รายงานข่าวจากศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร(กทม.)เปิดเผยว่า กทม.จะดำเนินการรก่อสร้างทางลอดถนนศรีอยุธยา-ถนนพระรามที่ 6 ซึ่งทางแยกดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่การจราจรหนาแน่นตลอดทั้งวัน เนื่องจากเป็นเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่พื้นที่ใจกลางเมือง ซึ่งโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดบริเวณดังกล่าว จะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วของรถบนถนนศรีอยุธยา ให้มีความคล่องตัวลดปริมาณสะสมของรถบริเวณสี่แยกซึ่งถือเป็นการแก้ปัญหาการจราจรในอนาคต และสอดคล้องกับโครงการพระราชดำริ จตุรทิศ ตะวันออก-ตะวันตก ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทั้งนี้โครงการดังกล่าวอยู่ในแผนดำเนินการของกทม.มาเป็นเวลานาน ซึ่งหลังจากได้มีการแก้ไขปรับแบบเพื่อลดผลกระทบระหว่างการก่อสร้าง จนได้แบบที่สมบูรณ์เพื่อนำมาดำเนินการในปีนี้
สำหรับรูปแบบโครงการจะมีการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดขนาด 4 ช่องจราจรไป 2 ช่อง กลับ 2 ช่อง ซึ่งกทม.จะดำเนินการร่วมกับการประปานครหลวง(กปน.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ในการรื้อย้ายและวางระบบสาธารณูปโภคใต้พื้นดิน ซึ่งต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 700 ล้านบาท และต้องใช้งบประมาณในการรื้อย้าย และวางระบบสาธารณูปโภคใต้พื้นดินอีกจำนวนกว่า 90 ล้านบาท โดยขณะนี้กทม.อยู่ระหว่างประกาศทีโออาร์หาผู้รับเหมาเพื่อดำเนินโครงการ ซึ่งคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาเริ่มดำเนินการย้ายระบบสาธารณูปโภค และเริ่มทำการก่อสร้างได้ภายในปลายปี 58 นี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างตามสัญญาทั้งสิ้นประมาณ 3 ปี ก็สามารถเปิดใช้งานได้
อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มทำการก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อการจราจรบริเวณแยกศรีอยุธยา ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณดังกล่าวที่มีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้มีปัญหามากขึ้น ดังนั้น กทม. ต้องมีการหารือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในพื้นที่ เพื่อวางแผนจัดรูปแบบการจราจรที่ลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด
สำหรับรูปแบบโครงการจะมีการก่อสร้างเป็นอุโมงค์ทางลอดขนาด 4 ช่องจราจรไป 2 ช่อง กลับ 2 ช่อง ซึ่งกทม.จะดำเนินการร่วมกับการประปานครหลวง(กปน.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.)ในการรื้อย้ายและวางระบบสาธารณูปโภคใต้พื้นดิน ซึ่งต้องใช้งบประมาณทั้งสิ้น 700 ล้านบาท และต้องใช้งบประมาณในการรื้อย้าย และวางระบบสาธารณูปโภคใต้พื้นดินอีกจำนวนกว่า 90 ล้านบาท โดยขณะนี้กทม.อยู่ระหว่างประกาศทีโออาร์หาผู้รับเหมาเพื่อดำเนินโครงการ ซึ่งคาดว่าจะได้ตัวผู้รับเหมาเริ่มดำเนินการย้ายระบบสาธารณูปโภค และเริ่มทำการก่อสร้างได้ภายในปลายปี 58 นี้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างตามสัญญาทั้งสิ้นประมาณ 3 ปี ก็สามารถเปิดใช้งานได้
อย่างไรก็ตามเมื่อเริ่มทำการก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อการจราจรบริเวณแยกศรีอยุธยา ซึ่งจะส่งผลให้บริเวณดังกล่าวที่มีปัญหาการจราจรติดขัดอย่างหนักอยู่ในขณะนี้มีปัญหามากขึ้น ดังนั้น กทม. ต้องมีการหารือกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรในพื้นที่ เพื่อวางแผนจัดรูปแบบการจราจรที่ลดผลกระทบให้ได้มากที่สุด