รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยว่า ศาลจังหวัดนางรอง พิพากษาจำคุก น.ส.สุทิสา ทิพย์อักษร อดีตหัวหน้าส่วนการคลัง องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ลำไทรโยง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ 210 ปี เนื่องจากมีพฤติการณ์ทุจริตเบียดบังเงินของอบต.ไปเป็นของตัวเอง โดยการปลอมเอกสาร ปลอมตั๋วเงิน (เช็ค) รวมมูลค่ากว่า 9 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติชี้มูลความผิด
โดยกรณีดังกล่าว ป.ป.ช. ไต่สวนปรากฏพยานหลักฐานพบว่า น.ส.สุทิสา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลังฯ ได้กรอกข้อความลงในเช็คสั่งจ่าย อบต.ลำไทรโยง บางครั้งเขียนสั่งจ่ายตนเองทับข้อความ อบต.ลำไทรโยง โดยขีดฆ่าชื่อผู้รับเงิน แล้วนำไปให้ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย/ถอนเงิน 2 ราย ลงลายมือชื่อในเช็ค และลงลายมือชื่อกำกับส่วนที่แก้ไข โดย น.ส.สุทิสา ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าการแก้ไขกระทำโดยถูกต้อง แล้วใส่ชื่อของตนเองเป็นผู้รับเงินแทน จากนั้นได้นำเช็คดังกล่าวไปเบิกถอนเงินจากธนาคาร เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง รวมถึงกรอกข้อความลงในเช็คสั่งจ่ายตนเอง และปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายหรือถอนเงิน 2 ราย โดยตนเองลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายด้วย จากนั้นได้นำเช็คดังกล่าวไปเบิกถอนเงินจากธนาคาร เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง อีกทั้งกรอกข้อความลงในเช็คสั่งจ่ายบุคคลต่างๆ ที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ของตน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย จากนั้นได้นำเช็คดังกล่าวไปฝากเข้าสมุดบัญชีลูกหนี้ แล้วใช้บัตรเอทีเอ็มที่ลูกหนี้มอบไว้เบิก ถอนเงิน เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง โดยรวมกระทำการในลักษณะดังกล่าวจำนวน 42 ครั้ง เบียดบังเงินหลวงไปทั้งสิ้น 9,153,171 บาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติว่าการกระทำของ น.ส.สุทิสา มีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ด้วยเหตุที่อบต.ลำไทรโยง ได้มีคำสั่งลงโทษไล่น.ส.สุทิสา ออกจากราชการไปก่อน ซึ่งเหมาะสมแก่กรณีแล้ว จึงให้แจ้งผลการพิจารณาของป.ป.ช.ให้ผู้บังคับบัญชาของน.ส.สุทิสา ทราบ รวมถึงมีมูลความผิดทางอาญา จึงให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ทั้งนี้ศาลจังหวัดนางรอง พิพากษาว่า น.ส.สุทิสา มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (คดีหมายเลขแดงที่ 2001/2556) มาตรา 147 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 266 (4) และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (4) ฐานใช้เอกสารปลอม ทั้งนี้ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งแต่ละกรรมเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 42 กระทง จำคุก 210 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 105 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จึงให้จำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ทั้งยังให้คืนเงิน 7,094,871.91 บาท แก่อบต.ลำไทรโยง ซึ่งเป็นส่วนที่ยังไม่ได้ชดใช้คืน ทั้งนี้เหตุดังกล่าวเกิดประมาณปี 2552-2553 และศาลพิพากษาในปี 2556 และล่าสุดแม้น.ส.สุทิสา อุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
โดยกรณีดังกล่าว ป.ป.ช. ไต่สวนปรากฏพยานหลักฐานพบว่า น.ส.สุทิสา เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วนการคลังฯ ได้กรอกข้อความลงในเช็คสั่งจ่าย อบต.ลำไทรโยง บางครั้งเขียนสั่งจ่ายตนเองทับข้อความ อบต.ลำไทรโยง โดยขีดฆ่าชื่อผู้รับเงิน แล้วนำไปให้ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย/ถอนเงิน 2 ราย ลงลายมือชื่อในเช็ค และลงลายมือชื่อกำกับส่วนที่แก้ไข โดย น.ส.สุทิสา ได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้ด้วยเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่าการแก้ไขกระทำโดยถูกต้อง แล้วใส่ชื่อของตนเองเป็นผู้รับเงินแทน จากนั้นได้นำเช็คดังกล่าวไปเบิกถอนเงินจากธนาคาร เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง รวมถึงกรอกข้อความลงในเช็คสั่งจ่ายตนเอง และปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายหรือถอนเงิน 2 ราย โดยตนเองลงลายมือชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายด้วย จากนั้นได้นำเช็คดังกล่าวไปเบิกถอนเงินจากธนาคาร เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง อีกทั้งกรอกข้อความลงในเช็คสั่งจ่ายบุคคลต่างๆ ที่เป็นลูกหนี้เงินกู้ของตน แล้วปลอมลายมือชื่อผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่าย จากนั้นได้นำเช็คดังกล่าวไปฝากเข้าสมุดบัญชีลูกหนี้ แล้วใช้บัตรเอทีเอ็มที่ลูกหนี้มอบไว้เบิก ถอนเงิน เบียดบังเอาเงินไปเป็นของตนเอง โดยรวมกระทำการในลักษณะดังกล่าวจำนวน 42 ครั้ง เบียดบังเงินหลวงไปทั้งสิ้น 9,153,171 บาท
คณะกรรมการ ป.ป.ช.จึงมีมติว่าการกระทำของ น.ส.สุทิสา มีมูลความผิดวินัยอย่างร้ายแรง แต่ด้วยเหตุที่อบต.ลำไทรโยง ได้มีคำสั่งลงโทษไล่น.ส.สุทิสา ออกจากราชการไปก่อน ซึ่งเหมาะสมแก่กรณีแล้ว จึงให้แจ้งผลการพิจารณาของป.ป.ช.ให้ผู้บังคับบัญชาของน.ส.สุทิสา ทราบ รวมถึงมีมูลความผิดทางอาญา จึงให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี
ทั้งนี้ศาลจังหวัดนางรอง พิพากษาว่า น.ส.สุทิสา มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา (คดีหมายเลขแดงที่ 2001/2556) มาตรา 147 มาตรา 157 มาตรา 161 มาตรา 266 (4) และมาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 266 (4) ฐานใช้เอกสารปลอม ทั้งนี้ เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งแต่ละกรรมเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ซื้อ ทำ จัดการหรือรักษาทรัพย์ เบียดบังทรัพย์นั้นเป็นของตนโดยทุจริต ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุกกระทงละ 5 ปี รวม 42 กระทง จำคุก 210 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 105 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงแล้ว จึงให้จำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 (3) ทั้งยังให้คืนเงิน 7,094,871.91 บาท แก่อบต.ลำไทรโยง ซึ่งเป็นส่วนที่ยังไม่ได้ชดใช้คืน ทั้งนี้เหตุดังกล่าวเกิดประมาณปี 2552-2553 และศาลพิพากษาในปี 2556 และล่าสุดแม้น.ส.สุทิสา อุทธรณ์ขอให้รอการลงโทษ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น