นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวถึงการส่งออกของไทยในเดือนเมษายน ที่ผ่านมา ซึ่งติดลบ -1.70% ว่า เป็นแนวโน้มที่ดีเพราะติดลบน้อยลงจากไตรมาสแรก ที่ติดลบสูงถึง -4.69% สาเหตุที่ไตรมาสแรกการส่งออกติดลบมาก เป็นเพราะราคาน้ำมันยังคงลดลงฉุดให้สินค้าในกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติกหดตัวลงไปมาก ประกอบกับหลายประเทศเพิ่งเริ่มใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งจะเห็นผลอย่างชัดเจนในช่วงไตรมาสที่ 2-4 ของปีนี้ ทำให้เชื่อว่าตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป แนวโน้มการส่งออกของไทยจะเริ่มดีขึ้นอย่างชัดเจน เห็นได้จากการส่งออกไปตลาดสหรัฐอเมริกาเริ่มดีขึ้น ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นก็ติดลบน้อยลง ในส่วนของกลุ่มสินค้าหลัก 3 รายการซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกสูงถึง 37% ของการส่งออกรวม ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า นั้นในกลุ่มยานยนต์และอิเล็คทรอนิกส์ยังไปได้ดี มีเพียงเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่มีปัญหาแผ่วลงไปมาก ซึ่งต้องเข้าไปแก้ไขให้ดีขึ้น เช่นเดียวกับกลุ่มอาหารทะเลซึ่งมีสัดส่วน 2.5 %ของการส่งออกรวม ก็ยังน่าเป็นห่วงเนื่องจากมีมูลค่าการส่งออกรวมนับแสนล้านบาท แต่ยังมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบน้อยลง อีกทั้งปัญหา IUU และ Tier 3 หากแก้ไขไม่ได้ภายใน 6 เดือนก็จะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศและจะลามไปยังกลุ่มสินค้าอื่นๆ ซึ่งเอกชนก็ต้องปรับตัวให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาด้วย โดยไทยควรจะร่วมมือกับ ASEAN กำหนดเป็นวาระระดับภูมิภาคในการแก้ปัญหาประมงและการค้ามนุษย์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ตัวเลขการส่งออกในช่วงไตรมาส 2 แล้ว สทร.จะทบทวนการคาดการณ์ภาวะการส่งออกปีนี้ใหม่อีกครั้ง แต่ ณ ปัจจุบันยังมองว่าการส่งออกไทยในปีนี้จะขยายตัวที่ 0% โดยหากตัดสินค้าในกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติกออกไปยอดการส่งออกรวมจะเป็นบวก ซึ่งในช่วงอีก 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ หากไทยทำยอดส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 19,300 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกปีนี้จะมีมูลค่าเท่ากับปีที่แล้ว แต่หากทำได้เฉลี่ยเดือนละ 19,600 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งออกก็จะเติบโตที่ 0% ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นงานหนัก เพราะยังมีระเบิดเวลาอีกหลายลูกที่พร้อมจะซ้ำเติมให้เศรษฐกิจโลกมียิ่งปัญหา เช่นภัยธรรมชาติ และปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ เป็นต้น
นายนพพร กล่าวย้ำด้วยว่า ภาคเอกชนไทยต้องปรับตัว 3 เรื่อง ได้แก่ นวัตกรรม ศักยภาพในการแข่งขัน และการทำการค้าอย่างยั่งยืน เพราะทั้งโลกกำลังอยู่ในช่วงปรับฐานทางเศรษฐกิจ ทุกประเทศกำลังปรับตัว ประเทศไทยเองซึ่งก็กำลังอยู่ในช่วงปฏิรูปก็จะต้องปรับตัวในด้านเศรษฐกิจด้วย เอกชนต้องบริหารต้นทุนให้แข่งขันได้ และต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม ต้องทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก สำหรับยุทธศาสตร์การค้าก็ต้องมุ่งเน้นไปที่ตลาด จีน อินเดีย และรัสเซีย ซึ่งมีขนาดตลาดใหญ่คิดเป็น 1 ใน 3 ของทั้งโลก ที่สำคัญคือภูมิศาสตร์อยู่ใกล้ประเทศไทย อีกทั้ง 3 ตลาดยังมีแนวโน้มรวมตัวกันเป็นแกนใหม่ของโลก หากไทยไม่สามารถเจาะตลาดเข้าไปเป็น 1 ใน 5 ในสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญได้ เท่ากับว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับต่ำมาก
อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ตัวเลขการส่งออกในช่วงไตรมาส 2 แล้ว สทร.จะทบทวนการคาดการณ์ภาวะการส่งออกปีนี้ใหม่อีกครั้ง แต่ ณ ปัจจุบันยังมองว่าการส่งออกไทยในปีนี้จะขยายตัวที่ 0% โดยหากตัดสินค้าในกลุ่มน้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติกออกไปยอดการส่งออกรวมจะเป็นบวก ซึ่งในช่วงอีก 8 เดือนที่เหลือของปีนี้ หากไทยทำยอดส่งออกได้เฉลี่ยเดือนละ 19,300 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกปีนี้จะมีมูลค่าเท่ากับปีที่แล้ว แต่หากทำได้เฉลี่ยเดือนละ 19,600 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ ส่งออกก็จะเติบโตที่ 0% ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นงานหนัก เพราะยังมีระเบิดเวลาอีกหลายลูกที่พร้อมจะซ้ำเติมให้เศรษฐกิจโลกมียิ่งปัญหา เช่นภัยธรรมชาติ และปัญหาการเมืองระหว่างประเทศ เป็นต้น
นายนพพร กล่าวย้ำด้วยว่า ภาคเอกชนไทยต้องปรับตัว 3 เรื่อง ได้แก่ นวัตกรรม ศักยภาพในการแข่งขัน และการทำการค้าอย่างยั่งยืน เพราะทั้งโลกกำลังอยู่ในช่วงปรับฐานทางเศรษฐกิจ ทุกประเทศกำลังปรับตัว ประเทศไทยเองซึ่งก็กำลังอยู่ในช่วงปฏิรูปก็จะต้องปรับตัวในด้านเศรษฐกิจด้วย เอกชนต้องบริหารต้นทุนให้แข่งขันได้ และต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อม ต้องทำตัวให้เป็นผู้ใหญ่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของตลาดโลก สำหรับยุทธศาสตร์การค้าก็ต้องมุ่งเน้นไปที่ตลาด จีน อินเดีย และรัสเซีย ซึ่งมีขนาดตลาดใหญ่คิดเป็น 1 ใน 3 ของทั้งโลก ที่สำคัญคือภูมิศาสตร์อยู่ใกล้ประเทศไทย อีกทั้ง 3 ตลาดยังมีแนวโน้มรวมตัวกันเป็นแกนใหม่ของโลก หากไทยไม่สามารถเจาะตลาดเข้าไปเป็น 1 ใน 5 ในสินค้าที่มีความเชี่ยวชาญได้ เท่ากับว่าขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในระดับต่ำมาก