บรรยากาศที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ภายในสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ช่วงเย็นที่ผ่านมา เป็นไปอย่างคึกคัก โดยเมื่อเวลา 18.57 น. ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสาตร์และเทคโนโลยี รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการ สดร. สื่อมวลชน และประชาชนเป็นจำนวนมาก ได้ร่วมกันชมปรากกฎการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงด้วยตาเปล่า ซึ่งนับเป็นความโชคดีที่ท้องฟ้าเปิดสามารถมองเห็นดวงจันทร์สีแดงอิฐได้ชัดเจน
วันนี้ สดร.ได้จัดเตรียมกล้องโทรทรรศน์ ขนาดต่าง ๆ จำนวนกว่า 40 กล้อง ซึ่งเป็นการตั้งกล้องโทรทรรศน์เพื่อสังเกตการณ์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ สดร. ยังร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายตั้งจุดสังเกตปรากฏการณ์ อีก 3 แห่งคือที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา ตลอดช่วงที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เวลา 18.57 – 19.02 น.ประมาณ 5 นาทีนั้น ช่างภาพและประชาชนที่สนใจต่างก็บันทึกภาพดวงจันทร์กันอย่างคึกคัก
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา กล่าวว่า ปรากฎการณ์จันทรุปราคาแบบเต็มดวงในครั้งนี้ สามารถสังเกตได้เกือบทุกพื้นที่ของเอเชีย ตะวันออก รวมถึงทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก พร้อมทั้งยืนยันว่า ปรากฎการณ์ในครั้งนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลก หรือส่งผลต่อภัยพิบัติใด ๆ เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สามารถใช้วิทยาศาสตร์อธิบายได้ และทำนายได้ล่วงหน้านับพันปี
สำหรับที่หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บนวนอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย จ.เชียงใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีนักท่องเที่ยว กลุ่มนักเรียน นักศึกษา จำนวนมากเดินทางขึ้นไปรอชมปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของประเทศไทยที่จะมองเห็นได้ในปีนี้ โดยทางเจ้าหน้าที่และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ตั้งกล้องดูดาวไว้จำนวนกว่า 10 ตัว เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงามของจันทรุปราคาที่จะเกิดขึ้น ด้าน นายธีระยุทธ ลอยลิป เจ้าหน้าที่สาระสนเทศดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง”ครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำ และตรงกับคืนเดือนเพ็ญ ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลาประมาณ 16.01 น. จากนั้นค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลกเกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 17.15 น. แต่ในวันดังกล่าวในประเทศไทยดวงจันทร์จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.25 น. ทำให้เราไม่สามารถเห็นช่วงแรกของการเกิดจันทรุปราคาได้หลัง จากนั้นดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่ “จันทรุปราคาเต็มดวง” ตั้งแต่เวลา 18.57-19.02 น. คิดเป็นระยะเวลาของจันทรุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ประมาณ 5 นาที ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 7 องศา และช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวงจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง จนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทางด้านทิศตะวันออกในทุกภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามท้องฟ้าในตัวเมืองเชียงใหม่อาจเห็นไม่ชัดเจนมากนัก เพราะมีหมอกควันปกคลุม
ส่วนที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมามหาวิทยาลัยเทคโนยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีประชาชนชาวโคราชจำนวนมาก ให้ความสนใจเฝ้าสังเกตปรากการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะผู้ปกครองหลายคนพาบุตรหลานทยอยมาชมปรากฏการณ์นี้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่และการเรียนรู้แก่เด็กๆ โดยทางศูนย์มีกล้องโทรทัศน์หลากหลายขนาดรวม 8 ตัวไว้บริการให้ส่องชม พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบวิดีโอผ่านจอโปรเจคเตอร์ เพื่อเผยแพร่ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากหรือหนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียวให้ได้ชมแบบถนัดตา ด้าน ดร.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ ผอ.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษานครราชสีมา เปิดเผยว่า จันทรุปราคาปีนี้เกิดขึ้น 2 ครั้ง คือ วันที่ 4 เม.ย. เห็นเต็มดวงเวลา 18.57 น. และเห็นดวงจันทร์เป็นสีเลือด หรือแดงอิฐ และจะเกิดอีกครั้งในวันที่ 28 ก.ย. ซึ่งครั้งที่ 2 จะมองไม่เห็นในประเทศไทยจะเห็นครั้งนี้เพียงครั้งเดียว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งมีความสวยงามมาก ทั้งนี้ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2561 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จันทรุปราคาเต็มดวงที่ จ.นครราชสีมา สภาพอากาศบนท้องฟ้ามีเมฆสลัว สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ได้ไม่ชัดเท่าใดนัก แต่ประชาชนก็ยังเฝ้าชมจนจันทรุปราคาสิ้นสุดลงในเวลา 20.00 น.
วันนี้ สดร.ได้จัดเตรียมกล้องโทรทรรศน์ ขนาดต่าง ๆ จำนวนกว่า 40 กล้อง ซึ่งเป็นการตั้งกล้องโทรทรรศน์เพื่อสังเกตการณ์จำนวนมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ สดร. ยังร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายตั้งจุดสังเกตปรากฏการณ์ อีก 3 แห่งคือที่ เชียงใหม่ นครราชสีมา และฉะเชิงเทรา ตลอดช่วงที่เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เวลา 18.57 – 19.02 น.ประมาณ 5 นาทีนั้น ช่างภาพและประชาชนที่สนใจต่างก็บันทึกภาพดวงจันทร์กันอย่างคึกคัก
ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา กล่าวว่า ปรากฎการณ์จันทรุปราคาแบบเต็มดวงในครั้งนี้ สามารถสังเกตได้เกือบทุกพื้นที่ของเอเชีย ตะวันออก รวมถึงทางด้านตะวันออกของมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย ด้านตะวันตกของอเมริกาใต้ และด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก พร้อมทั้งยืนยันว่า ปรากฎการณ์ในครั้งนี้ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลก หรือส่งผลต่อภัยพิบัติใด ๆ เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่สามารถใช้วิทยาศาสตร์อธิบายได้ และทำนายได้ล่วงหน้านับพันปี
สำหรับที่หอดูดาวสิรินธร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บนวนอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ–ปุย จ.เชียงใหม่ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้มีนักท่องเที่ยว กลุ่มนักเรียน นักศึกษา จำนวนมากเดินทางขึ้นไปรอชมปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ซึ่งถือเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวของประเทศไทยที่จะมองเห็นได้ในปีนี้ โดยทางเจ้าหน้าที่และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ตั้งกล้องดูดาวไว้จำนวนกว่า 10 ตัว เพื่อให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้ชมความงามของจันทรุปราคาที่จะเกิดขึ้น ด้าน นายธีระยุทธ ลอยลิป เจ้าหน้าที่สาระสนเทศดาราศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับปรากฏการณ์ “จันทรุปราคาเต็มดวง”ครั้งนี้ เกิดขึ้นในช่วงหัวค่ำ และตรงกับคืนเดือนเพ็ญ ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลกตั้งแต่เวลาประมาณ 16.01 น. จากนั้นค่อยๆเคลื่อนเข้าสู่เงามืดของโลกเกิดเป็นจันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 17.15 น. แต่ในวันดังกล่าวในประเทศไทยดวงจันทร์จะโผล่พ้นจากขอบฟ้าเวลาประมาณ 18.25 น. ทำให้เราไม่สามารถเห็นช่วงแรกของการเกิดจันทรุปราคาได้หลัง จากนั้นดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่ “จันทรุปราคาเต็มดวง” ตั้งแต่เวลา 18.57-19.02 น. คิดเป็นระยะเวลาของจันทรุปราคาเต็มดวงในครั้งนี้ประมาณ 5 นาที ขณะนั้นดวงจันทร์อยู่สูงจากขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันออกประมาณ 7 องศา และช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ในเงามืดของโลกเต็มดวงจะมองเห็นดวงจันทร์เป็นสีแดงอิฐทั้งดวง จนสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าทางด้านทิศตะวันออกในทุกภูมิภาคของประเทศ อย่างไรก็ตามท้องฟ้าในตัวเมืองเชียงใหม่อาจเห็นไม่ชัดเจนมากนัก เพราะมีหมอกควันปกคลุม
ส่วนที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา นครราชสีมามหาวิทยาลัยเทคโนยีสุรนารี อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีประชาชนชาวโคราชจำนวนมาก ให้ความสนใจเฝ้าสังเกตปรากการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งเดียวที่เกิดขึ้นในปีนี้ โดยเฉพาะผู้ปกครองหลายคนพาบุตรหลานทยอยมาชมปรากฏการณ์นี้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่และการเรียนรู้แก่เด็กๆ โดยทางศูนย์มีกล้องโทรทัศน์หลากหลายขนาดรวม 8 ตัวไว้บริการให้ส่องชม พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบวิดีโอผ่านจอโปรเจคเตอร์ เพื่อเผยแพร่ปรากฏการณ์ที่หาชมได้ยากหรือหนึ่งปีมีเพียงครั้งเดียวให้ได้ชมแบบถนัดตา ด้าน ดร.นวลวรรณ สงวนศักดิ์ ผอ.หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษานครราชสีมา เปิดเผยว่า จันทรุปราคาปีนี้เกิดขึ้น 2 ครั้ง คือ วันที่ 4 เม.ย. เห็นเต็มดวงเวลา 18.57 น. และเห็นดวงจันทร์เป็นสีเลือด หรือแดงอิฐ และจะเกิดอีกครั้งในวันที่ 28 ก.ย. ซึ่งครั้งที่ 2 จะมองไม่เห็นในประเทศไทยจะเห็นครั้งนี้เพียงครั้งเดียว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าซึ่งมีความสวยงามมาก ทั้งนี้ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงจะเกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2561 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จันทรุปราคาเต็มดวงที่ จ.นครราชสีมา สภาพอากาศบนท้องฟ้ามีเมฆสลัว สามารถมองเห็นปรากฏการณ์ได้ไม่ชัดเท่าใดนัก แต่ประชาชนก็ยังเฝ้าชมจนจันทรุปราคาสิ้นสุดลงในเวลา 20.00 น.