พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในฐานะดูแลกำกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (สปภ.) กล่าวว่า ได้หารือกับ นายยศศักดิ์ คงมาก ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เพื่อให้จัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อชุดผจญเพลิงเพิ่มเติม จำนวน 200 ชุด ประกอบด้วยเสื้อ กางเกงและรองเท้า ชุดละประมาณ 40,000-50,000 บาท จากเดิมที่ สปภ.ตั้งเป้าจะซื้อชุดผจญเพลิงทั้งหมด 2,000 ชุด แต่เนื่องจากงบประมาณมีจำกัด อีกทั้งการเกิดไฟไหม้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ขณะเดียวกัน ชุดผจญเพลิงมีอายุการใช้งานเพียง 5 ปี ดังนั้น จึงจัดซื้อเพียง 400 ชุด เพื่อแจกจ่ายไปยังสถานีดับเพลิงต่างๆ โดยจะจัดซื้อปีละ 400 ชุด เป็นเวลา 5 ปี โดยเริ่มจัดซื้อตั้งแต่ปี 2556 จำนวน 400 ชุด ปี 2557 จำนวน 400 ชุด และปี 2558 เสนอจัดซื้อชุดผจญเพลิง จำนวน 400 ชุด แต่ถูกตัดออกเหลือ 200 ชุด ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดซื้อเพิ่มเติมในปีนี้อีก 200 ชุด
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สปภ.มีชุดผจญเพลิงประมาณ 1,000 ชุด มีอายุการใช้งานเพียง 5 ปีเท่านั้น แต่ทุกชุดได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2544
นอกจากนี้ สปภ.ยังจัดซื้อรถดับเพลิงขนาดเล็กเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ มีท่อน้ำยาวประมาณ 100 เมตร จำนวน 3 คัน ซึ่งจะได้ใช้ในปี 2559 โดยรถดับเพลิงขนาดเล็กจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ชุมชนที่มีขนาดคับแคบได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จะมีการเสนอสภา กทม.พิจารณาขอความเห็นชอบ ในการเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับเจ้าหน้าที่นักผจญเพลิงเป็น 8,000 บาทต่อเดือน จากเดิม 5,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากเป็นอัตราเก่าและไม่ได้มีการเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยมานานแล้ว อีกทั้งปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับเจ้าหน้าที่นักผจญเพลิง
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน สปภ.มีชุดผจญเพลิงประมาณ 1,000 ชุด มีอายุการใช้งานเพียง 5 ปีเท่านั้น แต่ทุกชุดได้เริ่มใช้งานมาตั้งแต่ปี 2544
นอกจากนี้ สปภ.ยังจัดซื้อรถดับเพลิงขนาดเล็กเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ มีท่อน้ำยาวประมาณ 100 เมตร จำนวน 3 คัน ซึ่งจะได้ใช้ในปี 2559 โดยรถดับเพลิงขนาดเล็กจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ชุมชนที่มีขนาดคับแคบได้อย่างรวดเร็ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น
ขณะเดียวกัน จะมีการเสนอสภา กทม.พิจารณาขอความเห็นชอบ ในการเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับเจ้าหน้าที่นักผจญเพลิงเป็น 8,000 บาทต่อเดือน จากเดิม 5,000 บาทต่อเดือน เนื่องจากเป็นอัตราเก่าและไม่ได้มีการเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยมานานแล้ว อีกทั้งปัจจุบันค่าครองชีพสูงขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับเพิ่มเบี้ยเสี่ยงภัยให้กับเจ้าหน้าที่นักผจญเพลิง