ศาสตราจารย์ นายแพทย์ รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สมาพันธ์ความดันโลหิตสูงโลก ได้กำหนดให้วันที่ 17 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันความดันโลหิตสูงโลก เพื่อให้ทุกประเทศเร่งรณรงค์สร้างกระแสตื่นตัวตระหนักต่อโรคความดันโลหิตสูง องค์การอนามัยโลกได้รายงานสถานการณ์ล่าสุดในปี 2554 ทั่วโลกมีผู้มีความดันโลหิตสูงเกือบ 1,000 ล้านคน
สำหรับประเทศไทย ผลสำรวจสุขภาพประชาชนปี 2556 พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 90,564 คน ส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นจาก 3,684 คน ในปี 2555 เป็น 5,165 คน ในปี 2556 แต่ที่น่าวิตกคือ ในผู้ป่วยทั้งหมดมีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รู้ตัวว่าป่วย และเข้าสู่กระบวนการควบคุมเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่น จึงให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จัดเผยแพร่ข้อมูลและเชิญชวนประชาชนมาตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ทั้งนี้ โรคความดันโลหิตสูง มีผลต่อหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจ อาจเป็นสาเหตุให้หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตก ตีบ และเร่งให้เกิดการเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ ปัจจัยเสี่ยงก่อโรค มาจากการพฤติกรรมการบริโภค คือ ทานอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด ทานผักและผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่
สำหรับประเทศไทย ผลสำรวจสุขภาพประชาชนปี 2556 พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 90,564 คน ส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เพิ่มขึ้นจาก 3,684 คน ในปี 2555 เป็น 5,165 คน ในปี 2556 แต่ที่น่าวิตกคือ ในผู้ป่วยทั้งหมดมีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่รู้ตัวว่าป่วย และเข้าสู่กระบวนการควบคุมเพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนอื่น จึงให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ จัดเผยแพร่ข้อมูลและเชิญชวนประชาชนมาตรวจวัดความดันโลหิตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ทั้งนี้ โรคความดันโลหิตสูง มีผลต่อหลอดเลือดและการไหลเวียนเลือดและออกซิเจนไปสู่หัวใจ อาจเป็นสาเหตุให้หัวใจล้มเหลว หลอดเลือดสมองแตก ตีบ และเร่งให้เกิดการเป็นโรคไตวายระยะสุดท้ายได้ ปัจจัยเสี่ยงก่อโรค มาจากการพฤติกรรมการบริโภค คือ ทานอาหารรสหวาน มัน เค็มจัด ทานผักและผลไม้น้อย ขาดการออกกำลังกาย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่