พล.ต.ต.อดุลย์ ณรงศักดิ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(รองผบช.น.) ดูแลงานจราจร กล่าวว่า ขณะนี้บช.น.กำลังดำเนินการแก้ไขกฎหมาย ในส่วนของการแบ่งค่าปรับจราจร ตามพ.ร.บ.การจราจรทางบก ซึ่งแต่เดิมได้กำหนดไว้ว่า การแบ่งค่าปรับจราจร ขั้นตอนที่ 1 จะต้องแบ่งเงินค่าปรับออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ครึ่งหนึ่งจะนำส่งให้กรุงเทพมหานคร(กทม.) เพื่อนำงบประมาณไปพัฒนาเมือง ส่วนที่สอง จะนำมาหักเป็นรายได้ของแผ่นดิน 5 เปอร์เซนต์ ที่เหลือก็จะจัดสรรเป็นเงินรางวัลแก่ผู้จับกุม ซึ่งในส่วนนี้ผู้จับกุมที่สามารถได้รับส่วนแบ่งจากค่าปรับ จะมีเพียง ตำรวจจราจร เท่านั้น แต่ในปี58 บชน.จะดำเนินการจัดตั้งอาสาสมัครผู้พิทักษ์ถนน ซึ่งจะเป็นผู้ช่วยงาน เสมือนเป็นตำรวจจราจร โดยอาสาสมัคร จะช่วยในการบังคับใช้กฎหมาย ผ่านทางแอปพลิเคชั่น ซึ่งมีรูปแบบในการทำงานโดยเมื่อ พบเห็นผู้กระทำความผิดสามารถใช้โทรศัพท์ถ่ายรูปภาพและคลิปวิดีโอ แล้วส่งหลักฐานที่มีการบันทึกผ่านแอปพลิเคชั่น เพื่อลิงค์สัญญาณส่งข้อมูลเข้ามายังศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร(บก.02) ให้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และประเมินว่าพฤติกรรมละเมิดกฎหมายนั้นเข้าข่ายมีความผิดหรือไม่ หากพบว่าผิดก็จะ ส่งใบสั่ง ไปที่บ้านเพื่อเรียกให้มาชำระค่าปรับ
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ในกรณีดังกล่าว หากประชาชนผู้เป็นอาสาสมัครฯสามารถ ได้รับเงินส่วนแบ่งจากค่าปรับ ก็จะช่วยเป็นแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งเหตุที่บช.น.ต้องมีโครงการนี้ เนื่องจากปัจจุบันกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมีไม่เพียงพอ อีกทั้งเมื่อประชาชนอยู่ต่อหน้าตำรวจจราจรก็จะไม่กล้ากระทำความผิดกฎจราจร แต่เมื่อไม่มีตำรวจจราจร ประชาชนก็จะลักลอบกระทำความผิดเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยอยู่เสมอ เช่นกรณีขับรถฝ่าไฟแดง ดังนั้นหากมีอาสาสมัครฯที่ ช่วยงานเพิ่ม ก็จะทำให้ประชาชนไม่กล้ากระทำความผิด อย่างไรก็ตาม สำหรับการแก้ไขกฎหมายให้ประชาชนผู้เป็นอาสาสมัคร สามารถได้รับส่วนแบ่งจากค่าปรับจราจร นั้น ขณะนี้ บช.น.อยู่ระหว่าง ส่งเรื่องแก้ไขไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช) เพื่อแก้ไขประกาศสตช. หากได้รับการอนุมัติ ก็สามารถดำเนินการ ทันที โดยอาสาสมัครในโครงการ จะมีจำนวนทั้งสิ้น 1,000คน ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมการดูแลงานจราจร และกฎหมาย เป็นอย่างดี
พล.ต.ต.อดุลย์ กล่าวต่อว่า ในกรณีดังกล่าว หากประชาชนผู้เป็นอาสาสมัครฯสามารถ ได้รับเงินส่วนแบ่งจากค่าปรับ ก็จะช่วยเป็นแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งเหตุที่บช.น.ต้องมีโครงการนี้ เนื่องจากปัจจุบันกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรมีไม่เพียงพอ อีกทั้งเมื่อประชาชนอยู่ต่อหน้าตำรวจจราจรก็จะไม่กล้ากระทำความผิดกฎจราจร แต่เมื่อไม่มีตำรวจจราจร ประชาชนก็จะลักลอบกระทำความผิดเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยอยู่เสมอ เช่นกรณีขับรถฝ่าไฟแดง ดังนั้นหากมีอาสาสมัครฯที่ ช่วยงานเพิ่ม ก็จะทำให้ประชาชนไม่กล้ากระทำความผิด อย่างไรก็ตาม สำหรับการแก้ไขกฎหมายให้ประชาชนผู้เป็นอาสาสมัคร สามารถได้รับส่วนแบ่งจากค่าปรับจราจร นั้น ขณะนี้ บช.น.อยู่ระหว่าง ส่งเรื่องแก้ไขไปยังสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช) เพื่อแก้ไขประกาศสตช. หากได้รับการอนุมัติ ก็สามารถดำเนินการ ทันที โดยอาสาสมัครในโครงการ จะมีจำนวนทั้งสิ้น 1,000คน ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมการดูแลงานจราจร และกฎหมาย เป็นอย่างดี