ที่ห้องประชุมเจ้าไหม ศาลากลางจังหวัดตรัง ชั้น 5 จังหวัดตรัง คณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่น จังหวัดตรัง ได้เปิดให้มีการยื่นซองเสนอราคาประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่นในพื้นที่จังหวัดตรัง โดยวิธีพิเศษ ครั้งที่ 3 เพื่อเก็บสัมปทานรังนกอีแอ่นในท้องที่จังหวัดตรัง มีกำหนด 5 ปี โดยมีคณะกรรมการประมูลโดยวิธีพิเศษดำเนินการรับซองและตรวจสอบหลักฐาน โดยมีการตั้งราคากลางไว้ดังนี้ คือ พื้นที่อำเภอปะเหลียน ราคากลาง จำนวน 27,000,000 บาท และพื้นที่อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา ราคากลาง 5,500,000 บาท
โดยก่อนหมดเวลายื่นซองเสนอราคาฯ มีบริษัทผู้ประกอบการสัมปทานรังนกเดินทางเข้ายื่นซองเสนอประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่น ทั้งหมด 3 บริษัท ดังนี้ ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน เข้ายื่น 2 บริษัท ประกอบด้วย หจก.ญาดา รีสอร์ท แอนด์ สปา เสนอราคา 33,000,000 บาท และ บริษัท บ๊อซ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เสนอราคา 31,556,5000 บาท ส่วนในพื้นที่อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา เข้ายื่น 2 บริษัทเช่นกัน ประกอบด้วย หจก.ญาดา รีสอร์ท แอนด์ สปา เสนอราคา 5,500,000 บาท และ หจก.รังนกตรัง เสนอราคา 6,200,000 ล้านบาท คณะกรรมการประมูลโดยวิธีพิเศษได้ตรวจสอบหลักฐานเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ทั้ง 3 บริษัท นำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่สัมปทาน และผู้ประกอบการได้ฝากให้คณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่น จังหวัดตรัง พิจารณาข้อมูลให้ลึกๆ มองถึงส่วนได้ส่วนเสียที่จะเกิดขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการประมูลโดยวิธีพิเศษได้สรุปเป็นมติว่า จะนำข้อมูลดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดตรัง ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธาน เพื่อพิจารณาชี้ขาดว่าผู้ประกอบการรายใดจะได้รับสัมปทานเก็บรังนกอีแอ่นในท้องที่จังหวัดตรังต่อไป
โดยก่อนหมดเวลายื่นซองเสนอราคาฯ มีบริษัทผู้ประกอบการสัมปทานรังนกเดินทางเข้ายื่นซองเสนอประมูลเงินอากรรังนกอีแอ่น ทั้งหมด 3 บริษัท ดังนี้ ในพื้นที่อำเภอปะเหลียน เข้ายื่น 2 บริษัท ประกอบด้วย หจก.ญาดา รีสอร์ท แอนด์ สปา เสนอราคา 33,000,000 บาท และ บริษัท บ๊อซ โบรคเกอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เสนอราคา 31,556,5000 บาท ส่วนในพื้นที่อำเภอกันตังและอำเภอสิเกา เข้ายื่น 2 บริษัทเช่นกัน ประกอบด้วย หจก.ญาดา รีสอร์ท แอนด์ สปา เสนอราคา 5,500,000 บาท และ หจก.รังนกตรัง เสนอราคา 6,200,000 ล้านบาท คณะกรรมการประมูลโดยวิธีพิเศษได้ตรวจสอบหลักฐานเป็นที่เรียบร้อยแล้วให้ทั้ง 3 บริษัท นำเสนอแผนบริหารจัดการพื้นที่สัมปทาน และผู้ประกอบการได้ฝากให้คณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่น จังหวัดตรัง พิจารณาข้อมูลให้ลึกๆ มองถึงส่วนได้ส่วนเสียที่จะเกิดขึ้นด้วย
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการประมูลโดยวิธีพิเศษได้สรุปเป็นมติว่า จะนำข้อมูลดังกล่าวนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณาจัดเก็บอากรรังนกอีแอ่นจังหวัดตรัง ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดตรังเป็นประธาน เพื่อพิจารณาชี้ขาดว่าผู้ประกอบการรายใดจะได้รับสัมปทานเก็บรังนกอีแอ่นในท้องที่จังหวัดตรังต่อไป