นายวันชัย สอนศิริ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (วิปสปช.) กล่าวถึงการเตรียมการของผู้ยื่นคำขอเสนอความเห็นแก้ไขปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 8 กลุ่ม ของ สปช.ต่อคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญที่จะเริ่มต้นในวันที่ 2-6 มิถุนายนนี้ ว่า มีการเตรียมการในการชี้แจงต่อกรรมาธิการยกร่างฯ กลุ่มละ 3-5 คน ใครยื่นเรื่องใดต้องชี้แจงเรื่องนั้น โดยสมาชิก สปช.ทำการบ้านกันแล้ว เพราะมีการประชุมกันว่าจะใครจะชี้แจงประเด็นไหน เชื่อว่าการตอบโต้เรื่องจุดอ่อน จุดแข็ง กมธ.ยกร่างฯ จะมีเหตุผลหักล้าง ทางผู้ขอแปรญัตติต้องทำการบ้านเพื่อชี้แจงกลับให้ได้
ทั้งนี้ เชื่อว่าบรรยากาศในการชี้แจงของผู้ยื่นคำขอกับ กมธ.ยกร่างฯ จะไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะทั้งสองฝ่ายคงพยายามไม่ทะเลาะให้บานปลายจนเสียความรู้สึกต่อกัน
สำหรับประเด็นหลักๆ ที่ กมธ.ยกร่างฯ จะไม่เปลี่ยนแปลงคือเรื่องระบบการเลือกตั้ง ระบบโอเพนลิสต์ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีคนนอก เนื่องจากให้เหตุผลว่าเขียนเพื่อแก้วิกฤต แต่อาจยอมแก้ไขมาตรา 181-182 รวมทั้งเรื่องที่คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ สามารถเสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษนั้น
หากไม่แก้ไขมาตรา 181-182 ที่มาสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ และอำนาจคณะกรรมการปรองดองฯ อาจทำให้ สปช.ไม่ยอมรับ เพราะเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนเห็นว่ามีปัญหา
ทั้งนี้ เชื่อว่าบรรยากาศในการชี้แจงของผู้ยื่นคำขอกับ กมธ.ยกร่างฯ จะไม่เกิดความขัดแย้ง เพราะทั้งสองฝ่ายคงพยายามไม่ทะเลาะให้บานปลายจนเสียความรู้สึกต่อกัน
สำหรับประเด็นหลักๆ ที่ กมธ.ยกร่างฯ จะไม่เปลี่ยนแปลงคือเรื่องระบบการเลือกตั้ง ระบบโอเพนลิสต์ รวมทั้งนายกรัฐมนตรีคนนอก เนื่องจากให้เหตุผลว่าเขียนเพื่อแก้วิกฤต แต่อาจยอมแก้ไขมาตรา 181-182 รวมทั้งเรื่องที่คณะกรรมการปรองดองแห่งชาติ สามารถเสนอพระราชกฤษฎีกาอภัยโทษนั้น
หากไม่แก้ไขมาตรา 181-182 ที่มาสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ และอำนาจคณะกรรมการปรองดองฯ อาจทำให้ สปช.ไม่ยอมรับ เพราะเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนเห็นว่ามีปัญหา