นายสุชาติ เตชะนราวงษ์ ประมงจังหวัดเพชรบูรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา จังหวัดเพชรบูรณ์ได้ประกาศให้แมงกะพรุนน้ำจืด ซึ่งพบที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง บริเวณแก่งบางระจัน ตำบลหนองแม่นา อำเภอเขาค้อ เป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ แล้ว
แมงกะพรุนน้ำจืด มีชื่อท้องถิ่นว่า แม่ยุ้มวะ เป็นแมงกะพรุนน้ำจืดสายพันธุ์น้ำไหลบนภูเขา เป็นสายพันธุ์ดึกดำบรรพ์ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย พบเมื่อปี 2544 บริเวณแก่งบางระจันและแก่งวังน้ำเย็นของลำน้ำเข็ก นับเป็นแหล่งที่ 5 ของโลก หลังจากพบที่อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และญี่ปุ่น มีลำตัวขนาดเล็กมาก สีขาวโปร่งแสง เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 1-2 เซนติเมตร เมื่อจับขึ้นมาพ้นน้ำจะมองคล้ายคอนแทคเลนส์ ขอบร่างกายมีหนวดเล็กๆ ที่มีผิวเป็นปุ่มเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นเข็มพิษ เมื่อสัมผัสเกิดอาการคัน หรือปวดแสบปวดร้อนได้ กลางลำตัวมีปากที่ยื่นยาวคล้ายแตรที่ขยายออกบริเวณช่องเปิดด้านล่าง บริเวณขอบลักษณะเป็นรอยหยัก 3 แฉก ปากดังกล่าวจะเชื่อมต่อถึงกระเพาะอาหารโดยตรง ด้านในของร่างกายมีลักษณะคล้ายร่ม มีเนื้อเยื่อบางๆทอดผ่านไปบริเวณขอบในแนวรัศมี 4 ส่วนเท่าๆ กัน โดยแนวเหล่านี้จะมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีลักษณะสีขาวขุ่น หรือสีส้มพาดไปในแนวรัศมีเช่นกัน บริเวณขอบด้านในของร่างกายที่มีลักษณะคล้ายร่ม มีกล้ามเนื้อบางๆ เรียงตัวในแนววงแหวนโดยรอบ ว่ายน้ำได้โดยการกระพือขอบร่มเป็นจังหวะ จะปรากฏตัวให้เห็นบนผิวน้ำในช่วงกลางวัน แดดจัด ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น.
แมงกะพรุนน้ำจืดมีความเปราะบาง และอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม จึงเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศลำน้ำเข็กได้เป็นอย่างดี สามารถพบได้ที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง แก่งบางระจัน ต.หนองแม่นา อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เท่านั้น ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ประกาศให้แมงกะพรุนน้ำจืด เป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา
แมงกะพรุนน้ำจืด มีชื่อท้องถิ่นว่า แม่ยุ้มวะ เป็นแมงกะพรุนน้ำจืดสายพันธุ์น้ำไหลบนภูเขา เป็นสายพันธุ์ดึกดำบรรพ์ที่มีแห่งเดียวในประเทศไทย พบเมื่อปี 2544 บริเวณแก่งบางระจันและแก่งวังน้ำเย็นของลำน้ำเข็ก นับเป็นแหล่งที่ 5 ของโลก หลังจากพบที่อังกฤษ, สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย และญี่ปุ่น มีลำตัวขนาดเล็กมาก สีขาวโปร่งแสง เส้นผ่าศูนย์กลางลำตัว 1-2 เซนติเมตร เมื่อจับขึ้นมาพ้นน้ำจะมองคล้ายคอนแทคเลนส์ ขอบร่างกายมีหนวดเล็กๆ ที่มีผิวเป็นปุ่มเล็กๆ จำนวนมาก ซึ่งเป็นเข็มพิษ เมื่อสัมผัสเกิดอาการคัน หรือปวดแสบปวดร้อนได้ กลางลำตัวมีปากที่ยื่นยาวคล้ายแตรที่ขยายออกบริเวณช่องเปิดด้านล่าง บริเวณขอบลักษณะเป็นรอยหยัก 3 แฉก ปากดังกล่าวจะเชื่อมต่อถึงกระเพาะอาหารโดยตรง ด้านในของร่างกายมีลักษณะคล้ายร่ม มีเนื้อเยื่อบางๆทอดผ่านไปบริเวณขอบในแนวรัศมี 4 ส่วนเท่าๆ กัน โดยแนวเหล่านี้จะมีอวัยวะสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีลักษณะสีขาวขุ่น หรือสีส้มพาดไปในแนวรัศมีเช่นกัน บริเวณขอบด้านในของร่างกายที่มีลักษณะคล้ายร่ม มีกล้ามเนื้อบางๆ เรียงตัวในแนววงแหวนโดยรอบ ว่ายน้ำได้โดยการกระพือขอบร่มเป็นจังหวะ จะปรากฏตัวให้เห็นบนผิวน้ำในช่วงกลางวัน แดดจัด ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น.
แมงกะพรุนน้ำจืดมีความเปราะบาง และอ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม จึงเป็นดัชนีชี้วัดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศลำน้ำเข็กได้เป็นอย่างดี สามารถพบได้ที่อุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง แก่งบางระจัน ต.หนองแม่นา อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เท่านั้น ซึ่งจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ประกาศให้แมงกะพรุนน้ำจืด เป็นสัตว์น้ำประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ที่ผ่านมา