พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ออกประกาศกระทรวง เรื่อง การกำหนดวิชาในการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต (O-Net) โดยปรับลดจำนวนวิชาที่ทดสอบลงจาก 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เป็น 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่ยังคงใช้การทดสอบกลาง ได้แก่ วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ส่วนอีก 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาศิลปะ และวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้โรงเรียนเป็นผู้ออกข้อสอบและจัดสอบเอง ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 นี้ ซึ่งจะมีผลครอบคลุมการสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 6
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบการศึกษาที่ต้องการเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และเพื่อให้เด็กนักเรียนไม่ต้องคร่ำเคร่งกับการอ่านหนังสือหรือกวดวิชาเพื่อติวสอบมากจนเกินไป ลดภาวะความเครียด และส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีเวลามากขึ้นที่จะพัฒนาทักษะและศักยภาพด้านอื่นของตนเองหรือทำกิจกรรมที่สนใจนอกหลักสูตร รวมทั้งเพื่อให้มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของนักเรียนในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในสัดส่วนร้อยละ 30 ร่วมกับคะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ในสัดส่วนร้อยละ 70 หรือ 70 ต่อ 30 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้ารับการทดสอบระดับชาติ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการใช้ผลประเมินในการกำหนดนโยบายและวางแผนการศึกษาของประเทศ
ส่วนอีก 3 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา วิชาศิลปะ และวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี ให้โรงเรียนเป็นผู้ออกข้อสอบและจัดสอบเอง ทั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 นี้ ซึ่งจะมีผลครอบคลุมการสอบโอเน็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นประมัธยมศึกษาปีที่ 6
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูประบบการศึกษาที่ต้องการเน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ และเพื่อให้เด็กนักเรียนไม่ต้องคร่ำเคร่งกับการอ่านหนังสือหรือกวดวิชาเพื่อติวสอบมากจนเกินไป ลดภาวะความเครียด และส่งเสริมให้เด็กนักเรียนมีเวลามากขึ้นที่จะพัฒนาทักษะและศักยภาพด้านอื่นของตนเองหรือทำกิจกรรมที่สนใจนอกหลักสูตร รวมทั้งเพื่อให้มีเวลาทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัวมากขึ้นด้วย
ทั้งนี้ การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-Net) เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการตัดสินผลการเรียนของนักเรียนในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ในสัดส่วนร้อยละ 30 ร่วมกับคะแนนผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตร (GPAX) ในสัดส่วนร้อยละ 70 หรือ 70 ต่อ 30 ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 โดยสถานศึกษาต้องจัดให้ผู้เรียนทุกคนเข้ารับการทดสอบระดับชาติ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการใช้ผลประเมินในการกำหนดนโยบายและวางแผนการศึกษาของประเทศ