นายเสข วรรณเมธี อธิบดีกรมสารนิเทศ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีที่นายจอห์น แคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา โทรศัพท์ถึง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดูแลชาวโรฮีนจา ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ยืนยันแล้วว่าไทยดำเนินนโยบายให้การดูแลผู้ลี้ภัยด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมมาโดยตลอด และจะไม่มีการผลักดันออกไป
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีเรือบรรทุกชาวโรฮีนจาเข้ามาในน่านน้ำของไทย บริเวณ จ.สตูล เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมนั้น รัฐบาลได้ให้กองทัพเรือไปตรวจสอบ แต่กลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเรือลำดังกล่าวมีความประสงค์ที่จะเดินทางต่อไปอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม และน้ำมัน สำหรับเรือลำดังกล่าวแล้ว
ส่วนข้อเสนอให้ตั้งศูนย์พักพิงนั้น ขอยืนยันว่า ไทยพร้อมที่จะดูแล แต่จะต้องเป็นศูนย์ชั่วคราว เพราะจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดแก่ผู้ที่ไม่ได้ประสบภัยอย่างแท้จริง ซึ่งอาจใช้โอกาสดังกล่าวในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศได้ออกหนังสือเชิญไปยัง 17 ประเทศในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรฮีนจาในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ เชื่อว่าทุกประเทศจะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไรจากพม่าว่าจะไม่ส่งคนมาร่วมแต่อย่างใด เชื่อว่าเวทีนี้จะมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาโรฮีนจาและปัญหาการค้ามนุษย์ต่อไป
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า กรณีเรือบรรทุกชาวโรฮีนจาเข้ามาในน่านน้ำของไทย บริเวณ จ.สตูล เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมนั้น รัฐบาลได้ให้กองทัพเรือไปตรวจสอบ แต่กลุ่มผู้โยกย้ายถิ่นฐานในเรือลำดังกล่าวมีความประสงค์ที่จะเดินทางต่อไปอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม และน้ำมัน สำหรับเรือลำดังกล่าวแล้ว
ส่วนข้อเสนอให้ตั้งศูนย์พักพิงนั้น ขอยืนยันว่า ไทยพร้อมที่จะดูแล แต่จะต้องเป็นศูนย์ชั่วคราว เพราะจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย ไม่เช่นนั้นจะเป็นการส่งสัญญาณที่ผิดแก่ผู้ที่ไม่ได้ประสบภัยอย่างแท้จริง ซึ่งอาจใช้โอกาสดังกล่าวในการเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยอย่างผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม กระทรวงการต่างประเทศได้ออกหนังสือเชิญไปยัง 17 ประเทศในภูมิภาคที่เกี่ยวข้องประชุมร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาโรฮีนจาในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ เชื่อว่าทุกประเทศจะส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม และจนถึงขณะนี้ยังไม่มีสัญญาณอะไรจากพม่าว่าจะไม่ส่งคนมาร่วมแต่อย่างใด เชื่อว่าเวทีนี้จะมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาโรฮีนจาและปัญหาการค้ามนุษย์ต่อไป