นางดวงกมล เจียมบุตร โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงสถานการณ์กุ้งไทย ว่า ขณะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะการเกิดโรคระบาดกุ้งตายด่วนหรือโรค EMS ตั้งแต่ปลายปี 2554 ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาถึงปี 2557 ที่ผลิตได้เพียง 250,000 ตัน จากที่เคยผลิตได้ถึง 600,000 ตัน เมื่อปี 2554 แต่การแก้ไขปัญหายังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน จนส่งผลให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นทำให้ราคาตกต่ำลง โดยในปี 2558 กรมประมงคาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 300,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 จำนวน 50,000 ตัน เพราะปัญหาโรค EMS เริ่มคลี่คลาย
สำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตทั้งหมด ค่อนข้างชะลอตัว ทำให้ราคากุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ตลาดทะเลไทย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 36
ส่วนสถานการณ์ด้านตลาดต่างประเทศ จากปัญหาโรค EMS ของไทย ทำให้ผู้นำเข้าจากต่างประเทศไม่สั่งซื้อ เพราะขาดความมั่นใจว่ากลัวจะไม่ได้ของ ประกอบกับประเทศคู่แข่งอย่าง อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ประเทศในอเมริกาใต้ ผลิตกุ้งได้มากและไม่มีปัญหา EMS และยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าด้วย จึงลดราคากุ้งลง จนกระทบต่อราคากุ้งไทยที่ปกติขนาด 100 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ราคา 150-180 บาท ขณะนี้เหลือเพียง 90-100 บาท ส่งผลให้ประเทศผู้บริโภคไปสั่งซื้อจากประเทศดังกล่าว ทั้งที่ผ่านมากุ้งไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัยมาก จนมีส่วนแบ่งตลาดเป็นที่ 1 ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ในปี 2556 จำนวน 2,097 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2557 จำนวน 1,885 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสแรกปี 2558 (ม.ค-มีค.) จำนวน 326 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน และกรมประมง ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ร่วมกันประชุมหารือเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องให้ครบวงจร พร้อมที่จะสนับสนุนความช่วยเหลือแก่ทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้ประกอบการส่งออกกุ้ง รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออกตลาดใหม่ การประสานการเจรจารักษาตลาดเก่า และยังได้ร่วมกับกรมประมงในการทำโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม ปี 2558 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) พิจารณาต่อไป
สำหรับความต้องการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งมีประมาณร้อยละ 10 ของผลผลิตทั้งหมด ค่อนข้างชะลอตัว ทำให้ราคากุ้งขาวแวนนาไม ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม ณ ตลาดทะเลไทย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2557 ร้อยละ 36
ส่วนสถานการณ์ด้านตลาดต่างประเทศ จากปัญหาโรค EMS ของไทย ทำให้ผู้นำเข้าจากต่างประเทศไม่สั่งซื้อ เพราะขาดความมั่นใจว่ากลัวจะไม่ได้ของ ประกอบกับประเทศคู่แข่งอย่าง อินเดีย อินโดนีเซีย เวียดนาม พม่า ประเทศในอเมริกาใต้ ผลิตกุ้งได้มากและไม่มีปัญหา EMS และยังมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าด้วย จึงลดราคากุ้งลง จนกระทบต่อราคากุ้งไทยที่ปกติขนาด 100 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ราคา 150-180 บาท ขณะนี้เหลือเพียง 90-100 บาท ส่งผลให้ประเทศผู้บริโภคไปสั่งซื้อจากประเทศดังกล่าว ทั้งที่ผ่านมากุ้งไทยได้รับการยอมรับในเรื่องคุณภาพ ความปลอดภัยมาก จนมีส่วนแบ่งตลาดเป็นที่ 1 ในหลายประเทศ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น โดยมูลค่าการส่งออกกุ้งสดแช่แข็งและกุ้งแปรรูป ในปี 2556 จำนวน 2,097 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2557 จำนวน 1,885 ล้านเหรียญสหรัฐ ไตรมาสแรกปี 2558 (ม.ค-มีค.) จำนวน 326 ล้านเหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน และกรมประมง ไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ร่วมกันประชุมหารือเพื่อหาทางแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องให้ครบวงจร พร้อมที่จะสนับสนุนความช่วยเหลือแก่ทั้งเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งและผู้ประกอบการส่งออกกุ้ง รวมทั้งการส่งเสริมการส่งออกตลาดใหม่ การประสานการเจรจารักษาตลาดเก่า และยังได้ร่วมกับกรมประมงในการทำโครงการรักษาเสถียรภาพราคากุ้งขาวแวนนาไม ปี 2558 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายและช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) พิจารณาต่อไป