พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงค์ศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) ดูแลงานจราจร เปิดเผยถึงโครงการจัดซื้อเครื่องออกใบสั่งอิเล็กทรอนิค หรืออีทิคเก็ตว่า หลังจากที่ตนได้ทำโครงการของบประมาณจำนวน 190 ล้านบาท สำหรับซื้อเครื่องอีทิคเก็ต จำนวน 1,300 เครื่อง กับกองทุนสืบสวนคดีอาญาของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.) ไปแล้วนั้น ล่าสุดสตช.ได้มีความเห็นชอบและอนุมัติงบมาเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของสตช. ที่ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาศักยภาพของตำรวจจราจร
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาบช.น.ได้เสนอโครงการดังกล่าวไปยังกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อขอจัดสรรงบประมาณในส่วนที่เป็นค่าปรับจราจรที่บช.น.ได้ส่งมอบให้ท้องถิ่น เพื่อนำเงินส่วนดังกล่าวมาซื้ออุปกรณ์เครื่องออกใบสั่งอีทิคเก็ต แต่ไม่มีความคืบหน้าและโครงการฯก็ถูกชะลอมาเป็นเวลานานหลายปี โดยล่าสุดกทม.แจ้งว่า จะรอนำเรื่องเข้าขอจัดสรรงบประมาณจากสภากรุงเทพมหานคร(สภากทม.) ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งขณะนี้เมื่อทางสตช.อนุมัติงบให้มาดำเนินการแล้ว ก็คงไม่ต้องรองบของกทม. สามารถเดินหน้าการจัดซื้อและนำเครื่องมาใช้งานตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ คาดว่าจะได้เครื่องมาใช้ประมาณเดือนก.ย.นี้
ทั้งนี้สำหรับการจัดสรรเครื่องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนั้นจะมอบให้ทั้งในส่วนของจราจรกลาง กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.)และสน.ท้องที่ ซึ่งคาดว่าทั้ง 88 สน. แต่ละสน.จะได้รับจัดสรร 2-3 เครื่องในการจัดซื้อล็อตแรกนำร่องนี้และทำการประเมินการใช้งานต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์กล่าวต่อว่า ในส่วนของการชำระค่าปรับผ่านทางธนาคารและเคาน์เตอร์เซอร์วิส ขณะนี้ทางสตช.ก็มีมติเห็นชอบเช่นกัน ซึ่งในขั้นตอนต่อไปก็จะมีการพิจารณาในเรื่องของการกำหนดจุดนำร่องที่จะสามารถให้ประชาชนนำใบสั่งไปชำระค่าปรับได้ ทั้งนี้ในส่วนของการแก้กฎหมายพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 นั้น ได้มีการแก้กฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโลยีทั้งในส่วนของอีทิกเก็ตและการชำระใบสั่งผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งขั้นตอนต่อไปสตช.จะต้องมีการเสนอการปรับแก้กม.พ.ร.บ.จราจรทางบก เข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อมีมติก่อนเสนอต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณา ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนก.ย.58 นี้
อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาบช.น.ได้เสนอโครงการดังกล่าวไปยังกรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อขอจัดสรรงบประมาณในส่วนที่เป็นค่าปรับจราจรที่บช.น.ได้ส่งมอบให้ท้องถิ่น เพื่อนำเงินส่วนดังกล่าวมาซื้ออุปกรณ์เครื่องออกใบสั่งอีทิคเก็ต แต่ไม่มีความคืบหน้าและโครงการฯก็ถูกชะลอมาเป็นเวลานานหลายปี โดยล่าสุดกทม.แจ้งว่า จะรอนำเรื่องเข้าขอจัดสรรงบประมาณจากสภากรุงเทพมหานคร(สภากทม.) ในปีงบประมาณ 2559 ซึ่งขณะนี้เมื่อทางสตช.อนุมัติงบให้มาดำเนินการแล้ว ก็คงไม่ต้องรองบของกทม. สามารถเดินหน้าการจัดซื้อและนำเครื่องมาใช้งานตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้ คาดว่าจะได้เครื่องมาใช้ประมาณเดือนก.ย.นี้
ทั้งนี้สำหรับการจัดสรรเครื่องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรนั้นจะมอบให้ทั้งในส่วนของจราจรกลาง กองบังคับการตำรวจจราจร(บก.จร.)และสน.ท้องที่ ซึ่งคาดว่าทั้ง 88 สน. แต่ละสน.จะได้รับจัดสรร 2-3 เครื่องในการจัดซื้อล็อตแรกนำร่องนี้และทำการประเมินการใช้งานต่อไป
พล.ต.ต.อดุลย์กล่าวต่อว่า ในส่วนของการชำระค่าปรับผ่านทางธนาคารและเคาน์เตอร์เซอร์วิส ขณะนี้ทางสตช.ก็มีมติเห็นชอบเช่นกัน ซึ่งในขั้นตอนต่อไปก็จะมีการพิจารณาในเรื่องของการกำหนดจุดนำร่องที่จะสามารถให้ประชาชนนำใบสั่งไปชำระค่าปรับได้ ทั้งนี้ในส่วนของการแก้กฎหมายพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 นั้น ได้มีการแก้กฎหมายเพื่อรองรับเทคโนโลยีทั้งในส่วนของอีทิกเก็ตและการชำระใบสั่งผ่านเคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งขั้นตอนต่อไปสตช.จะต้องมีการเสนอการปรับแก้กม.พ.ร.บ.จราจรทางบก เข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อมีมติก่อนเสนอต่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.)พิจารณา ก่อนจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนก.ย.58 นี้