ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดการซื้อขายวันที่ 5 พ.ค. ในแดนลบ โดยดัชนีดาวโจนส์ลดลง 142.2 จุด หรือ 0.79% ปิดที่ 17,928.20 จุด ส่วนดัชนีเอสแอนด์พี 500 ลดลง 25.03 จุด หรือ 1.18% ปิดที่ 2,089.46 จุด ขณะที่ดัชนีแนสแด็กลดลง 77.6 จุด หรือ 1.55% ปิดที่ 4,939.33 จุด
นักวิเคราะห์อ้างว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ปัจจุบันเกินกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลแล้ว เป็นตัวฉุดดัชนีหุ้นสหรัฐฯ เพราะราคาน้ำมันที่เพิ้มขึ้นส่งผลให้ราคาแก๊สโซลีนในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นถึง 10% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ปัจจัยที่ด้านลบอื่นๆ ยังรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐฯในเดือน มี.ค. และรอยร้าวที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ยุโรป ในเรื่องเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือ
น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือ ไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 1.47 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์ ปิดที่ 67.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นักวิเคราะห์อ้างว่าปัจจัยที่สนับสนุนราคาน้ำมันวานนี้(5พ.ค.) เนื่องจากมีเหตุกลุ่มผู้ประท้วงได้ก่อเหตุปิดท่อน้ำมันที่ลำเลียงไปยังท่าเรือซูเอตินา ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า การปิดท่อส่งน้ำมันดังกล่าวอาจจะทำให้ผลผลิตน้ำมันของลิเบียลดลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้แล้วยังมีความกังวลต่อเสถียรภาพในตะวันออกกลางท่ามกลางเหตสู้รบกันในเยเมน และข่าวกองทัพเรือสหรัฐฯเริ่มกำลังการคุ้มกันเหล่าเรือของอเมริกาในช่องแคบฮอร์มุซ ตามหลังกรณีอิหร่านเข้ายึดเรือสินค้าลำหนึ่ง
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อันเป็นผลมาจากยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมี.ค.
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 6.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,193.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลในตะกร้าเงินนั้น ปรับตัวลง 0.4% แตะที่ 95.06 ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
ทั้งนี้ สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐในเดือนมี.ค.พุ่งขึ้นแตะ 5.14 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับ 3.59 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ. โดยตัวเลขขาดดุลการค้าในเดือนมี.ค.นับว่ามากที่สุดสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 และสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 4.20 หมื่นล้านดอลลาร์
นักวิเคราะห์อ้างว่า การเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน ที่ปัจจุบันเกินกว่า 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลแล้ว เป็นตัวฉุดดัชนีหุ้นสหรัฐฯ เพราะราคาน้ำมันที่เพิ้มขึ้นส่งผลให้ราคาแก๊สโซลีนในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นถึง 10% ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ปัจจัยที่ด้านลบอื่นๆ ยังรวมไปถึงการเพิ่มขึ้นของตัวเลขขาดดุลการค้าสหรัฐฯในเดือน มี.ค. และรอยร้าวที่ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆระหว่างกรีซและเจ้าหนี้ยุโรป ในเรื่องเงื่อนไขการขอรับเงินช่วยเหลือ
น้ำมันดิบเวสต์เทกซัสอินเตอร์มีเดียต หรือ ไลต์สวีตครูด งวดส่งมอบเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้น 1.47 ดอลลาร์ ปิดที่ 60.40 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
ส่วนเบรนต์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนเดียวกัน เพิ่มขึ้น 1.07 ดอลลาร์ ปิดที่ 67.52 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
นักวิเคราะห์อ้างว่าปัจจัยที่สนับสนุนราคาน้ำมันวานนี้(5พ.ค.) เนื่องจากมีเหตุกลุ่มผู้ประท้วงได้ก่อเหตุปิดท่อน้ำมันที่ลำเลียงไปยังท่าเรือซูเอตินา ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่า การปิดท่อส่งน้ำมันดังกล่าวอาจจะทำให้ผลผลิตน้ำมันของลิเบียลดลงสู่ระดับต่ำสุดที่ 400,000 บาร์เรลต่อวัน
นอกจากนี้แล้วยังมีความกังวลต่อเสถียรภาพในตะวันออกกลางท่ามกลางเหตสู้รบกันในเยเมน และข่าวกองทัพเรือสหรัฐฯเริ่มกำลังการคุ้มกันเหล่าเรือของอเมริกาในช่องแคบฮอร์มุซ ตามหลังกรณีอิหร่านเข้ายึดเรือสินค้าลำหนึ่ง
สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดบวกเมื่อคืนนี้ (5 พ.ค.) เพราะได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ อันเป็นผลมาจากยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนมี.ค.
สัญญาทองคำตลาดโคเม็กซ์ เพิ่มขึ้น 6.40 ดอลลาร์ ปิดที่ 1,193.20 ดอลลาร์ต่อออนซ์
สัญญาทองคำได้รับแรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินดอลลาร์ โดยดัชนีดอลลาร์ซึ่งเป็นดัชนีวัดความเคลื่อนไหวของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆ 6 สกุลในตะกร้าเงินนั้น ปรับตัวลง 0.4% แตะที่ 95.06 ซึ่งการอ่อนค่าของดอลลาร์จะทำให้สัญญาทองคำซึ่งซื้อขายในรูปสกุลเงินดอลลาร์นั้น มีราคาถูกลงและน่าดึงดูดใจสำหรับนักลงทุนที่ถือครองสกุลเงินอื่นๆ
ทั้งนี้ สกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงหลังจากกระทรวงพาณิชย์สหรัฐรายงานว่า ยอดขาดดุลการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐในเดือนมี.ค.พุ่งขึ้นแตะ 5.14 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับ 3.59 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.พ. โดยตัวเลขขาดดุลการค้าในเดือนมี.ค.นับว่ามากที่สุดสุดนับตั้งแต่เดือนต.ค.2551 และสูงกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ที่ 4.20 หมื่นล้านดอลลาร์