นายอนุสิษฐ คุณากร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองชาวโรฮีนจา ว่า ล่าสุดไทยได้เชิญประเทศต่างๆ และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ เพื่อร่วมกันหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่งไทยไม่ใช่ต้นทางของปัญหา แต่เป็นกลางทางก่อนที่ชาวโรฮีนจาจะไปยังประเทศที่สาม ดังนั้น เรื่องนี้องค์กรระหว่างประเทศต้องร่วมกันหาทางช่วยเหลือ ไม่ใช่เฉพาะไทยประเทศเดียวที่จะต้องรับผิดชอบ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางว่า เบื้องต้นชาวโรฮีนจาที่หลบหนีเข้ามาและถูกจับกุมต้องได้รับการดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน ส่วนเรื่องการตั้งศูนย์พักพิงให้กับชาวโรฮีนจานั้น เท่าที่ทราบยังไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องนี้ และหากจะมีการดำเนินการในลักษณะนั้น อาจจะไม่ใช่ศูนย์พักพิง แต่อาจเป็นพื้นที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการค้ามนุษย์ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องมีการพูดคุยหารือกันให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการในลักษณะใด หรือจัดตั้งขึ้นในพื้นไหน และจะมีการบริหารจัดการร่วมกันอย่างไร โดยการดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ในลักษณะนี้ ต้องมีการประเมินถึงผลกระทบที่จะตามมา ทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และอาชญากรรม ซึ่งในด้านความมั่นคง หากมีการตั้งศูนย์ถาวรที่จะดูแลชาวโรฮีนจา ก็จะเป็นปัจจัยดึงดูดให้กลุ่มคนดังกล่าวหลบหนีเข้ามาเพิ่ม รวมถึงต้องประเมินเรื่องการควบคุมดูแลที่อาจละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงปัญหาการก่ออาชญากรรมด้วย ดังนั้นเรื่องนี้ถือเป็นดาบสองคม ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศต้องเข้ามาร่วมดูแล
เลขาธิการ สมช. กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาไทยช่วยเหลือและผ่อนคลายในเรื่องเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวค่อนข้างมาก ทั้งการให้การศึกษาแก่เด็กต่างด้าวอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นแง่ดีในด้านสิทธิมนุษยชนของไทยที่ได้รับเสียงชื่นชมจากองค์กรระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางว่า เบื้องต้นชาวโรฮีนจาที่หลบหนีเข้ามาและถูกจับกุมต้องได้รับการดูแลตามหลักสิทธิมนุษยชน ส่วนเรื่องการตั้งศูนย์พักพิงให้กับชาวโรฮีนจานั้น เท่าที่ทราบยังไม่มีการพูดคุยกันในเรื่องนี้ และหากจะมีการดำเนินการในลักษณะนั้น อาจจะไม่ใช่ศูนย์พักพิง แต่อาจเป็นพื้นที่รองรับผู้ได้รับผลกระทบจากการค้ามนุษย์ ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป ต้องมีการพูดคุยหารือกันให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการในลักษณะใด หรือจัดตั้งขึ้นในพื้นไหน และจะมีการบริหารจัดการร่วมกันอย่างไร โดยการดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ในลักษณะนี้ ต้องมีการประเมินถึงผลกระทบที่จะตามมา ทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และอาชญากรรม ซึ่งในด้านความมั่นคง หากมีการตั้งศูนย์ถาวรที่จะดูแลชาวโรฮีนจา ก็จะเป็นปัจจัยดึงดูดให้กลุ่มคนดังกล่าวหลบหนีเข้ามาเพิ่ม รวมถึงต้องประเมินเรื่องการควบคุมดูแลที่อาจละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงปัญหาการก่ออาชญากรรมด้วย ดังนั้นเรื่องนี้ถือเป็นดาบสองคม ซึ่งองค์กรระหว่างประเทศต้องเข้ามาร่วมดูแล
เลขาธิการ สมช. กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาไทยช่วยเหลือและผ่อนคลายในเรื่องเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวค่อนข้างมาก ทั้งการให้การศึกษาแก่เด็กต่างด้าวอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นแง่ดีในด้านสิทธิมนุษยชนของไทยที่ได้รับเสียงชื่นชมจากองค์กรระหว่างประเทศ