ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลดลงเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้สินของกรีซ แม้ว่าข้อมูลจ้างงานสหรัฐจะแข็งแกร่งเกินคาดก็ตาม
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 56.12 จุด หรือ 0. 31% ปิดที่ 17,849.46 จุด ดัชนี S&P 500 ขยับลง 3.01 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 2,092.83 จุด และดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 9.33 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 5,068.46 จุด
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 280,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. จากระดับ 221,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.5% จาก 5.4% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 225,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ 5.4%
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ทบทวนตัวเลขการจ้างงานในเดือนมี.ค. โดยปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 119,000 ตำแหน่งจากที่มีการรายงานก่อนหน้านี้ว่าเพิ่มขึ้นเพียง 85,000 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ โดยกรีซมีกำหนดต้องชำระคืนเงินกู้ 4 งวดแก่ IMF ในเดือนมิ.ย. โดยงวดแรกในวันที่ 5 มิ.ย., งวดสองวันที่ 12 มิ.ย. งวดสามในวันที่ 16 มิ.ย. และงวดสุดท้ายสำหรับเดือนนี้ในวันที่ 19 มิ.ย. แต่รัฐบาลกรีซได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อ IMF เพื่อขอเลื่อนการชำระคืนหนี้สินตามกำหนด 4 งวดดังกล่าว เป็นการชำระรวมงวดเดียวจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์ในวันที่ 30 มิ.ย. และ IMF ก็ตอบรับคำร้องดังกล่าวแล้ว
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะเดียวกันข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 7.10 ดอลลาร์ หรือ 0.6% ปิดที่ 1,168.10 ดอลลาร์/ออนซ์
ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า หลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 280,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. จากระดับ 221,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.5% จาก 5.4% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีมติคงโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.13 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.13 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.28 ดอลลาร์ ปิดที่ 63.31 ดอลลาร์/บาร์เรล
โอเปกตัดสินใจตรึงกำลังการผลิตน้ำมันที่ระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันต่อไปอีก 6 เดือน เช่นเดียวกับมติการประชุมโอเปกครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ถึงแม้มีสมาชิกโอเปกหลายประเทศต้องการให้มีการปรับเพิ่มกำลังการผลิต อย่างไรก็ดี สมาชิกโอเปกส่วนใหญ่ยังคงพึงพอใจต่อราคาน้ำมันดิบเบรนท์ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ระดับราว 63 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยสูงกว่าระดับ 47 ดอลลาร์ในช่วงที่ราคาทรุดตัว
ขณะเดียวกันสัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากรายงานของเบเกอร์ ฮิวจ์ ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. ลดลง 13 แห่ง สู่ระดับ 646 แห่ง
ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวลดลง 56.12 จุด หรือ 0. 31% ปิดที่ 17,849.46 จุด ดัชนี S&P 500 ขยับลง 3.01 จุด หรือ 0.14% ปิดที่ 2,092.83 จุด และดัชนี NASDAQ เพิ่มขึ้น 9.33 จุด หรือ 0.18% ปิดที่ 5,068.46 จุด
กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 280,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. จากระดับ 221,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.5% จาก 5.4% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี
นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า การจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 225,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. และอัตราการว่างงานจะทรงตัวที่ 5.4%
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐยังได้ทบทวนตัวเลขการจ้างงานในเดือนมี.ค. โดยปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 119,000 ตำแหน่งจากที่มีการรายงานก่อนหน้านี้ว่าเพิ่มขึ้นเพียง 85,000 ตำแหน่ง
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้กรีซ โดยกรีซมีกำหนดต้องชำระคืนเงินกู้ 4 งวดแก่ IMF ในเดือนมิ.ย. โดยงวดแรกในวันที่ 5 มิ.ย., งวดสองวันที่ 12 มิ.ย. งวดสามในวันที่ 16 มิ.ย. และงวดสุดท้ายสำหรับเดือนนี้ในวันที่ 19 มิ.ย. แต่รัฐบาลกรีซได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการต่อ IMF เพื่อขอเลื่อนการชำระคืนหนี้สินตามกำหนด 4 งวดดังกล่าว เป็นการชำระรวมงวดเดียวจำนวน 1.5 พันล้านดอลลาร์ในวันที่ 30 มิ.ย. และ IMF ก็ตอบรับคำร้องดังกล่าวแล้ว
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงลงเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) เพราะได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ ขณะเดียวกันข้อมูลแรงงานที่แข็งแกร่งของสหรัฐได้กระตุ้นให้นักลงทุนเทขายสัญญาทองคำซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย
สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนส.ค. ร่วงลง 7.10 ดอลลาร์ หรือ 0.6% ปิดที่ 1,168.10 ดอลลาร์/ออนซ์
ราคาทองคำได้รับแรงกดดันจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่า หลังจากที่กระทรวงแรงงานสหรัฐรายงานว่า ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้น 280,000 ตำแหน่งในเดือนพ.ค. จากระดับ 221,000 ตำแหน่งในเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 5.5% จาก 5.4% ในเดือนเม.ย. ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบเกือบ 7 ปี
สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (5 มิ.ย.) หลังกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) มีมติคงโควต้าการผลิตน้ำมันในการประชุมเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด
สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.13 ดอลลาร์ ปิดที่ 59.13 ดอลลาร์/บาร์เรล
สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. เพิ่มขึ้น 1.28 ดอลลาร์ ปิดที่ 63.31 ดอลลาร์/บาร์เรล
โอเปกตัดสินใจตรึงกำลังการผลิตน้ำมันที่ระดับ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันต่อไปอีก 6 เดือน เช่นเดียวกับมติการประชุมโอเปกครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพ.ย.ปีที่แล้ว ถึงแม้มีสมาชิกโอเปกหลายประเทศต้องการให้มีการปรับเพิ่มกำลังการผลิต อย่างไรก็ดี สมาชิกโอเปกส่วนใหญ่ยังคงพึงพอใจต่อราคาน้ำมันดิบเบรนท์ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ระดับราว 63 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยสูงกว่าระดับ 47 ดอลลาร์ในช่วงที่ราคาทรุดตัว
ขณะเดียวกันสัญญาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากรายงานของเบเกอร์ ฮิวจ์ ที่ระบุว่า จำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐในรอบสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 29 พ.ค. ลดลง 13 แห่ง สู่ระดับ 646 แห่ง