ดวงจันทร์ถอยห่างออกไปเรื่อยๆ นักวิทยาศาสตร์ยืนยันปรากฎการณ์นี้ด้วยการยิงแสงเลเซอร์เพื่อวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงจันทร์ พบว่า ดวงจันทร์ถอยห่างออกไปจากโลกปีละประมาณ 3.8 เซนติเมตร เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
"ทั้งนี้ ยังมีปรากฎการณ์ธรรมชาติอื่นๆ ที่มีผลให้โลกหมุนช้าลง เช่น การเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลก แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด การละลายของน้ำแข็งทั่วโลก การโคจรของดวงจันทร์ เป็นต้น" ผอ.สดร.กล่าว
นายประยูร เชี่ยววัฒนา ผู้อำนวยการ มว.กล่าวว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาโดยเฉลี่ยโลกจะหมุนช้าลงประมาณ 1 ใน 1,000 วินาที ทำให้ในแต่ละปี (365 วัน) โลกจะหมุนช้าลง 3 ใน 10 ของวินาที โดยตามมาตรฐานสากลหากเวลาช้าลงสะสมกันเกิน 9 ใน 10 ของวินาที จะต้องมีการปรับเพิ่มเวลาให้กับนาฬิกา 1 วินาที ซึ่งในปีนี้ มว.ในฐานะผู้รับผิดชอบการวัดเวลามาตรฐานของประเทศไทย และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายของการรักษาเวลามาตรฐานของโลก จะเพิ่มเวลามาตรฐานของประเทศไทยพร้อมกับนานาประเทศ โดยใช้นาฬิกาอะตอมซึ่งมีความถูกต้องและแม่นยำสูงมาก ติดตั้งและรักษาอยู่ที่ มว. เทคโนธานี รังสิตคลอง 5 จ.ปทุมธานี โดยเพิ่มเวลาที่วินาทีที่ 60 ในช่วงเวลา 7 โมงเช้าของวันที่ 1 กรกฎาคม นาฬิกาของประเทศไทย จะเดินเป็น 6:59:59,6:59:60 และต่อด้วย 7:00:00 (จากเดิม 6:59:59 และต่อด้วย 7:00:00)