การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.วันนี้ (5 มิ.ย.) มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานในที่ประชุม วาระการประชุมคือการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. ... ที่คณะกรรมาธิการวิสามัญ ที่มี น.พ.เจตน์ ศิรธรานนท์ เป็นประธานคณะกรรมาธิการฯ พิจารณาเสร็จแล้ว
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นี้ คือการกำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย หรือนำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง ต้องแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางต่อผู้รับจดแจ้ง และเมื่อรับผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได้ ซึ่งผู้รับจดแจ้งตามกฎหมายฉบับนี้หมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ อย.มอบหมาย
นอกจากนี้ ในมาตรา 41 การโฆษณาเครื่องสำอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ได้แก่ 1. ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง 2. ข้อความที่จะก่อให้เกิดความใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม 3. ข้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มิใช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสำอาง
4.ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบำรุงกาม 5. ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย 6. ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน และ 7. ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช. มีมติเอกฉันท์ 156 เสียงเห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. ... ประกาศใช้ให้เป็นกฎหมายต่อไป
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ.นี้ คือการกำหนดให้ผู้ใดประสงค์จะผลิตเพื่อขาย หรือนำเข้าเพื่อขาย หรือรับจ้างผลิตเครื่องสำอาง ต้องแจ้งรายละเอียดของเครื่องสำอางต่อผู้รับจดแจ้ง และเมื่อรับผู้รับจดแจ้งออกใบรับจดแจ้งแล้ว จึงจะผลิตหรือนำเข้าเครื่องสำอางนั้นได้ ซึ่งผู้รับจดแจ้งตามกฎหมายฉบับนี้หมายถึงเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ อย.มอบหมาย
นอกจากนี้ ในมาตรา 41 การโฆษณาเครื่องสำอางต้องไม่ใช้ข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือใช้ข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ได้แก่ 1. ข้อความที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง 2. ข้อความที่จะก่อให้เกิดความใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ไม่ว่าจะกระทำโดยใช้หรืออ้างอิงรายงานทางวิชาการ สถิติ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันไม่เป็นความจริงหรือเกินความจริงหรือไม่ก็ตาม 3. ข้อความที่แสดงสรรพคุณที่เป็นการรักษาโรคหรือที่มิใช่จุดมุ่งหมายเป็นเครื่องสำอาง
4.ข้อความที่ทำให้เข้าใจว่ามีสรรพคุณบำรุงกาม 5. ข้อความที่เป็นการสนับสนุนโดยตรงหรือโดยอ้อมให้มีการกระทำผิดกฎหมาย 6. ข้อความที่จะทำให้เกิดความแตกแยกหรือเสื่อมเสียความสามัคคีในหมู่ประชาชน และ 7. ข้อความอย่างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ ที่ประชุม สนช. มีมติเอกฉันท์ 156 เสียงเห็นชอบให้ร่าง พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ. ... ประกาศใช้ให้เป็นกฎหมายต่อไป