นายธนรัชต์ ภุมมะกสิกร ผู้อำนวยการเขื่อนศรีนครินทร์ อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ถึงแม้ในพื้นที่จะมีฝนตกลงมาบ้างในช่วงนี้แต่ก็ไม่มากนัก ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพียง 3.76 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้น ขณะที่เขื่อนวชิราลงกรณ์ อำเภอทองผาภูมิ กลับมีน้ำไหลเข้ามากถึง 52 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร เนื่องจากมีฝนตกหนัก ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งควบคุมโดย 4 เขื่อนหลัก ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จังหวัดพิษณุโลก และเขื่อน ป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ณ วันที่ 25 มิถุนายน มีปริมาตรน้ำใช้การเหลือเพียง 1,005 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ระบายน้ำรวมกันวันละ 31 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร
ส่วนนายฎรงศ์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 รับผิดชอบพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า เกษตรกรพากันแย่งสูบน้ำ ไม่เคารพข้อตกลงที่ให้ผลัดกันสูบ ทำให้น้ำในคลองชลประทานแห้งจนไม่เหลือ คาดว่าน้ำจากเขื่อนที่ระบายสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ภาคกลางจะสามารถจัดสรรน้ำ เพื่อการเพาะปลูกได้จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมเท่านั้น
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาล เชื่อมั่นว่า ปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม จนถึงปัจจุบัน กว่า 2,933 เที่ยวบิน ใช้สารฝนหลวงไปทั้งสิ้น 2,553.10 ตัน ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ 70 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับพื้นที่การเพาะปลูกในเขตลุ่มเจ้าพระยาที่ยังไม่ลงมือปลูกพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความต้องการของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกไปสู่พืชอื่นที่ใช้น้ำน้อย และมีตลาดรองรับ อาทิ ถั่วเขียว ข้าวโพด ซึ่งการสำรวจเชื่อว่า จะเรียบร้อยภายในไม่เกิน 2 สัปดาห์
ส่วนนายฎรงศ์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 รับผิดชอบพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า เกษตรกรพากันแย่งสูบน้ำ ไม่เคารพข้อตกลงที่ให้ผลัดกันสูบ ทำให้น้ำในคลองชลประทานแห้งจนไม่เหลือ คาดว่าน้ำจากเขื่อนที่ระบายสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในพื้นที่ภาคกลางจะสามารถจัดสรรน้ำ เพื่อการเพาะปลูกได้จนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมเท่านั้น
ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกรัฐบาล เชื่อมั่นว่า ปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม จนถึงปัจจุบัน กว่า 2,933 เที่ยวบิน ใช้สารฝนหลวงไปทั้งสิ้น 2,553.10 ตัน ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ 70 จังหวัดทั่วประเทศ สำหรับพื้นที่การเพาะปลูกในเขตลุ่มเจ้าพระยาที่ยังไม่ลงมือปลูกพืช กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่ เพื่อสำรวจความต้องการของเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกไปสู่พืชอื่นที่ใช้น้ำน้อย และมีตลาดรองรับ อาทิ ถั่วเขียว ข้าวโพด ซึ่งการสำรวจเชื่อว่า จะเรียบร้อยภายในไม่เกิน 2 สัปดาห์