นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวถึงการพิจารณาถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กรณีออกหนังสือเดินทางให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ยังอยู่ในชั้นการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่า หากที่สุดแล้ว ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิดจริง ก็จะส่งเรื่องมายัง สนช.เพื่อพิจารณาต่อไป พร้อมยืนยันว่า แม้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะถูกถอดถอนไปแล้ว สนช.ก็ยังสามารถพิจารณาตามกระบวนการถอดถอนได้ เพราะเป็นเรื่องต่างกรรมต่างวาระ ซึ่งหาก สนช.มีมติถอดถอน ก็จะทำให้กรอบเวลาการเว้นวรรคทางการเมืองของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ขยายเพิ่มออกไปตามวันที่มีการลงมติในสำนวนคดีใหม่ด้วย แต่ไม่ควรตัดสินไปล่วงหน้า เพราะยังต้องรอให้การพิจารณาของ ป.ป.ช.เสร็จสิ้นก่อน
ส่วนสถานการณ์บ้านเมืองหลังจากมีการถอดยศและถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันไปแล้วว่า กระบวนการทั้งหมดเป็นเรื่องของกฎหมาย ไม่ใช่การกลั่นแกล้ง และเป็นเรื่องที่ดำเนินการมานานแล้ว แต่สิ้นสุดในช่วงนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะนายกรัฐมนตรีเร่งรัดสั่งให้ดำเนินการ จึงขอให้ประชาชนเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นกระบวนการที่มีอยู่แต่เดิม
ทั้งนี้ มองว่า เมื่อมีการถอนพอสปอร์ตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ย่อมมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องของกลุ่มนั้นๆ ในการแสดงออกหรือเคลื่อนไหว แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายความมั่นคงก็ต้องดูแลความเรียบร้อยตามหน้าที่เช่นกัน
ส่วนจะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้งหรือไม่ รองประธาน สนช.กล่าวว่า ถ้าหากไม่ดำเนินการ ก็อาจทำให้ถูกมองว่าไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ก็เป็นได้ จึงคิดว่านายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจอย่างถูกต้องแล้วอีกทั้ง หากเกิดเหตุการณ์ใด นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายได้
ส่วนสถานการณ์บ้านเมืองหลังจากมีการถอดยศและถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณ นั้น นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันไปแล้วว่า กระบวนการทั้งหมดเป็นเรื่องของกฎหมาย ไม่ใช่การกลั่นแกล้ง และเป็นเรื่องที่ดำเนินการมานานแล้ว แต่สิ้นสุดในช่วงนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะนายกรัฐมนตรีเร่งรัดสั่งให้ดำเนินการ จึงขอให้ประชาชนเข้าใจว่าเรื่องนี้เป็นกระบวนการที่มีอยู่แต่เดิม
ทั้งนี้ มองว่า เมื่อมีการถอนพอสปอร์ตของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ย่อมมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นเรื่องของกลุ่มนั้นๆ ในการแสดงออกหรือเคลื่อนไหว แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและฝ่ายความมั่นคงก็ต้องดูแลความเรียบร้อยตามหน้าที่เช่นกัน
ส่วนจะเป็นชนวนให้เกิดความขัดแย้งอีกครั้งหรือไม่ รองประธาน สนช.กล่าวว่า ถ้าหากไม่ดำเนินการ ก็อาจทำให้ถูกมองว่าไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ก็เป็นได้ จึงคิดว่านายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจอย่างถูกต้องแล้วอีกทั้ง หากเกิดเหตุการณ์ใด นายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวายได้