นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ชี้แจงระหว่างการอภิปรายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 59 ว่า การที่รัฐบาลกำหนดกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปี 59 วงเงินรวม 2.72 ล้านล้านบาท เป็นงบประมาณแบบขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท จัดสรรให้สำหรับรายจ่ายเงินลงทุน 5.43 แสนล้านบาท เพื่อต้องการอัดฉีดเงินออกสู่ระบบหวังฟื้นเศรษฐกิจ โดยงบลงทุนมีสัดส่วนร้อยละ 20 ของงบประมาณทั้งหมด และงบการลงทุนเน้นไปในด้านโครงสร้างพื้นฐานวงเงิน 86,000 ล้านบาท ขณะที่การลงทุนทั้งหมดของโครงสร้างพื้นฐานในช่วงงบปี 59 ต้องการเงินลงทุน 265,000 ล้านบาท เมื่อได้รับจัดสรรงบประมาณ 86,000 ล้านบาท จึงต้องกู้เงินจากระบบมาลงทุน 1.29 แสนล้านบาท เงินลงทุนรัฐวิสาหกิจ 13,000 ล้านบาท และการร่วมลงทุนจากภาคเอกชน 36,000 ล้านบาท จากนั้นเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในปี 60 เพิ่มเป็น 389,000 ล้านบาท และในปี 61เพิ่มเป็น 465,000 ล้านบาท นอกจากการใช้กู้เงิน และเงินงบประมาณรัฐบาลแล้ว ยังต้องหาทางจัดเก็บภาษีในด้านต่างๆ เพราะไทยมีรายได้จัดเก็บภาษีร้อยละ 18-19 ของจีดีพี ขณะที่ประเทศอาเซียนสัดส่วนร้อยละ 21 ประเทศพัฒนาแล้วมีสัดส่วนร้อยละ 30รัฐบาลจึงต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีให้ดีขึ้น
สำหรับการแก้ปัญหาภาระหนี้สิน รัฐบาลมีภาระจากโครงการจำนำข้าวประมาณ 513,920 ล้านบาท เมื่อรวมภาระหนี้ของการรถไฟฯ ขสมก. หนี้กองทุนประกันสังคม รวมมีภาระหนี้ต้องบริหารจัดการประมาณ 726,000 ล้านบาท รัฐบาลจึงต้องออกพันธบัตรดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3.5 ระยะเวลา 20 ปี จึงมีภาระต้องชำระทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยประมาณ 64,000 ล้านบาทต่อปีตลอดระยะเวลา 20 ปี จึงต้องหาแนวทางบริหารจัดการภาระหนี้ให้ลดลงโดยเร็ว
สำหรับการแก้ปัญหาภาระหนี้สิน รัฐบาลมีภาระจากโครงการจำนำข้าวประมาณ 513,920 ล้านบาท เมื่อรวมภาระหนี้ของการรถไฟฯ ขสมก. หนี้กองทุนประกันสังคม รวมมีภาระหนี้ต้องบริหารจัดการประมาณ 726,000 ล้านบาท รัฐบาลจึงต้องออกพันธบัตรดอกเบี้ยต่ำร้อยละ 3.5 ระยะเวลา 20 ปี จึงมีภาระต้องชำระทั้งเงินต้น และดอกเบี้ยประมาณ 64,000 ล้านบาทต่อปีตลอดระยะเวลา 20 ปี จึงต้องหาแนวทางบริหารจัดการภาระหนี้ให้ลดลงโดยเร็ว