นายเกษมสันต์ จิณณวาโส เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ประกาศกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในท้องที่ ต.วัดเกต ต.หนองหอย อ.เมืองเชียงใหม่ ต.หนองผึ้ง ต.ยางเนิ้ง และ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ และในท้องที่ ต.อุโมงค์ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน พ.ศ.2558 ซึ่งเป็นพื้นที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 เป็นพื้นที่ใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 รวมเวลา 5 ปี
สำหรับขอบเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน เริ่มวัดจากแนวเส้นศูนย์กลางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 (ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน) ออกไป 2 ด้าน ด้านละ 40 เมตร โดยเริ่มระยะทางตั้งแต่ลำเหมืองพญาคำ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ถึงสุดเขต ต.อุโมงค์ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน รวม 27.25 กิโลเมตร เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นถนนที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากว่า 200 ปี ที่มีความโดดเด่น เนื่องจากมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้แบบอย่างมาจากยุโรปในการปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะต้นยางนา ที่เดิมมีมากกว่า 2,000 ต้น และมีอายุเกิน 100 ปี แต่ปัจจุบันนี้เหลือต้นยางนาเพียง 995 ต้น และอยู่ในภาวะวิกฤตยืนต้นตายอีกจำนวนมาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาพื้นที่ การบุกรุกจากปรับปรุงพื้นที่ และการติดป้ายโฆษณาตามต้นไม้ ขณะที่ต้นขี้เหล็กในพื้นที่ จ.ลำพูนเหลือเพียง 138 ต้น
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อป้องกันการบุกรุกเพิ่ม โดยห้ามทำกิจกรรมที่จะเกิดอันตรายต่อต้นยางนา ต้นขี้เหล็ก กำหนดความสูงของอาคารต้องไม่มีหน้าอาคารเกิน 36 เมตร ห้ามทำกิจกรรมบรรจุก๊าซและเชื้อเพลิง การติดป้าย หรือออกประกาศบริเวณต้นไม้
สำหรับขอบเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมบริเวณ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน เริ่มวัดจากแนวเส้นศูนย์กลางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 (ถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน) ออกไป 2 ด้าน ด้านละ 40 เมตร โดยเริ่มระยะทางตั้งแต่ลำเหมืองพญาคำ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ ถึงสุดเขต ต.อุโมงค์ อ.เมืองลำพูน จ.ลำพูน รวม 27.25 กิโลเมตร เพราะพื้นที่ดังกล่าวเป็นถนนที่มีคุณค่าและความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากว่า 200 ปี ที่มีความโดดเด่น เนื่องจากมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงได้แบบอย่างมาจากยุโรปในการปลูกต้นไม้ โดยเฉพาะต้นยางนา ที่เดิมมีมากกว่า 2,000 ต้น และมีอายุเกิน 100 ปี แต่ปัจจุบันนี้เหลือต้นยางนาเพียง 995 ต้น และอยู่ในภาวะวิกฤตยืนต้นตายอีกจำนวนมาก สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการพัฒนาพื้นที่ การบุกรุกจากปรับปรุงพื้นที่ และการติดป้ายโฆษณาตามต้นไม้ ขณะที่ต้นขี้เหล็กในพื้นที่ จ.ลำพูนเหลือเพียง 138 ต้น
เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า การบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อป้องกันการบุกรุกเพิ่ม โดยห้ามทำกิจกรรมที่จะเกิดอันตรายต่อต้นยางนา ต้นขี้เหล็ก กำหนดความสูงของอาคารต้องไม่มีหน้าอาคารเกิน 36 เมตร ห้ามทำกิจกรรมบรรจุก๊าซและเชื้อเพลิง การติดป้าย หรือออกประกาศบริเวณต้นไม้