นายนรินทร์ หิรัญสุทธิกุล ผู้ช่วยอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับนายยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดแถลงข่าว หัวข้อ "มหันภัยโรคทางเดินหายใจตะวันออก เมอร์ส-โควี" โดยนายยง ชี้แจงว่า เชื้อโคโรนาไวรัสเมอร์ส-โควี ที่ระบาดในขณะนี้ เรียกให้เข้าใจตรงกันคือ โรคปอดบวมตะวันออกกลาง เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาเมื่อปี 2012 ติดต่อจากน้ำลาย หรือสารคัดหลั่งของอูฐ
ขณะที่ที่ทั่วโลกกังวลขณะนี้ คือการติดเชื้อที่แพร่กระจายจากตะวันออกกลางมายังเอเชีย เพราะมีการพบโรคนี้ที่ประเทศเกาหลีใต้ และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วถึง 2 คน ส่วนทั่วโลกอัตราการตายอยู่ที่ร้อยละ 37.5 ซึ่งถือว่าสูง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบอัตราการแพร่กระจายของโรคนี้ กับซาร์ส (SARS) ยังถือว่าน้อยกว่าถึง 5 เท่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายรุนแรงในเกาหลีใต้ เพราะผู้ป่วยไม่ได้แจ้งกับโรงพยาบาลว่าเดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง
สำหรับการดูแลป้องกัน แนะให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สังเกตอาการของผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก เนื่องจากโรคปอดบวมตะวันออกกลางติดต่อได้จากการสัมผัสกับละอองฝอย ไอ จาม และพบผู้ป่วยสูงอายุมากกว่าเด็ก ส่วนการเดินทางไปเกาหลีใต้ และตะวันออกกลาง ยังสามารถทำได้ แต่เน้นย้ำผู้ที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการแพร่ระบาด หากพบว่าป่วยหลังเดินทางกลับใน 14 วัน ต้องแจ้งแพทย์เพื่อรับการตรวจวิเคระห์
ขณะที่ที่ทั่วโลกกังวลขณะนี้ คือการติดเชื้อที่แพร่กระจายจากตะวันออกกลางมายังเอเชีย เพราะมีการพบโรคนี้ที่ประเทศเกาหลีใต้ และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วถึง 2 คน ส่วนทั่วโลกอัตราการตายอยู่ที่ร้อยละ 37.5 ซึ่งถือว่าสูง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบอัตราการแพร่กระจายของโรคนี้ กับซาร์ส (SARS) ยังถือว่าน้อยกว่าถึง 5 เท่า ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายรุนแรงในเกาหลีใต้ เพราะผู้ป่วยไม่ได้แจ้งกับโรงพยาบาลว่าเดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง
สำหรับการดูแลป้องกัน แนะให้ประชาชนหมั่นล้างมือ สังเกตอาการของผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก เนื่องจากโรคปอดบวมตะวันออกกลางติดต่อได้จากการสัมผัสกับละอองฝอย ไอ จาม และพบผู้ป่วยสูงอายุมากกว่าเด็ก ส่วนการเดินทางไปเกาหลีใต้ และตะวันออกกลาง ยังสามารถทำได้ แต่เน้นย้ำผู้ที่จะเดินทางไปประเทศที่มีการแพร่ระบาด หากพบว่าป่วยหลังเดินทางกลับใน 14 วัน ต้องแจ้งแพทย์เพื่อรับการตรวจวิเคระห์