สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจที่เป็นบวก ซึ่งรวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ได้จุดกระแสคาดการณ์เพิ่มขึ้นว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ ซึ่งสร้างแรงกดดันต่อทองคำ และบดบังปัจจัยสนับสนุนจากสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนเกี่ยวกับการเจรจาหนี้กรีซ
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวลง 1.2 ดอลลาร์ หรือ 0.10% ปิดที่ 1,179.20 ดอลลาร์/ออนซ์ สำหรับตลอดสัปดาห์ สัญญาทองเพิ่มขึ้น 0.9% เพราะดอลลาร์ที่อ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมาช่วยกระตุ้นแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับนักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากหุ้นยุโรปที่ร่วงลงอันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้กรีซ โดยราคาทองปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์แรกนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค.
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกันเมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) เนื่องจากยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบสามปี
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 81 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 59.96 ดอลลาร์/บาร์เรล อย่างไรก็ดี ตลอดสัปดาห์ สัญญาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 83 เซนต์ หรือ 1.4%
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 63.87 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งสัปดาห์ น้ำมันเบรนท์เพิ่มขึ้น 56 เซนต์ หรือ 0.9%
สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุในรายงานตลาดน้ำมันซึ่งมีการเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต่างก็เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรายเดือนขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งส่งผลให้การผลิตน้ำมันของโอเปกยังคงเกินเพดานที่กำหนดไว้
โดยโอเปกผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 50,000 บาร์เรล/วันในเดือนพ.ค. สู่ระดับ 31.33 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2555 และมากกว่าเป้าหมายที่ 30 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นเดือนที่สามติดต่อกันแล้ว
ขณะเดียวกัน ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสก็เป็นปัจจัยลบต่อตลาดน้ำมันเช่นกัน โดยการแข็งค่าของดอลลาร์จะทำให้น้ำมันดิบที่กำหนดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐมีราคาแพงขึ้นและมีความน่าดึงดูดใจลดลงสำหรับเทรดเดอร์ที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) เนื่องจากความหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงระหว่างกรีซและฝ่ายเจ้าหนี้นั้นริบหรี่ลงเรื่อยๆ หลังจากที่ IMF ประกาศยุติการเจรจาด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันมากในหลายประเด็น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 140.53 จุด หรือ 0.78% ปิดที่ 17,898.84 จุด ดัชนี S&P500 ลดลง 14.75 จุด หรือ 0.70% ปิดที่ 2,094.11 จุด ดัชนี NASDAQ ลดลง 31.41 จุด หรือ 0.62% ปิดที่ 5,051.10 จุด
สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 0.3% ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.1% ขณะที่ NASDAQ ลบ 0.3%
ภาวะการซื้อขายในตลาดวอลล์สตรีท รวมถึงตลาดการเงินทั่วโลกถูกปกคลุมไปด้วยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้กรีซ หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ประกาศระงับการเจรจาระหว่างกรีซและเจ้าหนี้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่การหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขในการปลดล็อคเงินช่วยเหลือไม่มีความคืบหน้ามาหลายวันแล้ว
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค.ปรับตัวลง 1.2 ดอลลาร์ หรือ 0.10% ปิดที่ 1,179.20 ดอลลาร์/ออนซ์ สำหรับตลอดสัปดาห์ สัญญาทองเพิ่มขึ้น 0.9% เพราะดอลลาร์ที่อ่อนค่าในช่วงที่ผ่านมาช่วยกระตุ้นแรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับนักลงทุนเข้าซื้อทองคำเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากหุ้นยุโรปที่ร่วงลงอันเนื่องมาจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้กรีซ โดยราคาทองปรับตัวขึ้นเป็นสัปดาห์แรกนับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพ.ค.
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลดลงเป็นวันที่สองติดต่อกันเมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) เนื่องจากยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะอุปทานล้นตลาด หลังจากที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบสามปี
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 81 เซนต์ หรือ 1.3% ปิดที่ 59.96 ดอลลาร์/บาร์เรล อย่างไรก็ดี ตลอดสัปดาห์ สัญญาน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 83 เซนต์ หรือ 1.4%
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค.ลดลง 1.24 ดอลลาร์ หรือ 1.9% ปิดที่ 63.87 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งสัปดาห์ น้ำมันเบรนท์เพิ่มขึ้น 56 เซนต์ หรือ 0.9%
สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ระบุในรายงานตลาดน้ำมันซึ่งมีการเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดีว่า ซาอุดิอาระเบีย อิรัก และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ต่างก็เพิ่มปริมาณการผลิตน้ำมันดิบรายเดือนขึ้นสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งส่งผลให้การผลิตน้ำมันของโอเปกยังคงเกินเพดานที่กำหนดไว้
โดยโอเปกผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น 50,000 บาร์เรล/วันในเดือนพ.ค. สู่ระดับ 31.33 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนส.ค.2555 และมากกว่าเป้าหมายที่ 30 ล้านบาร์เรล/วัน เป็นเดือนที่สามติดต่อกันแล้ว
ขณะเดียวกัน ดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นจากข้อมูลเศรษฐกิจที่สดใสก็เป็นปัจจัยลบต่อตลาดน้ำมันเช่นกัน โดยการแข็งค่าของดอลลาร์จะทำให้น้ำมันดิบที่กำหนดราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐมีราคาแพงขึ้นและมีความน่าดึงดูดใจลดลงสำหรับเทรดเดอร์ที่ถือสกุลเงินอื่นๆ
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดปรับตัวลงเมื่อคืนนี้ (12 มิ.ย.) เนื่องจากความหวังของนักลงทุนเกี่ยวกับการบรรลุข้อตกลงระหว่างกรีซและฝ่ายเจ้าหนี้นั้นริบหรี่ลงเรื่อยๆ หลังจากที่ IMF ประกาศยุติการเจรจาด้วยเหตุผลที่ว่าทั้งสองฝ่ายมีความแตกต่างกันมากในหลายประเด็น
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ลดลง 140.53 จุด หรือ 0.78% ปิดที่ 17,898.84 จุด ดัชนี S&P500 ลดลง 14.75 จุด หรือ 0.70% ปิดที่ 2,094.11 จุด ดัชนี NASDAQ ลดลง 31.41 จุด หรือ 0.62% ปิดที่ 5,051.10 จุด
สำหรับตลอดทั้งสัปดาห์ ดัชนีดาวโจนส์เพิ่มขึ้น 0.3% ดัชนี S&P 500 ขยับขึ้น 0.1% ขณะที่ NASDAQ ลบ 0.3%
ภาวะการซื้อขายในตลาดวอลล์สตรีท รวมถึงตลาดการเงินทั่วโลกถูกปกคลุมไปด้วยความวิตกกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้กรีซ หลังจากที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ประกาศระงับการเจรจาระหว่างกรีซและเจ้าหนี้อย่างเป็นทางการ หลังจากที่การหารือเกี่ยวกับเงื่อนไขในการปลดล็อคเงินช่วยเหลือไม่มีความคืบหน้ามาหลายวันแล้ว