ศูนย์วิจัยกสิกรไทยสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท(15-19มิ.ย.)เงินบาทกลับมาอ่อนค่าปลายสัปดาห์ เงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบแคบๆ ในช่วงแรก ก่อนที่จะปรับตัวแข็งค่าขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ท่ามกลางแรงเทขายเงินดอลลาร์ หลังเฟดปรับลดประมาณการเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในปีนี้ลง และยังคงไม่ส่งสัญญาณที่ชัดเจนเกี่ยวกับช่วงเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
อย่างไรก็ตาม เงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
สำหรับในวันศุกร์ (19 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 33.68 เทียบกับระดับ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (12 มิ.ย.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (22-26 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.60-33.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยตลาดน่าจะยังคงติดตามผลการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์กรีซจากที่ประชุมฉุกเฉินของผู้นำยุโรปในช่วงต้นสัปดาห์ และรายงานดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมิ.ย. ของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพฤษภาคม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิถุนายน และข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 1/58 (Final)
อย่างไรก็ตาม เงินบาทกลับมาอ่อนค่าในช่วงปลายสัปดาห์ สอดคล้องกับสถานะขายสุทธิในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติ
สำหรับในวันศุกร์ (19 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 33.68 เทียบกับระดับ 33.71 บาทต่อดอลลาร์ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (12 มิ.ย.)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (22-26 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.60-33.80 บาทต่อดอลลาร์ โดยตลาดน่าจะยังคงติดตามผลการหารือเกี่ยวกับสถานการณ์กรีซจากที่ประชุมฉุกเฉินของผู้นำยุโรปในช่วงต้นสัปดาห์ และรายงานดัชนี PMI เบื้องต้นสำหรับเดือนมิ.ย. ของหลายๆ ประเทศทั่วโลก ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสอง ยอดขายบ้านใหม่ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือนพฤษภาคม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนมิถุนายน และข้อมูลจีดีพีประจำไตรมาส 1/58 (Final)