นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า แนวทางแก้ไขปัญหาของประชาชนผู้ได้รับความเดือนร้อนจากการสั่งซื้อสินค้า รวมทั้งการกระทำความผิดอาญาอื่นทางอินเทอร์เน็ต ประกอบกับนโยบายในการสร้างความเข้มแข็งของระบบการติดตามเฝ้าระวังและการบังคับใช้กฎหมายภายหลังผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ดังนั้นเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารโฆษณาเกินจริงในเว็บไซต์ 2 เว็บไซต์ ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2558 อย. จับมือ บก.ปคบ. เข้าตรวจสอบแหล่งขายสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ ตามที่ตำรวจ บก.ปคบ. ได้สืบสวนทราบข้อมูลที่อยู่ของชื่อบุคคลที่ปรากฏในเว็บไซต์ดังนี้
กรณีเว็บไซต์ (www.multilifeshop.com) ตรวจสอบพบโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง(Royal Jelly) Multi Life อวดสรรพคุณรักษาโรคไมเกรน ภูมิแพ้ สรรพคุณมากมาย แค่กระปุกเดียวเริ่มเห็นผลพบว่ามีหัวข้อการสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า และช่องทางการชำระเงิน ระบุชื่อบัญชี นายพีรพงษ์ อริยกวี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครนายก เลขที่บัญชี 659-2-18767-3 ธนาคารกรุงเทพ สาขานครนายก เลขที่บัญชี 305-0-68208-1 จากการขยายผลพบชื่อบุคคลดังกล่าว อยู่ที่จังหวัดนครนายก ดังนั้น จึงเข้าตรวจสอบสถานที่บ้านเลขที่80 หมู่ 6 ตำบลศรีนาวา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ผลการตรวจสอบพบการแบ่งบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารผิดกฎหมาย คือ ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal Jelly) ยี่ห้อ Multi Life แสดงฉลากไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ไม่แสดงเลขสารบบอาหาร และจำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีการโฆษณาสรรพคุณอาหารโดยไม่ขออนุญาตต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1. จำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
2. โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นการโฆษณาสรรพคุณอาหารโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีเว็บไซต์ (www.marmui.com) ตรวจสอบพบโฆษณาผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium ใช้ข้อความว่า“ทำให้สมรรถภาพดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ได้เป็น 10 เท่า ยืดระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ ชะลอการหลั่งเร็ว เพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศ ช่วยในรายที่มีบุตรยาก ใช้รักษาโรคพาร์กินสันด้วย” พบวิธีการสั่งสินค้าผ่านอีเมล pennapa.rabbit@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ 0890662649 (คุณต่าย) จากการขยายผลพบชื่อบุคคลดังกล่าว อยู่ที่บ้านเลขที่ 19/10 หมู่บ้านเดอะแพลนด์ แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว ผลการตรวจพบการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ กาแฟเม็ดหมามุ่ยสำเร็จรูปชนิดผง Premium Coffee แสดงเลขสารบบอาหารปลอม (อย.10-2-16154-0052) และพบยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา 2 รายการ คือ แคปซูลเม็ดหมามุ่ย Premium และแคปซูลถังเช่าแห่งหิมาลัย100% Asia Herb ซึ่งเจ้าของผลิตภัณฑ์รับว่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ลูกค้าทั่วไปทางเว็บไซต์ และเป็นผู้โฆษณาโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium อวดสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศดังกล่าวจริง
เบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1. จำหน่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 100,000บาท
2. ผลิตและขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาทเจ้าหน้าที่จึงยึดของกลางทั้ง 2 แห่ง มูลค่ากว่า 200,000 บาท และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่งตรวจหาสารอันตรายที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อไป
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดจะไม่สามารถกล่าวอ้างรักษาโรคหรืออ้างว่ามีสรรพคุณทางยาได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์อาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค เนื่องจากข้อความโฆษณาที่มีการอวดสรรพคุณในทางยาหรืออวดสรรพคุณรักษาโรค อย. จะไม่อนุญาตให้โฆษณาแต่อย่างใด และจะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย สำหรับผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ขอให้สังเกตฉลากของผลิตภัณฑ์ว่า มีการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหรือผลิตภัณฑ์ยา หากเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร จะแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลากพร้อมด้วยเลขสารบบอาหาร ตัวอย่างเช่น
นอกจากนี้ ขอให้ผู้บริโภคอ่านและศึกษารายละเอียดที่ปรากฏบนฉลาก ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทุกครั้ง อีกทั้งหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายหรือมีการแสดงสรรพคุณที่โอ้อวดเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน บก.ปคบ 1135 หรือสายด่วนกระทรวงไอซีที 1212 เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด
กรณีเว็บไซต์ (www.multilifeshop.com) ตรวจสอบพบโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง(Royal Jelly) Multi Life อวดสรรพคุณรักษาโรคไมเกรน ภูมิแพ้ สรรพคุณมากมาย แค่กระปุกเดียวเริ่มเห็นผลพบว่ามีหัวข้อการสั่งซื้อ การจัดส่งสินค้า และช่องทางการชำระเงิน ระบุชื่อบัญชี นายพีรพงษ์ อริยกวี ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขานครนายก เลขที่บัญชี 659-2-18767-3 ธนาคารกรุงเทพ สาขานครนายก เลขที่บัญชี 305-0-68208-1 จากการขยายผลพบชื่อบุคคลดังกล่าว อยู่ที่จังหวัดนครนายก ดังนั้น จึงเข้าตรวจสอบสถานที่บ้านเลขที่80 หมู่ 6 ตำบลศรีนาวา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ผลการตรวจสอบพบการแบ่งบรรจุผลิตภัณฑ์อาหารผิดกฎหมาย คือ ผลิตภัณฑ์นมผึ้ง (Royal Jelly) ยี่ห้อ Multi Life แสดงฉลากไม่ถูกต้อง กล่าวคือ ไม่แสดงเลขสารบบอาหาร และจำหน่ายผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีการโฆษณาสรรพคุณอาหารโดยไม่ขออนุญาตต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาเบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1. จำหน่ายอาหารที่มีการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท
2. โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต จะมีโทษปรับไม่เกิน 5,000บาท หรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าเป็นการโฆษณาสรรพคุณอาหารโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง หรือหลอกลวงให้เกิดความหลงเชื่อโดยไม่สมควร จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
กรณีเว็บไซต์ (www.marmui.com) ตรวจสอบพบโฆษณาผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium ใช้ข้อความว่า“ทำให้สมรรถภาพดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ได้เป็น 10 เท่า ยืดระยะเวลาการมีเพศสัมพันธ์ ชะลอการหลั่งเร็ว เพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศ ช่วยในรายที่มีบุตรยาก ใช้รักษาโรคพาร์กินสันด้วย” พบวิธีการสั่งสินค้าผ่านอีเมล pennapa.rabbit@gmail.com เบอร์โทรศัพท์ 0890662649 (คุณต่าย) จากการขยายผลพบชื่อบุคคลดังกล่าว อยู่ที่บ้านเลขที่ 19/10 หมู่บ้านเดอะแพลนด์ แขวงออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงเข้าตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว ผลการตรวจพบการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารได้แก่ กาแฟเม็ดหมามุ่ยสำเร็จรูปชนิดผง Premium Coffee แสดงเลขสารบบอาหารปลอม (อย.10-2-16154-0052) และพบยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา 2 รายการ คือ แคปซูลเม็ดหมามุ่ย Premium และแคปซูลถังเช่าแห่งหิมาลัย100% Asia Herb ซึ่งเจ้าของผลิตภัณฑ์รับว่าเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวให้ลูกค้าทั่วไปทางเว็บไซต์ และเป็นผู้โฆษณาโฆษณาขายผลิตภัณฑ์ยี่ห้อ Premium อวดสรรพคุณเพิ่มสมรรถภาพทางเพศดังกล่าวจริง
เบื้องต้นได้แจ้งข้อหา ดังนี้
1. จำหน่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 ถึง 100,000บาท
2. ผลิตและขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มีโทษจำคุกไม่เกิน 3ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3. โฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาทเจ้าหน้าที่จึงยึดของกลางทั้ง 2 แห่ง มูลค่ากว่า 200,000 บาท และเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ส่งตรวจหาสารอันตรายที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ต่อไป
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิดจะไม่สามารถกล่าวอ้างรักษาโรคหรืออ้างว่ามีสรรพคุณทางยาได้ จึงขอเตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อผลิตภัณฑ์อาหารที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริง อ้างรักษาได้สารพัดโรค เนื่องจากข้อความโฆษณาที่มีการอวดสรรพคุณในทางยาหรืออวดสรรพคุณรักษาโรค อย. จะไม่อนุญาตให้โฆษณาแต่อย่างใด และจะมีความผิดตามกฎหมายอีกด้วย สำหรับผู้บริโภคก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร ขอให้สังเกตฉลากของผลิตภัณฑ์ว่า มีการขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหรือผลิตภัณฑ์ยา หากเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร จะแสดงเครื่องหมาย อย. บนฉลากพร้อมด้วยเลขสารบบอาหาร ตัวอย่างเช่น
นอกจากนี้ ขอให้ผู้บริโภคอ่านและศึกษารายละเอียดที่ปรากฏบนฉลาก ก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารทุกครั้ง อีกทั้งหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายหรือมีการแสดงสรรพคุณที่โอ้อวดเกินจริง สามารถร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.1556 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วน บก.ปคบ 1135 หรือสายด่วนกระทรวงไอซีที 1212 เพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดอย่างเข้มงวด