ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตรวจเยี่ยมสถานีเรดาร์หนองจอกเขตหนองจอก เพื่อเตรียมความพร้อมในการแจ้งเตือนสภาพอากาศและตรวจจับกลุ่มฝนในฤดูฝนนี้ สำหรับสถานีเรดาร์หนองจอก เป็น 1 ใน 2สถานีเรดาร์ของกรุงเทพมหานครที่ติดตั้งเพิ่มเติมในปี 2558 ประกอบด้วย สถานีเรดาร์หนองจอก ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์พัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานคร เขตหนองจอก และสถานีเรดาร์หนองแขม ตั้งอยู่บริเวณใกล้ริมคลองบางไผ่ เขตหนองแขม ซึ่งทั้งสองแห่งสามารถตรวจจับกลุ่มฝนในรัศมีหวังผล มีความแม่นยำและละเอียดขึ้นถึงระยะ 240 กิโลเมตร และสามารถตรวจวัดการเคลื่อนตัวของกลุ่มฝนอ่อนและฝนหนักได้ทุกกลุ่มไม่จำกัดจำนวน รวมถึงฝนฟ้าคะนองในรัศมีระยะไกล 480 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และในหลายจังหวัด ตั้งแต่ด้านทิศเหนือบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ทิศตะวันออกบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์ ทิศใต้ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และทิศตะวันตกจังหวัดกาญจนบุรี
ทั้งนี้ การมีเรดาห์ระยะไกลจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้กรุงเทพมหานครสามารถบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้มากขึ้น โดยเมื่อรู้ทิศทางของฝนที่จะเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ จะสามารถระดมกำลังคน อุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ หน่วยปฏิบัติการ BEST ไปลงพื้นที่ได้อย่างตรงจุดในการเร่งระบายน้ำและช่วยเหลือประชาชน รวมถึงการพร่องน้ำและบริหารระดับน้ำในคูคลองให้เหมาะสมกับฝนที่จะมา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครไม่ได้นิ่งนอนใจในการพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม จึงได้นำเรดาร์ระยะไกลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น มีความทันสมัย และมีศักยภาพในการตรวจจับกลุ่มฝนได้สูงกว่าเรดาร์ตัวเดิมถึง 4 เท่า โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองการทำงานและจะส่งมอบงานเป็นทางการในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า กรุงเทพมหานครจะไม่หยุดพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม เพื่อให้กรุงเทพปลอดจากปัญหาน้ำท่วมและประชาชนมีความปลอดภัย
ทั้งนี้ การมีเรดาห์ระยะไกลจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้กรุงเทพมหานครสามารถบริหารจัดการน้ำและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้มากขึ้น โดยเมื่อรู้ทิศทางของฝนที่จะเข้าสู่พื้นที่กรุงเทพฯ จะสามารถระดมกำลังคน อุปกรณ์ เครื่องสูบน้ำ หน่วยปฏิบัติการ BEST ไปลงพื้นที่ได้อย่างตรงจุดในการเร่งระบายน้ำและช่วยเหลือประชาชน รวมถึงการพร่องน้ำและบริหารระดับน้ำในคูคลองให้เหมาะสมกับฝนที่จะมา
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานครไม่ได้นิ่งนอนใจในการพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม จึงได้นำเรดาร์ระยะไกลซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น มีความทันสมัย และมีศักยภาพในการตรวจจับกลุ่มฝนได้สูงกว่าเรดาร์ตัวเดิมถึง 4 เท่า โดยขณะนี้อยู่ระหว่างทดลองการทำงานและจะส่งมอบงานเป็นทางการในวันที่ 21 มิถุนายนนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า กรุงเทพมหานครจะไม่หยุดพัฒนาระบบป้องกันน้ำท่วม เพื่อให้กรุงเทพปลอดจากปัญหาน้ำท่วมและประชาชนมีความปลอดภัย