นายวิชา มหาคุณ โฆษกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แถลงว่า คณะอนุกรรมการไต่สวนฯ มีมติแจ้งข้อกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี รวม 34 ราย หลีกเลี่ยงละเว้นไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของประเทศจำนวน 1,921,061,629.46 บาท กรณีจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง (พ.ศ.2548-2553) โดยไม่มีอำนาจ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ และเพื่อช่วยเหลือพวกพ้องของตนเอง ซึ่ง ป.ป.ช.จะเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหามาแก้ข้อกล่าวหาต่อไป
สืบเนื่องจากกรณีกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติและจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ.2548-2553 โดยไม่มีอำนาจ และไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนพิจารณาแล้วเห็นว่าการที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 เห็นชอบให้มีการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ.2548-2553 และให้ใช้งบประมาณจากเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,000 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ.2548-2553 โดยออกหลักเกณฑ์และอัตราการเยียวยาขึ้นใหม่และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีกฎหมายใดมารองรับการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว
ซึ่งตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ พ.ศ.2502 กำหนดว่าการจ่ายเงินแผ่นดินหรือเงินงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าว จะกระทำได้แต่เฉพาะที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่ทางราชการ
การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ ครม.ร่วมกันมีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 และวันที่ 6 มีนาคม 2555 ให้จ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง และให้ใช้งบประมาณจากเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,000 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น โดยออกหลักเกณฑ์และอัตราการเยียวยาขึ้นใหม่ และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีกฎหมายใดมารองรับการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว ทั้งที่มิใช่เป็นการจ่ายเงินเกี่ยวกับปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือเป็นไปเพื่อบริการสาธารณะแห่งรัฐ หรือเป็นกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นที่หากไม่ดำเนินการจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการตาม พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ พ.ศ.2502 แต่เป็นการจ่ายในลักษณะเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะต้องมีกฎหมายมารองรับเพื่อใช้บังคับกับกรณีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งในอดีตรัฐบาลที่ผ่านมาได้เคยจ่ายเงินในลักษณะเดียวกันนี้ โดยอาศัย พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการการปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายรองรับเพื่อก่อให้เกิดสิทธิในการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กรณีจึงเป็นการจ่ายเงินแผ่นดินหรือเงินงบประมาณโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ประกอบกับกรอบอัตราการเยียวยาตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นวงเงินงบประมาณจำนวนสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเยียวยาความเสียหายต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีอื่นๆ อาทิ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความ ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น อีกทั้งมีการกำหนดการชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจเป็นจำนวน 3 ล้านบาท โดยไม่มีขั้นตอนพิสูจน์ความเสียหายหรือความสูญเสียแต่อย่างใด อันก่อให้ผลกระทบต่องบประมาณในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ เป็นการนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงวินัยทางการเงินการคลัง
การกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ ครม. ผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการหลีกเลี่ยงละเว้นไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของประเทศที่ต้องจ่ายเงินเพื่อการดำเนินการดังกล่าวเป็นจำนวน 1,921,061,629.46 บาท
คณะอนุกรรมการไต่สวนจึงมีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาได้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี รวมจำนวน 34 ราย เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อไป ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
สืบเนื่องจากกรณีกล่าวหา น.ส.ยิ่งลักษณ์ และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติและจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ.2548-2553 โดยไม่มีอำนาจ และไม่มีกฎหมายรองรับ ซึ่งคณะอนุกรรมการไต่สวนพิจารณาแล้วเห็นว่าการที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 และเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2555 เห็นชอบให้มีการเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ.2548-2553 และให้ใช้งบประมาณจากเงินงบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,000 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง พ.ศ.2548-2553 โดยออกหลักเกณฑ์และอัตราการเยียวยาขึ้นใหม่และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีกฎหมายใดมารองรับการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว
ซึ่งตามมาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ พ.ศ.2502 กำหนดว่าการจ่ายเงินแผ่นดินหรือเงินงบประมาณเพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินดังกล่าว จะกระทำได้แต่เฉพาะที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมาย ซึ่งจะต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติราชการตามหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐ เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่ทางราชการ
การที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ ครม.ร่วมกันมีมติเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2555 และวันที่ 6 มีนาคม 2555 ให้จ่ายเงินเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง และให้ใช้งบประมาณจากเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2,000 ล้านบาท มาใช้ในการดำเนินการดังกล่าวนั้น โดยออกหลักเกณฑ์และอัตราการเยียวยาขึ้นใหม่ และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ามีกฎหมายใดมารองรับการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว ทั้งที่มิใช่เป็นการจ่ายเงินเกี่ยวกับปฏิบัติราชการตามอำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดิน หรือเป็นไปเพื่อบริการสาธารณะแห่งรัฐ หรือเป็นกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นที่หากไม่ดำเนินการจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการตาม พ.ร.บ.วิธีงบประมาณ พ.ศ.2502 แต่เป็นการจ่ายในลักษณะเงินสงเคราะห์ให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ทางการเมือง ซึ่งจะต้องมีกฎหมายมารองรับเพื่อใช้บังคับกับกรณีนี้โดยเฉพาะ ซึ่งในอดีตรัฐบาลที่ผ่านมาได้เคยจ่ายเงินในลักษณะเดียวกันนี้ โดยอาศัย พ.ร.บ.สงเคราะห์ผู้ประสบภัยเนื่องจากการช่วยเหลือราชการการปฏิบัติงานของชาติ หรือการปฏิบัติตามหน้าที่มนุษยธรรม พ.ศ. 2543 เป็นกฎหมายรองรับเพื่อก่อให้เกิดสิทธิในการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง กรณีจึงเป็นการจ่ายเงินแผ่นดินหรือเงินงบประมาณโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ ประกอบกับกรอบอัตราการเยียวยาตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นวงเงินงบประมาณจำนวนสูงมากเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเยียวยาความเสียหายต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกรณีอื่นๆ อาทิ การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความ ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น อีกทั้งมีการกำหนดการชดเชยเยียวยาความสูญเสียทางด้านจิตใจเป็นจำนวน 3 ล้านบาท โดยไม่มีขั้นตอนพิสูจน์ความเสียหายหรือความสูญเสียแต่อย่างใด อันก่อให้ผลกระทบต่องบประมาณในการบริหารราชการแผ่นดินของประเทศ เป็นการนำงบประมาณแผ่นดินไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการเมือง โดยไม่คำนึงถึงวินัยทางการเงินการคลัง
การกระทำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น และ ครม. ผู้ถูกกล่าวหา จึงเป็นการหลีกเลี่ยงละเว้นไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ.2502 เป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ทำให้เกิดความเสียหายแก่การเงินการคลังของประเทศที่ต้องจ่ายเงินเพื่อการดำเนินการดังกล่าวเป็นจำนวน 1,921,061,629.46 บาท
คณะอนุกรรมการไต่สวนจึงมีมติให้แจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาได้แก่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และคณะรัฐมนตรี รวมจำนวน 34 ราย เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อไป ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542