นายนรชิต สิงหเสนี ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติในมหาสมุทรอินเดีย ในวันที่ 29 พฤษภาคมนั้น โดยนานาประเทศกำลังให้ความสนใจเรื่องนี้มาก และการประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสที่ประเทศที่แสดงความห่วงกังวลจะได้มาร่วมกันแก้ไขปัญหา ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่จำเป็นต้องร่วมมือกัน และรับฟังว่าใครจะช่วยเหลือในประเด็นใดได้บ้าง เพราะเรื่องที่เกิดขึ้นถือเป็นปัญหาที่ประเทศใดประเทศหนึ่งแก้ไขเพียงลำพังไม่ได้ ดั้งนั้น ประชาคมระหว่างประเทศต้องร่วมมือกัน
ส่วนมาตรการต่างๆ นั้น จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เรื่องความช่วยเหลือเร่งด่วนและการช่วยชีวิต ซึ่งไทยได้ดำเนินการแล้วตามที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 25-26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำหรับมาตรการระยะกลาง คือ การหยุดยั้งการออกมา ระงับและปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ และสุดท้าย คือ การแก้ไขปัญหาระยะยาวที่รากเหง้า ปัญหา เกิดจากผู้คนต้องการออกมาหาโอกาสที่ดีกว่าในการดำรงชีวิต สิ่งที่ทำได้อาจให้คนออกมาตามระบบที่ถูกต้อง อาทิ การจัดทำเอ็มโอยูให้ออกมาทำงานหรือสร้างงานให้
อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้น และคิดว่าน่าจะตกลงกันเรื่องหลักการได้ แต่หากจะมีการลงนามใดๆ จำเป็นที่ต้องให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหารือกันต่อไปหลังจากนั้น และหากปัญหาไม่จบก็สามารถนำไปพูดคุยกันในกรอบอื่นๆ อาทิ อาเซียนได้เช่นกัน และเท่าที่ทราบในวันที่ 17 มิ.ย. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) กำหนดจะจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะแล้ว
ส่วนมาตรการต่างๆ นั้น จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ เรื่องความช่วยเหลือเร่งด่วนและการช่วยชีวิต ซึ่งไทยได้ดำเนินการแล้วตามที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 25-26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำหรับมาตรการระยะกลาง คือ การหยุดยั้งการออกมา ระงับและปราบปรามขบวนการค้ามนุษย์ และสุดท้าย คือ การแก้ไขปัญหาระยะยาวที่รากเหง้า ปัญหา เกิดจากผู้คนต้องการออกมาหาโอกาสที่ดีกว่าในการดำรงชีวิต สิ่งที่ทำได้อาจให้คนออกมาตามระบบที่ถูกต้อง อาทิ การจัดทำเอ็มโอยูให้ออกมาทำงานหรือสร้างงานให้
อย่างไรก็ตาม การประชุมในวันดังกล่าว เป็นจุดเริ่มต้น และคิดว่าน่าจะตกลงกันเรื่องหลักการได้ แต่หากจะมีการลงนามใดๆ จำเป็นที่ต้องให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องหารือกันต่อไปหลังจากนั้น และหากปัญหาไม่จบก็สามารถนำไปพูดคุยกันในกรอบอื่นๆ อาทิ อาเซียนได้เช่นกัน และเท่าที่ทราบในวันที่ 17 มิ.ย. สำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอชซีอาร์) กำหนดจะจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญเรื่องดังกล่าวเป็นการเฉพาะแล้ว