พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และ นายสุธี มากบุญ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานการประชุมผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ เพื่อมอบนโยบายการดำเนินงานและชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนยุติธรรม ให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ คณะอนุกรรมการกองทุนยุติธรรมประจำจังหวัด ยุติธรรมจังหวัด และนายอำเภอทุกอำเภอ โดยมี นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรม และผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองกระทรวง เข้าร่วมการประชุม
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า การกระจายอำนาจกองทุนยุติธรรมในระดับจังหวัดที่ผ่านมา ไม่สามารถรองรับการดำเนินงานให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของประชาชนและเป็นการสนับสนุนความร่วมมือ (MOU) อำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมจึงมีมติอนุมัติให้มีการกระจายอำนาจการพิจารณาคำขอรับการสนับสนุนกองทุนยุติธรรมครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด โดยมีกลไกลสำคัญคือ 1.ยุติธรรมจังหวัด 2.คณะอนุกรรมการกองทุนยุติธรรมประจำจังหวัด โดยทั้งสองกลไกจะให้อำนาจการอนุมัติไม่เกิน 5 แสนบาทต่อรายในทุกกรณี และเป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ประกาศที่คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมกำหนด นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในอีกหลายๆ เรื่องที่ทั้ง 2 หน่วยงาน จะต้องร่วมกันส่งเสริมสนับสนุน และประสานความร่วมมือกันในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างสังคมแห่งความปลอดภัย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และการพัฒนากฎหมายของประเทศ
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวอีกว่า การกระจายอำนาจกองทุนยุติธรรมในระดับจังหวัดที่ผ่านมา ไม่สามารถรองรับการดำเนินงานให้กับประชาชนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึงได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของประชาชนและเป็นการสนับสนุนความร่วมมือ (MOU) อำนวยความยุติธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมจึงมีมติอนุมัติให้มีการกระจายอำนาจการพิจารณาคำขอรับการสนับสนุนกองทุนยุติธรรมครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด โดยมีกลไกลสำคัญคือ 1.ยุติธรรมจังหวัด 2.คณะอนุกรรมการกองทุนยุติธรรมประจำจังหวัด โดยทั้งสองกลไกจะให้อำนาจการอนุมัติไม่เกิน 5 แสนบาทต่อรายในทุกกรณี และเป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ประกาศที่คณะกรรมการบริหารกองทุนยุติธรรมกำหนด นอกจากนี้ ยังมีภารกิจในอีกหลายๆ เรื่องที่ทั้ง 2 หน่วยงาน จะต้องร่วมกันส่งเสริมสนับสนุน และประสานความร่วมมือกันในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม การสร้างสังคมแห่งความปลอดภัย การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ และการพัฒนากฎหมายของประเทศ